สถานการณ์ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่แพร่ระบาดในประเทศจีน และอีกหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยในปัจจุบันนี้เป็นที่วิตกกังวลอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เร่งมาตรการรับมือ ป้องกัน เฝ้าระวัง กับไวรัส COVID-19 ซึ่งปัจจุบันเป็นเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่กระจายจากคน สู่คน ได้อย่างรวดเร็ว และในปัจจุบันวงการแพทย์ยังไม่สามารถหาวิธีการต้านเชื้อไวรัวชนิดนี้ได้อย่างถาวร อีกทั้งเชื้อไวรัสชนิดนี้ยัง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นอีกสถาบันหนึ่งที่ต้องตื่นตัวเร่งประชาสัมพันธ์ให้ข้าราชการ พนักงาน บุคลากร นิสิต นักเรียน และประชาชนทั่วไปได้ศึกษา เฝ้าระวัง การป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ด้วยความเข้าใจ อย่างถูกต้อง โดยนายแพทย์บวร.แสนสุโพธิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุทธาเวช และนายแพท สมาธิ อายุธแพทย์ โรงพยาบาสุทธาเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผยถึงวิธีการป้องกัน และการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องแพร่กระจายไปหลายประเทศในเวลาอันรวดเร็ว
ไวรัสโคโรน่า เกิดจากอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ไวรัสโคโรน่า มีชื่อทางการว่า “COVID-19” เป็นไวรัสในลำดับที่ 7 ของไวรัสตระกูล coronaviruses lineage B เป็นสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่ยังไม่เคยมีการตรวจพบมาก่อน เป็นเหตุให้ทั้งโลกเกิดความวิตกกังวลและหวาดกลัวต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้ สาเหตุที่ไวรัสโคโรน่ามีการแพร่ระบาดในคนยังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก แม้จะมีการโฟกัสไปที่ตลาดทะเลสดในอู่ฮั่นว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อแห่งแรกก็ตาม เวลาต่อมามีสมมุติฐานถึงการแพร่ระบาดที่น่าสนใจถูกตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Lancet อยู่ 4 สมมุติฐานด้วยกัน นั่นคือ
1. ผู้ป่วยรายแรกมีการแสดงผลของเชื้อในวันที่ 1 ธันวาคม แสดงว่าผู้ป่วยรายนี้มีการติดเชื้อในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน โดยที่เขาไม่เคยไปที่อู่ฮั่นในเวลานั้นมาก่อน จึงสันนิษฐานว่ามีการแพร่ระบาดที่นอกอู่ฮั่นมาสักพักแล้ว แต่การแพร่ระบาดที่อู่ฮั่นโด่งดังกว่า จึงมีการเข้าใจว่าเผยแพร่ครั้งแรกที่นั่น
2. ในตลาดสดที่อู่ฮั่นมีการค้าขายค้างคาวในลักษณะขังรวมกันหลาย ๆ ตัว ซึ่งเป็นค้างคาวที่มีเชื้ออยู่แล้ว ค้างคาวจึงแพร่กระจายเชื้อไปสู่คน ผ่านทางอุจจาระ ละอองน้ำลายและเลือดจากการถูกเชือดต่อหน้าลูกค้าที่ไปซื้อของ
3. มีสัตว์ปีกบางชนิดหรือค้างคาว ที่มีเชื้อตัวนี้อยู่แล้วได้บินไปบินมาระหว่างตลาดสดอู่ฮั่น เมื่อปล่อยมูลกลางอากาศจึงเป็นการแพร่เชื้ออีกทางหนึ่ง
4. มีบ้านหลังหนึ่งในอู่ฮั่นที่ถูกตรวจพบว่า บนกระเบื้องใต้หลังคาบ้านเป็นแหล่งอยู่อาศัยของค้างคาว ที่ถูกสันนิษฐานว่ามีเชื้อ ทำให้เจ้าของบ้านติดเชื้อผ่านทางการสูดอากาศเอาเชื้อที่อยู่เหนือหัวเข้าไป รวมถึงระแวกใกล้เคียงก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
แบบไหนถึงสามารถเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรน่าได้
ผู้ที่เคยไปเยือนในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงทั้งสิ้น ยิ่งหากในเวลานั้นไม่ได้มีการป้องกันตัว เช่น สวมใส่หน้ากากอนามัยหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย ก็ทำให้มีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นไปอีก ผู้คนเหล่านี้ควรอย่างยิ่งที่จะเข้ารับการตรวจหาเชื้อกับแพทย์ เพื่อยืนยันว่าตัวเองมีเชื้ออยู่ในตัวหรือไม่
จะเกิดอะไรขึ้นหากติดไวรัสชนิดนี้
