มมส ค้นพบไหมสีชมพูที่แรกของประเทศ
ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคามค้นพบไหมสีชมพู อุดมไปด้วยโปรตีนที่สูงที่สุดกว่าไหมสีเหลือง และไหมสีขาว  เตรียมพัฒนาต่อยอดสายพันธ์ที่สมบูรณ์ต่อไป ค้นพบโดยคุณสุวัฒน์ พรมมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายเลี้ยงไหม สังกัดศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



            เราได้ค้นพบไหมสีชมพูโดยบังเอิญ โดยปกติเราทำการเพาะเลี้ยงไหมสีเหลือง และไหมสีขาวเป็นส่วนใหญ่  และเราได้พบรังไหมสีที่แปลกไปจากสีเหลืองทั่วไป  ไหมที่พบจะมีสีชมพูเล็กน้อย แต่ยังไม่ชัดเจน ประมาณ 8-10 ตัว เราเลยทำการคัดแยกตัวไหม 8-10 ตัวนั้นออกมาเพาะเลี้ยงแยกสายพันธ์ในรังต่างหาก ในตอนแรกคิดว่าที่พบไหมสีที่แปลก 8-10 ตัวนั้นจะมีตัวผู้ และตัวเมียให้เราหรือไม่ เป็นความโชคดีของเราผลปรากฏว่าเราเจอทั้งตัวผู้ และตัวเมีย จึงนำมาผสมพันธ์ และเลี้ยงรุ่นต่อไปโดยการแยกเพาะสายพันธ์นี้ออกมาโดยเฉพาะ
มีการคัดแยกอย่างไร




        เรามีการศึกษาเรื่องไหมมาในเบื้องต้นพบว่าไหมมีหลายสี เช่น สีเหลือง สีขาว และในตำรายังบอกไว้ว่ามีสีตุ่น และสีชมพูซึ่งพบได้ยากมากในปัจจุบัน  เราได้พยามยามศึกษาหลายๆ ที่ รวมถึงมีการสอบถามจากแหล่งองความรู้ และผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องไหมว่ามีการค้นพบไหมสีชมพูขึ้นบ้างหรือไม่ 



             เราจึงมีการเลี้ยงไหมที่เราแยกออกมา 8-10 ตัวนี้  โดยทำการเพาะเลี้ยง ผสมสายพันธ์ มาโดยตลอด ซึ่งในเซตแรกที่เลี้ยงไหมกลุ่มนี้  สีจะยังออกมาไม่ชัดเจนมากนัก ยังไม่ตรงตามที่เราต้องการ เราจึงมีการคัดแยกสายพันธ์จาก การเลือกสีที่เด่น และชัดเจนออกมาอีก ต่อมาจะเป็นการเลือกลักษณะตัวที่เด่นคือตัวจะเป็นสีเขียวเข้มสมบูรณ์  และนำมาเพาะเลี้ยง โดยเราจะมีการเพาะเลี้ยงไหม 6 รุ่นต่อปี ในศูนย์การทำงานของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยเราได้มีกระบวนการเลี้ยงไหมโดยการคัดแยกตามที่กล่าวมาในเบื้องต้นอยู่แบบนี้ประมาณ  2-3 ปี กว่าจะได้ไหมสีชมพูที่ชัดเจนและสมบูรณ์ตรงตามที่ต้องการ



วัตถุประสงค์หลักของการเลี้ยงไหม
วัตถุประสงค์หลักของการเลี้ยงไหม ของศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ
เพื่ออนุลักษณ์สายพันธ์ โดยเฉพาะสายพันธ์พื้นบ้าน  อีกทั้งเลี้ยงไหมเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน และเลี้ยงเพื่อปรับปรุงสายพันธ์



คุณสมบัติของไหมสีชม

เมื่อเราได้ทำการเพาะเลี้ยงไหมที่ได้ตรงตามที่เราต้องการ คือไหมสีชมนั้น เราอยากทราบว่าในตัวไหมสีชมพูนั้นจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากไหมสีเหลือง สีขาวมากน้อยเพียงใด เราจึงมีการนำตัวไหมสีชมพูนั้นส่งต่อให้นักวิจัยได้หาสารสกัดค่าโปรตีนของไหมสีชมพูว่ามีมากเท่าไหร่  ผลที่ออกมาพบว่าตัวไหมสีชมพูนั้น มีคุณสมบัติค่าโปรตีนที่มากกว่าไหมสีเหลือง และสีขาว 


