นักวิจัย มมส ลุยวิจัยอย่างต่อเนื่องกับการค้นพบ “ข่า” ชนิดย่อยใหม่ของโลก และชนิดรายงานใหม่จาก สปป.ลาว โดยทีมวิจัยที่มีองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ภายใต้การนำของรองศาตราจารย์ ดร.สุรพล แสนสุข (Surapon Saensouk) (จากหลักสูตรความหลากหลายทางชีวภาพ สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช) รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะพร แสนสุข (Piyaporn Saensouk) (จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์) นักวิจัยทั้งสองเป็นสมาชิกของหน่วยวิจัยความหลากหลายพืชวงศ์ขิงและพืชที่มีท่อลำเลียงเพื่อการประยุกต์ (Diversity of Family Zingiberaceae and Vascular Plant for Its Applications) ร่วมกับ ดร.จรัญ มากน้อย (Charun Maknoi) (หัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้า พิษณุโลกในพระราชดำริ จ.พิษณุโลก) และ ดร.ศรายุทธ รักอาชา (Sarayut Rakarcha) (นักพฤกษศาสตร์จากองค์การสวนพฤกษศาสตร์) ผลงานพืชชนิดใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่ได้รับทุนวิจัยจาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ
ชื่อผลงานวิจัย
ชนิดย่อยใหม่ของโลกจาก สปป. ลาว 1 ชนิดย่อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia intermedia Gagnep. ssp. aurea Maknoi & Saensouk, ssp. nov.ชื่อพื้นเมือง ข่าชนิดที่มีการรายงานใหม่จาก สปป. ลาว 2 ชนิด
ชื่อวิทยาศาสตร์
1. Alpinia latilabris Ridl. (ข่าป่า)
2. Alpinia nobilis Ridl. (ข่าป่า)
ช่วงเวลาออกดอกติดผล:
ชนิดย่อยใหม่ของโลก 1 ชนิด ออกดอกในเดือนกรกฎาคม
ชนิดที่มีการรายงานใหม่ใน สปป ลาว 2 ชนิด ออกดอกในเดือนมีนาคม
การกระจายพันธุ์: ปัจจุบันพืชชนิดนี้เป็นพืชเฉพาะถิ่นและหายากใน สปป ลาว
- ชนิดย่อยใหม่ของโลก Alpinia intermedia Gagnep. ssp. aurea Maknoi & Saensouk พบเฉพาะในท้องที่ แขวง Phongsali สปป ลาว เท่านั้น
- ส่วนชนิดที่มีการรายงานใหม่ใน สปป ลาว 2 ชนิด
1. Alpinia latilabris Ridl. (ข่าป่า) พบที่ แขวง Bolikhamxay สปป ลาว เท่านั้น
2. Alpinia nobilis Ridl. (ข่าป่า) พบเฉพาะในท้องที่ แขวง Phongsali สปป ลาว เท่านั้นเช่นกัน
ข่าชนิดย่อยใหม่ของโลก Alpinia intermedia Gagnep. ssp. aurea Maknoi and Saensouk in Laos.
ด้านนิเวศน์วิทยา : เจริญเติบโตในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 500-1200 เมตร จากระดับน้ำทะเล
การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์: ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชชนิดย่อยใหม่นั้นตั้งชื่อตาม สีของดอกและช่อดอกเป็นสีเหลืองทุกส่วนของ
ดอก
ประโยชน์ : ไม้ประดับมงคล เป็นไม้ประดับ ใบอ่อน เหง้าอ่อนและช่อดอกอ่อนเป็นอาหารเป็นผักสดรับประทานกับน้ำพริก เหง้าเป็นเครื่องเทศเพื่อดับกลิ่นความและเพิ่มความหอม
สถานภาพด้านการอนุรักษ์: พืชทั้งสามชนิดนี้เป็นพืชหายากของ สปป ลาว และคาดว่าจะพบการกระจายพันธุ์ของพืชชนิดนี้มากขึ้นในพื้นที่ที่ยังไม่ได้สำรวจในบริเวณใกล้เคียง เพื่อเปลี่ยนสถานะการอนุรักษ์ใหม่ให้เหมาะสมต่อไป การอนุรักษ์พืชชนิดนี้ต่อไป
ข่าชนิดย่อยใหม่ของโลก Alpinia intermedia Gagnep. ssp. aurea Maknoi and Saensouk in Laos.
ลักษณะเด่น
สำหรับลักษณะเด่นของพืชชนิดย่อยใหม่ของโลกมีสีของดอกและช่อดอกเป็นสีเหลืองทุกส่วนของดอก
ข่าชนิดนี้ ชอบขึ้นที่อากาศเช่นไร
ชอบขึ้นในพื้นที่เปิดที่มีลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย อากาศชื้น ปริมาณน้ำฝนปานกลาง-จำนวนมาก
มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการสนับสนุนอย่างไร
ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยมหาสารคาม หน่วยงาน บุคลากรทุกท่านที่มีส่วนในการสนับสนุนงานวิจัยและสนับสนุนเงินทุนการวิจัยบางส่วน อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และพื้นที่ในการดำเนินการวิจัย รวมทั้งสนับสนุนเวลาทั้งหมดในการทำงานวิจัยชิ้นนี้
ในอนาคตมีแผนการพัฒนาต่อยอดพืชชนิดนี้ลงสู่ชุมชนอย่างไร
สำหรับแผนการพัฒนาต่อยอดของพืชชนิดนี้ลงสู่ชุมชนอย่างไรนั้น ทีมผู้วิจัยจะมีแนวทางในการส่งเสริมให้ชุมชนขยายพันธุ์และอนุรักษ์พืชเหล่านี้โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชต่อไป
การทำงานวิจัยนั้นเป็นการทำงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องมุ่งมั่น และจริงจัง ให้เน้นในเรื่องของคุณภาพงานวิจัยเป็นหลัก ทำงานวิจัยให้เกิดความเชี่ยวชาญในสาขาที่นักวิจัยเชี่ยวชาญและเกิดความเข้มแข็งของนักวิจัย ขอเป็นกำลังใจให้นักวิจัยที่เริ่มทำวิจัยใหม่ขอให้ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคต่างๆ ที่เข้ามา พยายามทำอย่างต่อเนื่องตามกำลังที่มีแล้วผลงานต่าง ๆ ที่สะสมจะเป็นประวัติการทำงานวิจัยที่สำคัญทำให้เราสามารถได้รับทุนวิจัยในระดับที่สูงขึ้นครับ
ข่าชนิดที่มีการรายงานใหม่ใน สปป ลาว Alpinia latilabris Ridl. in Laos.
“เราจะมีการพัฒนาต่อยอดของพืชชนิดนี้ในการลงสู่ชุมชน โดยการขยายพันธุ์และอนุรักษ์พืชเหล่านี้ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อชุมชนยั่งยืนต่อไป อย่างต่อเนื่อง”
“เราจะมีการพัฒนาต่อยอดของพืชชนิดนี้ในการลงสู่ชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เพื่อชุมชนยั่งยืน อย่างต่อเนื่อง”