การอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมไม่จำเป็นต้องหยุดอยู่แค่การชื่นชมและศึกษาเท่านั้น แต่สามารถนำมาต่อยอดและปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัยได้อย่างสร้างสรรค์ นี่คือแนวคิดของ สุวรรณ เส็นขาว นิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ที่นำจิตรกรรมฝาผนัง "ฮูปแต้ม" ธูปแต้มของชาวนาดูน มาถ่ายทอดผ่านผ้าพิมพ์ลายอัตลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และล่าสุดผลงาน "ฮัก-แต้ม" ของเขาสามารถคว้า เหรียญเงิน จากเวที Thailand New Gen Inventors Award 2025 ได้สำเร็จ สาร MSU ONLINE จะพาทุกท่านมาพูดคุยกับเขาถึงแรงบันดาลใจ แนวคิด และอนาคตของนวัตกรรมนี้ มาติดตามกันได้จาก บทสัมภาษณ์นี้ค่ะ



แรงบันดาลใจในการจัดทำผลงาน "ฮัก-แต้ม"
การแก้ปัญหา Overtourism หรือการท่องเที่ยวล้นเมือง ได้กลายเป็นวิกฤตสำคัญที่ส่งผลกระทบ ต่อหลายพื้นที่ในประเทศไทย แม้ว่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจะถูกมองว่าเป็นทางออกในการกระจาย รายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น แต่ในความเป็นจริง การท่องเที่ยวประเภทนี้กลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ครับ



ผลงานนี้มีแนวคิดหลักคืออะไร?
การนำจิตรกรรมฝาผนัง "ฮูปแต้ม" ซึ่งเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมของชุมชนนาดูน มาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์ลายอัตลักษณ์สมัยใหม่ โดยไม่เพียงนำเสนอ ความงดงามของลวดลาย แต่ยังสอดแทรกเรื่องราวทางวัฒนธรรมผ่านการออกแบบที่ทันสมัย ผลงานนี้ไม่เพียงตอบโจทย์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการ สร้าง Soft Power ผ่านการนำเสนอคุณค่าทางวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการอนุรักษ์มรดก ท้องถิ่น โดยมุ่งหวังให้ผู้คนได้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมอีสาน และสร้างแรงบันดาลใจในการเดินทางเพื่อสัมผัสประสบการณ์จริงในชุมชนนาดูน ยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคามครับ



ทำไมถึงเลือกใช้ลวดลายจากจิตรกรรมฝาผนังธูปแต้มมาออกแบบผ้าพิมพ์ลาย?
วัดป่าเลไลย์ ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นสถานที่ที่มีมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า โดยภายในสิม (โบสถ์) อายุเก่าแก่กว่า 100 ปี ปรากฏจิตรกรรมฝาผนังที่เรียกว่า "ฮูปแต้ม" ซึ่งเป็นภาพวาดที่เล่าเรื่องราววิถีชีวิต สถาปัตยกรรม ประเพณี และวัฒนธรรมของชาวอีสานในอดีต อย่างไรก็ดี แม้ว่าสถานที่แห่งนี้จะเปิดให้เยี่ยมชมได้ แต่กลับ ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวน้อยมาก สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการขาดการส่งเสริมและอนุรักษ์มรดกทาง วัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การรักษาไว้ครับ


ตอนทำผลงานนี้ มีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรบ้าง? 
เนื่องจากผมยังเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 จึงยังมีหลายสิ่งที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ โชคดีที่ได้รับคำแนะนำและความอนุเคราะห์จาก อาจารย์เจนจิรา ตราชู (ที่ปรึกษาโครงการ) และ ผศ.ดร.ชัยนันท์ พรหมเพ็ญ (อาจารย์ที่ปรึกษา) ซึ่งให้คำแนะนำและถ่ายทอดความรู้ตลอดกระบวนการ ทำให้สามารถพัฒนาผลงานจนสำเร็จครับ



ความรู้สึกที่ได้รับ เหรียญเงิน ในการแข่งขัน I-New Gen Award 2025?
ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ผลงานได้รับการคัดเลือกให้ผ่านเข้าสู่รอบตัดสิน และมีโอกาสจัดแสดงที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ ความรู้สึกตื่นเต้นและดีใจท่วมท้นเมื่อทราบว่าผลงานได้รับรางวัล ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการประกวดระดับอุดมศึกษา และเป็นประสบการณ์อันล้ำค่าที่ช่วยเปิดโลกทัศน์ ให้ได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองในเส้นทางของการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่อไป



การแข่งขันครั้งนี้ให้อะไรกับเราบ้าง?
การพัฒนาตนเองให้ปรับตัวเท่าทันยุคสมัย ออกไปมองเห็นมุมมองกว้างในการประกวด ให้ประสบการณ์ที่ดีในการนำมาพัฒนางานวิจัยของเรา



ในอนาคตยากต่อยอดผลงานนี้ไปในทางไหน?
ผมอยากพัฒนาสู่แบรนด์ “ฮัก-แต้ม” ซึ่งเป็นแบรนด์ที่คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นการผสมผสานระหว่างความเป็นอัตลักษณ์อีสานกับยุคสมัยใหม่ ครับ

ข้อคิดดีๆในการดำเนินชีวิต
“เหนื่อยหน่อย แต่อย่าเพิ่งเหนื่อยหน่าย พอถึงเป้าหมายจะหายเหนื่อยเอง”



มีอะไรอยากฝากถึงเพื่อน ๆ หรือน้อง ๆ ที่อยากทำผลงานนวัตกรรมแบบนี้บ้าง?
ขอเชิญชวน เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ คิดค้นนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ เข้าร่วมประกวด อาจจะมีอุปสรรคในการจัดทำ เราสามารถปรึกษาท่านอาจารย์ได้อย่างเต็มที่ มาร่วมเป็นหนึ่งในการพัฒนางานวิจัย และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยมหาสารคามกันนะครํบ


Author

ผู้เรียบเรียง : จุฑามาศ ภิญโญศรี
Email : [email protected]
หมายเลขติดต่อภายใน : 0942915414

ภาพประกอบบทความ

  :   ถ่ายภาพ MSU TV /จุฑามาศ ภิญโญศรี : กราฟิก : ปิยะฉัตร ธนภัทรธุวานันท์

Related Posts