           สารสกัด Seven Berry Extract สารสกัดเบอรี่ เป็นการรวมผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่มีสารในกลุ่ม Anti-oxidant แหล่งเพาะปลูกที่ธรรมชาติ ทำให้ได้สารสำคัญที่ดีที่สุดสำหรับเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อุดมไปด้วย Polyphenol, Flavonoid, Anthocyanin และมีค่าการยับยั้ง ABTS radical scavenging activities รวมทั้ง DPPH โดยช่วยต้านอนุมูลอิสระอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับสมดุลความชุ่มชื้นของผิว ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆในร่างกาย และยังมีปริมาณวิตามินซีสูงมาก ช่วยกระตุ้นคอลลาเจน ให้ผิวพรรณแลดูกระจ่างใส


การเลือกอาหารที่เพาะเลี้ยงไหม
อาหารก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญ  เรามีการคัดใบหม่อนก่อนที่จะนำมาเลี้ยงตัวไหม คือเราจะต้องมีการคัดเลือกใบหม่อนให้เหมาะสมกับตัวไหมในแต่ละวันของเรา เช่น ตัวอ่อน เราต้องเลือกใบอ่อน ตัวไหมที่โตขึ้นมาอีกนิดเราก็ต้องเลือกใบหม่อนที่แก่เพิ่มขึ้นมา โดยเรามีแผนในการจัดการส่งให้ฝ่ายไร่ และฝ่ายไร่จะต้องทำการตัดแต่งใบหม่อนไว้คอยเราทุกครั้ง ก่อนที่นำมาเป็นอาหารของตัวไหม  เช่น แผนในการเลี้ยงหม่อน 1 ก.พ. ปลายเดือนธันวาฝ่ายไร่ก็จะต้องตัดใบหม่อนเตรียมไว้สำหรับฝ่ายเลี้ยงไหม  ซึ่งไหมวัยอ่อนจะอยู่ที่ หนึ่งเดือน หรือหนึ่งเดือนครึ่ง และมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการจัดการที่ดีของระบบน้ำในการเลี้ยงใบหม่อนที่สมบูรณ์ไม่ต้องคอยฝนที่เกิดขึ้นเองตามฤดูกาลธรรมชาติ   เราจึงไม่มีปัญหาสำหรับอาหารของตัวหม่อน  ไหมวันอ่อนต้องตัดกี่เดือนต่อกี่เดือน ไหมวันแก่ต้องตัดใบหม่อนกี่เดือนต่อ กี่เดือนต้องมีการจัดการให้เหมาะสมตามแผนที่เราต้องการ  เพราะฉะนั้นวัยที่แก่เราจะเริ่มจาก สองเดือนถึงไม่เกินสองเดือนครึ่ง ถึงจะมีสารอาหารที่เหมาะสมกับตัวไหม ซึ่งใบหม่อนที่เราเลี้ยงนั้นเป็นสายพันธ์ที่กรมวิชาการเกษตรเขามีการปลูกโดยทั่วไป คือสายพันธ์บุรีรัมย์ 60 กับสกลนคร 72  ที่พิเศษก็คือเราจะต้องมีวิธีการจัดการที่ดีของใบหม่อนก่อนที่จะนำมาเลี้ยงไหมเท่านั้นเอง
การสนับสนุนการสนับสนุนของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม


         เราได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านงบประมาณ ด้านฝ่ายจัดเลี้ยงใบหม่อน  และสนับทีมงานวิจัยที่เราได้นำไหมสีชมพูส่งให้ฝ่ายวิจัย เพื่อหาค่าโปรตีนว่ามีมากกว่าไหมสีเหลือง และสีขาวอย่างไร  และทีมวิจัยก็สามารถนำเอาไหมสีชมพูไปทำการวิจัยต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป
ในอนาคตจะมีการพัฒนาสายพันธ์ไหมอย่างไร



