"จิ้งหรีด" จากอาหารบ้านๆ แหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยม
จิ้งหรีดเป็นแมลงพื้นบ้านอีสานที่คุ้นเคยกันดี สามารถนำมาปรุงเป็นอาหาร ใช้เพื่อสันทนาการและเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงมาเนิ่นนาน อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานนี้ จิ้งหรีดกลายเป็นแมลงที่มีกระแสดังระดับโลก อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาหารทางเลือกใหม่ ที่มีโภชนาการสูงมากสามารถใช้เป็นอาหารทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดีเยี่ยม  มีคุณค่าทางโภชนา และมีโปรตีนสูง ใกล้เคียงกับโปรตีนที่พบในไก่ไข่ แต่ปัจจุบันอาหารที่ใช้เลี้ยงจิ้งหรีดยังมีต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาการจำหน่ายจิ้งหรีดไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง และราคาอาหารในการเลี้ยงจิ้งหรีดก็ยังคงมีราคาที่สูงอย่างต่อเนื่องนั้น 
         หนอนแมลงวันลายก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่สามารถนำมาทำเป็นอาหารลดต้นทุน ในการเลี้ยงจิ้งหรีด ซึ่งหนอนแมลงวันลาย เป็นแหล่งของวิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ รวมถึงวิตามินที่มีประโยชน์มากมาย ซึ่งหนอนแมลงวันลายจึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการนำมาผลิตอาหารเพื่อลดต้นทุนในการเลี้ยงจิ้งหรีด ภายใต้การวิจัยของ ผศ ดร โสภา แคนสี สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



องค์การอาหาร และเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ยอมรับให้จิ้งหรีดเป็นแมลงกินได้หนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจใหม่ในทศวรรษนี้เพื่อรองรับจำนวนประชากรโลกจะเพิ่มมากถึง 9.1 พันล้านคน จิ้งหรีดเป็นแหล่งอาหารทางเลือกใหม่ ซึ่งมีโภชนาการสูงสามารถใช้เป็นอาหารทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี  มีคุณค่าทางโภชนา และมีโปรตีนสูงถึง 12.9% ใกล้เคียงกับโปรตีนที่พบในไก่ไข่ 12.7% อีกทั้งยังมีวงจรชีวิตสั้น เลี้ยงง่าย โตเร็ว เหมาะที่จะเป็นแหล่งอาหารทดแทนการขาดแคลนดังกล่าว นอกจากนี้มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ยังส่งเสริมให้เกษตรกรขยายการเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นแบบแปลงใหญ่เพื่อจัดทำมาตรฐานสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด (Good Agricultural Practices: GAP) จำหน่ายในตลาดเชิงอุตสาหกรรม ทำให้เปิดโอกาสในการเพาะเลี้ยงรูปแบบฟาร์มเชิงพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น ตลาดแมลงรับประทานได้ทั่วโลกมีอัตราขยายตัว 23.8% เป็นที่นิยมเพราะสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารได้หลายอย่าง จากศักยภาพของจิ้งหรีดและความชอบด้านการเกษตรที่ผู้วิจัยมีพื้นฐานอยู่แล้ว ได้นำจิ้งหรีดมาทดลองเลี้ยงและทำควบคู่ไปกับงานวิจัยเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาและมีส่วนการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงจิ้งหรีดด้วย



ชื่อผลงาน ชื่อ-สกุล - ตำแหน่ง - สังกัด ผู้รับผิดชอบ
ผศ ดร โสภา แคนสี
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สภาวะอุณหภูมิและอาหารลดต้นทุนจากหนอนแมลงวันลายเพื่อเลี้ยงจิ้งหรีด



วัตถุประสงค์ในการจัดทำงานวิจัย
   จิ้งหรีดสามารถกินได้ทั้งพืช และสัตว์ เมื่อนำมาเลี้ยงเป็นการค้า หรืออุตสาหกรรมจึงต้องใช้อาหารสำเร็จรูปซึ่งมีส่วนผสมของปลาป่นเป็นแหล่งโปรตีนหลัก ระยะเวลาไม่นานมานี้ต้นทุนวัตถุสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาจำหน่ายจิ้งหรีดไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง ทำให้เกษตรกรเลิกเลี้ยงจิ้งหรีดมาก วัตถุประสงค์สำคัญของงานวิจัยนี้จึงต้องการเพิ่มผลผลิต และหรือลดต้นทุนอาหารลง



