ในปัจจุบัน การเกษตรอินทรีย์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่มองหาผลผลิตที่ปลอดภัยและไม่มีสารเคมีตกค้าง การปลูกสมุนไพรอินทรีย์เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ได้รับความสนใจอย่างมากในตลาด เนื่องจากสมุนไพรมีคุณค่าทางเศรษฐกิจและการแพทย์ที่สูง อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำสำหรับการเกษตรอินทรีย์ยังคงเป็นความท้าทายสำคัญ เนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ก็ได้กลายเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการนำเซ็นเซอร์และอุปกรณ์ต่างๆ มาติดตั้งในแปลงเกษตรสามารถช่วยในการตรวจสอบสภาพแวดล้อม เช่น ความชื้นในดิน อุณหภูมิ และการใช้น้ำได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ลดการสูญเสียน้ำและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

และการวิจัยเรื่อง "การถ่ายทอดเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำสำหรับแปลงสมุนไพรอินทรีย์ด้วยระบบไอโอที (IoT)" มีเป้าหมายเพื่อสำรวจและพัฒนาแนวทางการใช้เทคโนโลยี IoT ในการปรับปรุงการจัดการน้ำในแปลงสมุนไพรอินทรีย์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และสนับสนุนเกษตรกรให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิผลสูงสุด ภายใต้การดูแลของอาจารย์เกียรติสิน กาญจนวนิชกุล และทีมวิจัยที่มีประการณ์ จากสาขาวิศวกรรมเทคาทอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ชื่อโครงการ /ชื่อ-สกุล ผู้รับผิดชอบ
ชื่อโครงการ: การถ่ายทอดเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำสำหรับแปลงสมุนไพรอินทรีย์ด้วยระบบไอโอที (IoT)
ผู้รับผิดชอบ
1. นายเกียรติสิน กาญจนวนิชกุล หัวหน้าโครงการ
2. นายศิวณัทร ศรีโลห้อ ผู้ร่วมโครงการ
กล่าวถึงที่มาของงานวิจัย
วิสาหกิจชุมชน มีบุญ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธิ์ มีการปลูกพืชผสมผสานทั้งไม้ยืนต้น ไม้ผล นาข้าว และ สมุนไพร โดยมีแบ่งพื้นที่ 2 ไร่ ทำแปลงปลูกสมุนไพร คือ มะระขี้นก เน้นการทำเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ แหล่งน้ำที่ใช้ได้จากน้ำบาดาลและใช้เครื่องสูบน้ำโซล่าเซลล์ เพื่อสูบน้ำบาดาลมากักเก็บในถังเก็บน้ำ ในการใช้งาน สมาชิกต้องเปิดปิดวาล์วน้ำที่ไหลไปยังแปลงสมุนไพรด้วยตนเอง โดยต้องมีการตกลงร่วมกันในการจัดสรรเวลาใช้น้ำ ปัญหาที่พบ ประกอบด้วย
(1) สมาชิกต้องเดินทางจากที่พักไปยังพื้นที่เพาะปลูกซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 5 กิโลเมตร เพื่อเปิดปิดวาล์วน้ำด้วยตนเองทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็น และต้องมีการตกลงร่วมกันในการจัดสรรน้ำให้กับแต่ละแปลงไม่ให้เกิดการเหลื่อมล้ำกัน ทำให้สมาชิก ไม่สามารถจัดสรรเวลาไปทำอย่างอื่นได้
(2) สมุนไพรบางชนิด ไม่ต้องการสภาพอากาศที่ร้อนเกินไป เนื่องจากทำให้การเจริญเติบโตไม่ดี
จากปัญหาดังกล่างข้างต้น คณะผู้เชี่ยวชาญจึงได้นำเสนอโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำสำหรับแปลงสมุนไพรอินทรีย์ด้วยระบบไอโอที (IoT) โดยมุ่งเน้นแก้ปัญหา ระบบการให้น้ำกับแปลงสมุนไพร การถ่ายทอดเทคโนโลยี จะมี 2 ส่วน คือ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าในการจัดการน้ำ และ การใช้ระบบไอโอที (IoT) เพื่อช่วยในการบริหารจัดการน้ำ
อยากให้พูดถึงความโดดเด่นของการถ่ายทอดเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำสำหรับแปลงสมุนไพรอินทรีย์ด้วยระบบไอโอที
(1) สมาชิกสามารถจัดสรรน้ำตามตารางเวลาไปยังแต่ละแปลงได้ โดยกำหนดให้ เวลาให้น้ำแต่ละแปลงไม่ทับซ้อนกัน และ กำหนดระยะการให้น้ำได้ พืชบางชนิด ต้องการน้ำมาก บางชนิดต้องการน้ำน้อย
(2) สมาชิกไม่จำเป็นต้องเดินทางมาเปิดปิดน้ำเอง บางครั้ง อาจจะลืมเปิดน้ำ หรือลืมปิดน้ำ ทำให้พืชได้น้ำน้อยหรือมากเกินไป และ ในกรณีที่สมาชิกติดภารกิจ หรือไม่ได้อยู่ในพื้นที่ ระบบก็สามารถจัดสรรน้ำได้เองอัตโนมัติ