        แน่นอนว่า เราจะต้องมีการเลี้ยงไหม เพื่อพัฒนาสายพันธ์ ให้ได้สายพันธ์ไหมที่ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด คุณภาพดีที่สุด ทำอย่างไรเราถึงจะมีวิธีการเลี้ยงไหมอย่างไรให้ได้ตัวไหมที่โตสมบูรณ์ เพื่อจะได้ไหมที่มากกว่าปกติ ตอนนี้เรากำลังมีวิธีการปรับปรุง และพัฒนาต่อไปเพื่อที่จะให้ได้ตามเป้าที่เราตั้งไว้ ส่วนค่าโปรตีนเราจะต้องมาดูอีกครั้งว่าเมื่อตัวไหมสมบูรณ์มากขึ้นกว่าเดิม ค่าโปรตีนจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นหรือไม่นั้น เราต้องมาดูกันอีกครั้ง
อุปกรณ์ในการเลี้ยงไหม
การเลี้ยงไหมของมหาวิทยาลัยมหาสารคามของเรามีวามพิเศษตรงที่เรามีองค์ความรู้ที่ครบ  ทรัพยากรที่พร้อม ทีมงานที่มีคุณภาพ อีกทั้งเรายังมีอุปกรณ์ในการเลี้ยงไหมที่ทันสมัย ที่สุดที่เดียวในประเทศก็ว่าได้ เพราะมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์เลี้ยงไหมที่ดีที่สุดมาจากประเทศญี่ปุ่น รวมถึงเรามีผู้เชี่ยวชาญด้านไหมของญี่ปุ่นมาคอยให้คำปรึกษาเราอย่างต่อเนื่อง 


และเครื่องจักรที่เราได้มานั้นเป็นเครื่องจักรสำหรับการเลี้ยงไหมวัยแก่ 4-5 เป็นเครื่องจักรที่เราได้นำมาจากประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งในตอนนั้นมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ทำความร่วมทางวิชาการร่วมกับประเทศญี่ปุ่น เราเลยได้เครื่องจักรการเลี้ยงไหมมาทำการเพาะเลี้ยงไหมในมหาวิทยาลัยมหาสารคามเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และเครื่องจักรตัวนี้ความสามารถของเขาสามารถเลี้ยงไหมแบบอุตสาหกรรม เราจะได้ไหมจำนวนมาก  เพราะมีขนาดที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในขณะนี้
เรื่องของการจดสิทธิบัตรไหมสีชมพู


สำหรับการจดสิทธิบัตรไหมสีชมพูที่เราค้นพบขึ้นมาในปัจจุบันนั้น  ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการเพื่อการขอจดสิทธิบัตรของไหมสีชมพูที่เราค้นพบเป็นมหาวิทยาลัยแรกของประเทศ



ฝากอะไรถึงผู้ที่สนใจเลี้ยงไหมอย่างไร

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงานคือ หัวใจ ว่าเรารักงานที่เราทำอยู่นั้นมากแค่ไหน และมีความสนใจที่จะพัฒนางานของของตนเองไปในทิศทางไหน เราจะต้องพยายามที่จะสอบถามผู้ที่มีองค์ความรู้มากกว่าเราอยู่เสมอ แม้กระทั่งเกษตรกรก็สามารถที่จะเป็นครูเราได้ สิ่งที่เราไม่พอ เราต้องพยายามจะเติมเต็มองค์ความรู้ของเราอยู่เสมอ ไม่ว่าจะโดยวิธีการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ อบรมสัมมนา หรือการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกับชาวบ้านที่เขามีประสบการณ์ตรงในการเลี้ยงหม่อน เลี้ยงไหมมาก่อนเรา แล้วเราก็สามารถนำเอาองค์ความรู้ที่ได้มาเหล่านั้น นำมาปรับปรุงสายงานตนเองให้ดียิ่งขึ้นต่อไป หัวใจหลักในการทำงานอะไรก็ตามนั่นคือ หัวใจที่รักในงานที่ทำ ที่คือหัวใจสำคัญของความสำเร็จต่อไป


Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล

Related Posts