เมื่อได้รับเชื้อไวรัสโคโรน่าเข้าสู่ร่างกาย เชื้อไวรัสจะไม่แสดงอาการอะไร เพราะมีระยะฟักตัวยาวนานถึง 14 วัน หลังจากวันที่ 14 เป็นต้นไป คนไข้จะเริ่มมีอาการคล้ายกับการเป็นไข้หวัด อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น รู้สึกเจ็บคอ ไอ มีน้ำมูกไหล รู้สึกหายใจลำบาก หากไม่รีบไปพบแพทย์อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนของปอดบวมจนอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
วิธีป้องกันไวรัสโคโรน่า ที่คุณก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง
มีหลายแนวทางที่คุณสามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโคโรน่า เพียงแต่คุณจะต้องเอาจริงเอาจัง เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะไม่เป็นคนไข้รายต่อไป โดยวิธีการต่าง ๆ ที่ทางเราหยิบมานำเสนอก็มีอยู่ด้วยกันดังต่อไปนี้
• หลีกเลี่ยงสถานที่ ๆ คนพลุกพล่าน หากมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จริง ๆ ให้สวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่เสมอ โดยสวมให้ขอบหน้ากากแนบสนิทกับใบหน้า เพื่อไม่ให้ละอองของเชื้อโรคสามารถเข้าไปได้
• ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลล้างมือฆ่าเชื้อเป็นประจำ โดยเฉพาะก่อนการรับประทานอาหารและหลังจากกลับถึงบ้าน
• รับประทานอาหารที่ปรุงสุกเท่านั้น ไม่เปิบพิสดาร หรือจับสัตว์ป่า เช่น งู นก หนู มารับประทาน เพราะอาจพวกมันอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
• อย่าเอามือไปสัมผัสกับดวงตา จมูก ปาก บ่อย ๆ โดยไม่จำเป็น เพราะเสี่ยงที่เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อบุ หากรู้สึกเคืองบริเวณดังกล่าว ให้ใช้ทิชชู่สำหรับเช็ดหน้า
• ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะสิ่งของของคนป่วย รวมถึงไม่ลืมที่จะทำความสะอาดของใช้ส่วนตัวเป็นประจำ เช่น ซักเสื้อผ้าให้บ่อย ๆ ทำความสะอาดมีดตัดเล็บ ทำความสะอาดกลอนประตู และอื่น ๆ
• ดูแลตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อไม่ให้ร่างกายอ่อนแอและเสี่ยงต่อการเป็นโรคภัยไข้เจ็บ
นอกจากการป้องกันและดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสโคโรน่าแล้ว การมีความรับผิดชอบต่อสังคมก็สำคัญ เมื่อรู้ตัวว่ามีอาการป่วยเบื้องต้น ก็พยายามสวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อตอนที่ไอหรือจามจะได้ไม่แพร่เชื้อต่อ ไม่ล้อเล่นหรือแสดงท่าทีพิเรนทร์ที่ทำให้ผู้อื่นวิตกกังวลเกี่ยวกับเชื้อไวรัส สุดท้าย อย่าลืมทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธี
โรคนี้รุนแรงไหม?
จากข้อมูลที่มีอยู่นั้น พบว่าคนที่ติดเชื้อไวรัสนี้ ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง มีเพียงประมาณ 15% ที่มีอาการรุนแรง และมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 2%
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวนั้นยังไม่นิ่ง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ตอนนี้จึงรู้เพียงว่า ติดค่อนข้างง่าย แม้อัตราเสียชีวิตไม่มาก แต่ต้องป้องกันอย่างจริงจัง
โรงพยาบาลมีการตรวจคัดกรองกรณีไหนบ้าง
ผู้ป่วยหรือผู้ต้องสงสัยจะต้องมีอาการป่วยก่อน หากป่วยนั้นหมายถึงจะต้องเริ่มต้นจากผู้ป่วยมีไข้สูงตัวร้อน ถ้าเคยมีประวัติมีไข้ตัวร้อนมาวัดไข้ที่โรงพยาบาลเกิน 37.5 นั้นผู้ป่วยมีการเข้าข่ายในกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัวชนิดนี้แล้ว จากนั้นต้องมีอาการทางเดินหายใจร่วมด้วยเสมอ คือ น้ำมูกไหล ไอ จาม เจ็บคอ หรือหายใจหอบหืด และที่สำคัญผู้ป่วยมีประวัติการเดินทางไปในที่กลุ่มเสี่ยงทั้งหมดรวมกันนั้น ซึ่งปัจจุบันข้อมูลทั้งหมดของกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบันแจ้งว่า ประเทศจีนทั้งหมด ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด ถ้าผู้ป่วยมีประวัติเดินทางมาจากประเทศจีนใน 14 วัน และมีอาการที่บอกเมื่อข้างต้นถือว่าเป็นผู้ป่วยที่มีกลุ่มเสี่ยงอย่างแน่นอน
