ในปัจจุบัน โรงไฟฟ้าถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ แต่การดำเนินงานของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น โรงไฟฟ้าน้ำพอง ต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบเครื่องจักรในพื้นที่อันตราย ความเสี่ยงในการทำงานของพนักงานเดินเครื่อง หรือการบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ซับซ้อนและต่อเนื่อง เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุดและลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น โรงไฟฟ้าจึงเริ่มมองหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาเป็นตัวช่วยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
และการพัฒนาหุ่นยนต์ผู้ช่วยพนักงานเดินเครื่อง เป็นหนึ่งในแนวทางที่มีศักยภาพในการยกระดับกระบวนการทำงานในโรงไฟฟ้า หุ่นยนต์เหล่านี้สามารถทำงานในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก ทนต่อสภาพแวดล้อมที่รุนแรง และสามารถปฏิบัติภารกิจแทนมนุษย์ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง การนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาช่วยเสริมในกระบวนการเดินเครื่อง ไม่เพียงช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับพนักงาน แต่ยังช่วยลดระยะเวลาหยุดเดินเครื่อง (downtime) เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบ และช่วยลดต้นทุนในระยะยาว ภายใต้งานวิจัยของอาจารย์ ดร.คเณศ ถุงออด อาจารย์ สาขาวิศวกรรมเมคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ชื่อผลงาน
การพัฒนาหุ่นยนต์ผู้ช่วยพนักงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าน้ำพอง
กล่าวถึงที่มาของงานวิจัย
โรงไฟฟ้าน้ำพองได้ดำเนินการในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจำนวน 2 ชุดกำลังผลิตรวม 710,000 กิโลวัตต์ โดยทำการผลิตกระแสไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องด้วยโรงไฟฟ้าเปิดใช้งานมากว่า 30 ปีซึ่งเป็นระบบเก่าไม่มีการส่งข้อมูลหรือเซนเซอร์ตรวจวัดส่วนต่างๆแบบออนไลน์ จึงจำเป็นต้องมีผู้ปฏิบัติงานประจำโรงไฟฟ้าเพื่อคอยสำรวจดูความไม่ปกติของระบบต่างๆเช่น การรั่วของระบบท่อ การสั่นของมอเตอร์ สถานะตำแหน่งวาล์ว ตัวเลขเกจวัดค่าต่างๆ และการจดบันทึกสถานะจุดสำคัญต่างๆเพื่อบันทึกเป็นฐานข้อมูล เนื่องด้วยพื้นที่โรงไฟฟ้ามีขนาดใหญ่และมีจุดสำรวจหลายจุดทำให้ใช้เวลามากในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน และมีมลพิษทางเสียงหรืออันตรายจากการรั่วของไอน้ำ ดังนั้นการนำนวัตกรรมหุ่นยนต์มาช่วยผู้ปฏิบัติงานจึงสามารถช่วยให้เกิดความสะดวก ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน สามารถเก็บข้อมูลต่อวันได้มากขึ้น และยังสามารถส่งเสริมองค์กรด้านการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการทำงาน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงงานวิจัยในครั้งนี้
วิธีการใช้งาน
หุ่นยนต์สามารถเดินในโรงไฟฟ้าแบบอัตโนมัติตามเวลาที่ตั้งไว้ และบันทึกค่าต่างๆลงฐานข้อมูลและแจ้งเตือนค่าต่างๆ เช่น ค่าเกจ ค่าอุณหภูมิ เสียงที่เกิดจากการรั่วไหลของไอน้ำ การรั่วไหลของเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ
จุดเด่นของงานวิจัย
หุ่นยนต์สามารถทำงานได้อัตโนมัติตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ โดยทั้งหมดถูกออกแบบและสร้างจากทีมนักวิจัยภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้งส่วนทางกล ไฟฟ้า การเขียนโปรแกรมควมคุม จากการใช้งาน หรือมีการทดผลแล้ว มีผลออกมาเป็นอย่างไรในการใช้งานหุ่นยนต์สามารถเดินอัตโนมัติได้ภายในโรงไฟฟ้า และเก็บค่าต่างๆได้ ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนของการทดลองใช้ในโรงไฟฟ้า
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน
การออกแบบหุ่นยนต์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้โดยที่ไม่ต้องเขียนโปรแกรม และการใช้งานโดยการตั้งค่าให้น้อยที่สุดเป็นสิ่งที่ยากในการสร้างหุ่นยนต์ ซึ่งต้องอาศัยเวลาในการทดลองใช้งานหุ่นยนต์
กลุ่มเป้าหมายสำหรับงานวิจัย
นอกจากการเก็บข้อมูลด้วยเซนเซอร์ต่างๆ ในโรงไฟฟ้าแล้วยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องการ การเฝ้าระวังหรือรักษาความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอัตรายได้
มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการสนับสนุนอย่างไร
สถานที่และเครื่องมือต่างในห้องปฏิบัติการ
แนวทางจะนำงานวิจัยลงสู่ชุมชนอย่างไร
สามารถต่อยอดเป็นหุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย ภายในชุมชนได้
ในอนาคตจะมีการพัฒนางานวิจัยย่างไรบ้าง
สามารถต่อยอดเป็นอากาศยานไร้คนขับเพื่อให้สามารถทำงานจากมุมสูงได้
ฝากอะไรถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ต่อสังคม และชุมชน
การล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้และพัฒนา โดยเฉพาะในงานวิจัยที่มีความท้าทายสูง
คติในการทำงาน
ถ้าไม่กล้าที่จะล้มเหลว ก็คงไม่ได้ค้นพบสิ่งใหม่
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ไหน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเมคทรอนิกส์ เบอร์043 719 800 ต่อ 1225, 1226, 1227, 1233