ย้อมผ้าจากสีธรรมชาติ ความงดงามที่มาพร้อมกับการอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อม
อาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ลงชุมชนบริการวิชาการโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติ โดยมีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ และพัฒนาอาชีพการฟอก ย้อมสีจากธรรมชาติ โดยมีการ มีการถ่ายทอด พัฒนาองค์ความรู้ และเป็นการพัฒนาอาชีพ การฟอกย้อมสีด้วยวัสดุธรรมชาติ ของจังหวัดมหาสารคาม สู่ตลาดสากล ภายใต้การนำของ อาจารย์สรัญญา ภักดีสุวรรณ อาจารย์ประจำภาควิชาวัฒนธรรมและการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ในปัจจุบัน ช่างทอผ้านิยมใช้สีสังเคราะห์ในการย้อม เพื่อลดต้นทุนการผลิต อีกทั้งยังช่วยเป็นการประหยัดเวลา สะดวกรวดเร็วในการผลิต แต่ในการใช้สีสังเคราะห์ในปริมาณมากๆ มักจะมีผลกระทบต่อร่างกาย ต่อสังคม ต่อสิ่งแวดล้อม อันตรายส่วนใหญ่ที่เกิดจากสีสังเคราะห์ ซึ่งมีผู้ผลิตบางรายมักใช้สีย้อมผ้า หรือสีย้อมกระดาษที่มีโลหะหนักจำพวก สารตะกั่ว ปรอท สารสังกะสีโครเมี่ยม ปะปนอยู่ซึ่งจะทำให้เกิดผลต่อร่างกาย เช่น สารตะกั่ว ในระยะแรก จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ โลหิตจางเป็นต้น หากมีการสะสมมากขึ้นจะเกิดอัมพาด ที่แขน ขา มีอาการเพ้อ ชักกระตุก หมดสติ และเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง การย้อมด้วยสีธรรมชาติมีข้อดีคือ ผ้าจะมีสีที่ไม่ฉูดฉาด สีอ่อน เย็นตากว่าสีสังเคราะห์ มีความงดงาม และเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่สามารถเรียนแบบได้เลย
ชื่อผลงาน : โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติ
หัวหน้าโครงการ : อ.สรัญญา ภักดีสุวรรณ ประจำภาควิชาวัฒนธรรมและการออกแบบ คณะศิลปกรรมมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
กล่าวถึงที่มาของโครงการ
สำหรับที่มาของการดำเนินการจัดโครงการนั้น คือ ปัจจุบันมีการใช้สีสังเคราะห์มีพิษภัยทั้งต่อผู้บริโภค ผู้ผลิต และต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง จังหวัดมหาสารคาม เป็นแหล่งทอผ้าพื้นเมือง ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ (ป่าชุมชน) ที่มีพืชพรรณ ให้สีธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรมีการพัฒนาการย้อมสีธรรมชาติในเชิงพาชิชย์
จุดเด่นของการฟอกย้อมสีจากธรรมชาติเป็นอย่างไร
จุดเด่นของการฟอกย้อมสีจากธรรมชาติ เพื่อสนองนโยบาย BCG ที่จะนำพาไปสู่ความยั่งยืน และพัฒนางานร่วมสมัย และกระแสนิยม(fashion trend)ตรงตามความต้องการของตลาด
วัสดุที่นำมาใช้ในการทำการฟอกย้อมสีธรรมชาติ ได้มากจากอะไรบ้าง และหาได้จากแหล่งใดได้บ้าง :
วัสดุส่วนมากที่นำมาใช้ในการพืชจากป่าชุมชน หลากหลายชนิด จากทุกส่วนของต้น หลังจากที่มีการถ่ายทอดการฟอกย้อมสีจากธรรมชาติเสร็จแล้ว เรามีการนำผ้ามาขึ้นรูป ในการออกแบบตัดเย็บ หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไปอีก ซึ่งมีนโยบายที่จะทำให้ครบวงจร อีกทั้งวัตถุดิบ และการแปรรูปให้สนองต่อความต้องการของตลาดอย่างมาก
วิธีการ หรือเกณฑ์ในการเลือกชุมชนที่มหาวิทยาลัยจะมีส่วนร่วมในการพัฒนา และทำไมถึงเลือกชุมชนนี้ (บอกชื่อชุมชนหรือหมู่บ้านที่เลือกทำงาน) :
สำหรับเกณฑ์ในการเลือกชุมชน เรามีการเลือกชุมชนที่มีภูมิปัญญา และมีศักยภาพด้านการทอผ้า พื้นเมืองในจังหวัดมหาสารคาม
เราจะมีกลยุทธ หรือวิธีการ ในการอนุรักษณ์การฟอกย้อมสีจากธรรมชาติให้ทุกคนมองเห็นถึงความสำคัญได้ให้มากกว่านี้ได้อย่างไร
เรามีการทำหลักสูตรที่ง่ายต่อการเรียนรู้ และมีการทำอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน
สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานนั้น เป็นโครงการที่พัฒนาขึ้นมาใหม่อาจจะยังมีความไม่พร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มากเท่าที่ควร
กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
กลุ่มเป้าหมายของโครงการ คือผู้ประกอบการ นิสิต และประชาชนผู้ที่สนใจ เข้าร่วมโครงการ
ในอนาคตจะมีการพัฒนางานไปในทิศทางใด
ตนเองต้องการที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ที่ครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ อย่างสมบูรณ์แบบ
ฝากอะไรถึงผู้ที่สนใจ
อยากจะฝากถึงผู้ที่มีความสนใจ ที่จะเข้าร่วมโครงการ เรามีความยินดีรับผู้ที่มีความสนใจ ในการพัฒนาด้านศิลปและวัฒนธรรม เพื่อเป็นการพัฒนาอาชีพการฟอก ย้อมสีด้วยวัสดุธรรมชาติของจังหวัดมหาสารคามสู่ตลาดสากล
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ไหน
อ.สรัญญา รองคณบดีฝ่ายการบริการวิชาการ คณะศิลปกรรมและวัฒนธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เบอร์ติดต่อ 0844080152