โรงพยาบาลสุทธาเวช และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงานของจังหวัด
มหาสารคาม ได้ร่วมกันป้องกัน และคัดกรองบุคคลที่ต้องสงสัย และกลุ่มเสี่ยง ในเบื้องต้นร่วมกันอย่างเคร่งครัส
มีการวางระบบ การคัดกรอง และป้องกัน คัดแยกบุคคลที่เข้าข่ายกลุ่มเสียงของโรค หรือสงสัยว่าจะเข้าข่ายการตดเชื้อไวรัสชนิดนี้อย่างชัดเจน
เมื่อพบผู้ที่เข้าเกณ หรือผู้ที่ต้องสงสัยกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส
เมื่อผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ต้องสงสัย ทางโรงพยาบาลมีการส่งตัวเพื่อเข้าตรวจ โดยทีมแพทย์ และบุคลากรของ
โรงพยาบาลมีการฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดี โดยมีการสวมชุดป้องกันเชื้อไวรัสที่ได้มารตฐาน มีสถานที่ในการส่งตรวจ มีสถานที่ให้ผู้ป่วยที่เข้าข่ายต้องสงสัยจากการติดเชื้อไวรัส ได้พักรอระหว่างการส่งผลไปตรวจได้นอนพักรักษาตัวก่อนระหว่างการคอยผลตรวจอย่างชัดเจน โดยโรงพยาบาลมีการตรวจ และคัดกรองของเชื้อไวรัสอย่างครบถ้วนตามเกณฑ์มารตฐานของกระทรวงสาธารณสุขทุกประการ อีกทั้งทางโรงพยาบาลยังมีการรายงานกลับไปยังส่วนกลางอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันยาวิธีการรักษาของโรงพยาบาลสุทธาเวช
เรื่องยาในการรักษาผู้ที่ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ ยังไม่มียาที่มีงานวิจัยรองรับในการรักษาผู้ที่ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ ที่
เป็นมาตรฐานในการรักษา วิธีการแนวทางในการรักษาสำหรับผู้ที่เข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงการติดเชื้อไวรัส เราจะต้องมีการพิจารณาจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นกรณีๆ ไป
เมื่อตรวจคนไข่ที่ไม่เข้าเกนที่ต้องสงสัย
ถ้ามีการตรวจคนไข้ผู้ที่คิดว่าจะเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยง เมื่อโรงพยาบาลมีการตรวจครบทุกด้านแล้ว ผลออกมา
เป็นลบ ก็สามารถกลับบ้านได้โดยที่ไม่ต้องแยกตัวเองกับใคร สำหรับผู้ป่วยรายอื่นๆ ที่อาจจะมีความกังวล เช่น เพิ่งเดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่น อาจจะเป็นเมืองที่ไม่ได้เข้าข่างต้องเฝ้าระวัง และไม่มีอาการใดๆ ขอแนะนำว่า ให้ปฏิบัติตัวในด้านการสังเกตตัวเอง ถ้าเริ่มมีอาการป่วยเมื่อใด ให้รีบสวมหน้ากาก ล้างมือบ่อย และให้รีบมาตรวจรักษาที่โรงพยาบาล และพยายามไม่ไปที่สาธารณชนที่มีผู้คนมากมาย ที่จะมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อไปหาคนอื่น
หลังจากที่มีการตรวจแล้วจะมีกระบวนการป้องกันและรักษาอย่างไรต่อไป
ทางโรงพยาบาลสุทธาเวช และมหาวิทยาลัยมาหาสารคาม มีความต้องการจะให้ทุกๆ ท่านก่อนจะ
ออกไปยังที่สาธารณชนให้มีการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้บ่อย อย่าพยามใช้มือมารจับบริเวณใบหน้า จมูกปาก กินร้อน ใช้ช้อนกลาง เพื่อป้องกันแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 ทั้งทางการสัมผัส และการสูดดมเข้าไป
สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาจจะมีผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศบ้าง อยากจะให้มีการดูแลตัวเอง
ตามเกณฑ์ในเบื้องต้น เพราะเนื่องจากว่า ณ ตอนนี้หลายคนอาจจะเกิดจากความกลัว เพียงแค่เดินทางไปยังประเทศนั้นๆ แล้วเราไม่มีอาการใดเลย อีกทั้งยังผ่าน ตม.คัดกรองในเบื้องมาแล้ว แล้วยังมีความกลัวกันอยู่ ซึ่งบางครั้งมันอาจจะทำให้เราทำงานไม่มีความสุข ถ้าเรากลัวมากจนเกินไป อย่างไรก็ตามหากทุกท่านมีข้อสงสัยอะไรสามารถติดต่อสอบถามมายังโรงพยาบาลสุทธาเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่เบอร์โทรเบอร์โทรศัพท์ 043-021-021
หรือศูนย์การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 มหาวิทยาลัยมหาสารคามตลอด 24 ชั่วโมง