จุดเด่นอาหารเสริมของจิ้งหรีดที่มาจาก หนอนแมลงวันลาย มีความพิเศษอย่างไร
   สำหรับจุดเด่นของงานวิจัยชิ้นนี้นั้น งานวิจัยชิ้นนี้ไม่ได้เติมผสมผงหนอนแมลงวันลาย กับอาหารสำเร็จรูปอย่างเดียวแต่มุ่งเน้น ที่จะผลิตอาหารลดต้นทุน โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น และใช้โปรตีนจากหนอนแมลงวันลาย โดยใช้อาหารสำเร็จรูปส่วนน้อย จะเป็นจุดเด่นก็น่าจะเป็นการผลิตอาหารจิ้งหรีดที่สามารถลดต้นทุลงประมาณ 33 เปอร์เซ็นต์

   
     คุณภาพของจิ้งหรีดที่ได้จากการให้อาหารเสริมฯ มีความพิเศษแตกต่างจากการเลี้ยงจิ้งหรีดแบบทั่วไปอย่างไรหากเป็นคุณภาพเชิงสารอาหารนั้น งานวิจัยนี้ยังไม่ถึงกับว่า จิ้งหรีดกินอาหารชนิดนี้แล้ว จะให้คุณค่าอาหารแตกต่างจากเดิม หรือไม่นั้น งานวิจัยนี้เน้นการปฏิบัติจริง โดยมีการเลี้ยงจิ้งหรีด และมีผลผลิต ลดต้นทุนได้ จำหน่ายมีกำไร แล้วเกษตรกรอยู่ได้


สภาวะ และอุณภูมิอย่างไร ที่จะได้ผลผลิตของจิ้งหรีดดีที่สุด
   แมลงเป็นสัตว์ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศ เช่นที่เราเคยเห็นมดจะคาบไข่ขึ้นที่สูงก่อนฝนจะตก จิ้งหรีดก็เช่นกัน ในฤดูหนาวจิ้งหรีดจะหลบซ่อนไม่ยอมออกมากินอาหาร ทำให้เจริญเติบโตช้า จึงใช้เวลานาน อุณหภูมิสูงขึ้น เป็นการกระตุ่นการกินของจิ้งหรีด แต่ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไป จิ้งหรีดจะอ่อนแอ และตายได้ง่าย จากการทดลองการเจริญเติบโตของจิ้งหรีด ในช่วงอุณหภูมิแวดล้อม (ประมาณ 28 องศาเซลเซียส) ถึง 38 องศาเซลเซียสพบว่าสภาวะอุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส จิ้งหรีดจะมีการเจริญเติบโตดี อัตราแลกเนื้อที่สูง (ภาพจิ้งหรีดหลบซ่อนตัว)


ในอนาคตจะมีการพัฒนางานวิจัยชิ้นนี้อย่างไรบ้าง
     ในอนาคตสิ่งที่น่าสนใจมากที่สุด ก็คือ การลดต้นทุนอาหารของจิ้งหรีด โดยจะพยายามผลิตอาหารจิ้งหรีด ให้สามารถสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรได้ หรือผลผลิตในเชิงพานิชย์ได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงจิ้งหรีด หรือแมลงอื่นๆ ในภาพรวมได้ 



ฝากอะไรถึงนักวิจัยรุ่นใหม่
   สำหรับนักวิจัยแต่ละคนนั้น มีความรู้ มีประสบการณ์ และงานที่ตนเองถนัดอยู่แล้ว เปรียบกับตนเองหากทำงานวิจัยเหมือนการใช้ชีวิตนั้น หมายความว่าทำงานวิจัยที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งการเรียนการสอน การวิจัย การบริการ แบ่งปัน และใช้ชีวิตอยู่กับสิ่งนั้น เหมือนการยิงปืนนัดเดียว ได้นกหลายตัว เราจะทำให้ดี รู้สึกถึงคุณค่า และคุ้มค่ามากกับเวลาที่ล่วงไป



คติในการทำงาน
     งานมีชีวิต และจิตวิญญาณ ทำงานให้สนุก ทำงานให้มีความสุข 
ผู้ที่สนใจงานวิจัยชิ้นนี้สามารถติดต่อได้ที่ไหน



ผู้ที่สนใจงานวิจัยสามารถติดต่อไปที่
โทรศัพท์ : 043-029665
     - กด 1 สำนักงานเลขานุการ
     - กด 2 ฝ่ายวิชาการระดับปริญญาตรี
     - กด 3 ฝ่ายวิชาการระดับบัณฑตศึกษา
     - กด 4 ฝ่ายกิจการนิสิต
     - กด 5 หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการและพัฒนานิสิต
     - กด 0 ติดต่อเจ้าหน้าที่
โทรสาร : 043-754316

 

 




Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล/กราฟิก:คุณปิยะฉัตร ธนภัทรธุวานันท์

Related Posts