(3) สมาชิกสามารถปรับเปลี่ยนเวลาได้จากโทรศัพท์มือถือ หรือ สั่งงานเปิดปิดโดยตรงก็ได้
(4) มีการบันทึกค่าอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ทำให้สมาชิกทราบค่าสภาพแวดล้อม และสามารถดูค่าย้อนหลังได้ พร้อมทั้งสามารถตั้งอุณหภูมิในการแจ้งเตือน และสั่งงานระบบพ่นน้ำ เพื่อลดอุณหภูมิให้กับสมุนไพรได้
(5) สามารถนำไปใช้งานร่วมกับระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว
ความพิเศษของเทคโนโลยีการบริหารการจัดการน้ำฯ เป็นอย่างไร
ช่วยให้สมาชิกวางแผน จัดการการให้น้ำไปยังแต่ละแปลงได้เป็นระบบ ลดเวลาในการดูแลบริหารจัดการ ทุกอย่างเป็นระบบอัตโนมัติ สมาชิกมีเวลาเพิ่มเติมในการพัฒนาการปลูกพืช
ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี IoT ในการบริหารจัดการน้ำมากน้อยเพียงใด
- ชุมชนได้ทราบถึงประโยชน์ของเทคโนโลยี IoT และแนวทางในการนำไปใช้
- ส่วนประกอบของระบบ IoT ถ้าหากต้องการนำไปใช้ขยายเพิ่มเติม
- การใช้งานระบบโซล่าเซลล์ เพื่อเป็รแหล่งจ่ายไฟ
การใช้ IoT ในการบริหารจัดการน้ำส่งผลอย่างไรต่อประสิทธิภาพการเพาะปลูกสมุนไพรอย่างไร
- สามารถกำหนดเวลาในการเปิดปิดน้ำได้ ซึ่งเวลาที่ตั้ง มีผลต่อปริมาณน้ำที่ให้กับสมุนไพร ซึ่งจะทำให้สมุนไพรได้รับปริมาณน้ำที่เหมาะสม และสามารถ กำหนดช่วงเวลา/วัน ในการให้น้ำได้
- สามารถปรับเปลี่ยนเวลาหรือปริมาณน้ำ ได้ตลอดเวลา เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุของสมุนไพร
- สามารถตั้งอุณหภูมิ เพื่อสั่งงงานให้ระบบพ่นน้ำทำงาน เนื่องจากสมุนไพรบางชนิด ต้องการสภาพอากาศ ที่มีอุณหภูมิไม่สูงเกินไป
เทคโนโลยีนี้ช่วยสร้างความยั่งยืนในระบบการปลูกสมุนไพรและวิถีชีวิตในชุมชนอย่างไร?
- ถ้าหากสมุนไพร ได้รับการดูแลที่ดี จะให้ผลผลิตที่ดี ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อรายได้ของสมาชิกที่จะเพิ่มขึ้น
- ลดภาระทั้งเวเลา และแรงงานในการดูแลสมุนไพร สมาชิกมีเวลาเพิ่มมากขึ้น และจำทำให้คนวัยหนุ่มสาว มีความสนใจในการปลูกสมุนไพรเป็นอาชีพเสริมเพิ่มขึ้น
ปัจจุบันมีการนำงานวิจัยไปทดลองใช้แล้วหรือไม่ และมีเสียงตอบรับเป็นอย่างไร
- ขณะนี้ กำลังเริ่มปลูกมะระขี้นก โดยมีการตั้งเวลาในการให้น้ำแบบหยด ซึ่งช่วยลดภาระในการดูแลให้กับสมาชิกได้เป็นอย่างดี
ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานเป็นอย่างไรบ้าง
- เนื่องจากทั้งระบบต้องใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ถ้ามีปริมาณแสงแดดน้อย อาจจะก่อให้ปัญหาในการทำงานได้ แต่ระบบที่นำไปติดตั้ง สามารถควบคุมโดยตรงแบบ manual ได้ และมีการแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์ตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้สมาชิกได้ทราบว่า ระบบยังทำงานได้ถูกต้องหรือไม่
การถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้สามารถเป็นต้นแบบสำหรับชุมชนอื่น ๆ ในการบริหารจัดการน้ำได้อย่างไร?
จากแปลงปลูกของวิสาหกิจชุมชนมีบุญ กล่าวได้ว่า ขณะนี้ มีการบริหารจัดการน้ำได้ครบถ้วน ตั้งแต่การสูบน้ำบาดาลด้วยโซล่าเซลล์ การกักเก็บน้ำในหอสูง การแจกจ่ายน้ำไปยังแปลงปลูกแต่ละแปลงได้อย่างอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี IoT การตรวจสอบสถานะการทำงาน การใช้โซล่าเซลล์ เพื่อเป็นแหล่งจ่ายพลังงานให้กับระบบ ซึ่งทั้งหมดนี้ สามารถเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆ ที่สนใจได้ทันที
ฝากอะไรถึงนักวิจัยรุ่นใหม่อย่างไรบ้าง
การนำระบบที่เราสร้างขึ้นมมา ไปใช้งานจริง ไปใช้ในการแก้ปัญหาให้กับชุมชน เราจะเจอปัญหาที่ท้าทายหลายด้าน ซึ่งเราจะไม่เจอในการทำในห้องปฏิบัติการ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย และ เป็นการนำสิ่งที่สร้างไปช่วยแก้ปัญหาให้กับชุมชนจริงๆ ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ไหน
ติดต่อโดยตรงได้ทางหมายเลขโทรศัพท์ 087-569-8383 หรือ ทาง line ค้นหาเบอร์นี้ ได้เลยครับ