กว่า 22 ปีของความเป็นเลิศทางวิชาการที่บ่มเพาะ ผลิตนายช่างวิศวกร จากรุ่น สู่รุ่น ที่มีคุณภาพของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นอีกหนึ่งคณะที่มุ่งพัฒนาผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพภายใต้การจัดการเรียนการสอน หลักสูตรที่ทันสมัยตามเกณฑ์คุณภาพ มาตรฐานสากล มุ่งพัฒนาการวิจัย และสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรมที่สร้างคุณค่าให้ชุมชน และสังคม ภายใต้การดูแลของ รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติศักดิ์ ศรีประทีป คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ความเป็นมาของคณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับการจัดตั้งเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2542 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2542 ต่อมาเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 ได้รับการเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปรับปรุงระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยคณะวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2548 โดยได้รับการจัดตั้งเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีหน้าที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยไม่เป็นส่วนราชการ มีหน้าที่จัดการศึกษาทำนองเดียวกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดำเนินงานในรูปแบบการบริหารที่เน้นความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และพึ่งตนเองให้มากที่สุด
กล่าวถึงการเรียนการสอนในภาพรวมของคณะวิศวกรรมศาสตร์
สาขาวิชาที่จัดการเรียนการสอนในคณะ มีระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ดังนี้
สาขาวิชาที่จัดการเรียนการสอนในคณะ มีระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ดังนี้
ระดับปริญญาตรี
เปิดสอนในระดับปริญญาตรี 7 สาขา ได้แก่
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
สาขาวิชาวิศวกรรมชีวภาพ
สาขาวิชาวิศวกรรมเมคาทรอนิกส์
สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
และ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ต่อเนื่อง ได้แก่
สาขาวิชาวิศวกรรมปฏิบัติ(ต่อเนื่อง)
ระดับปริญญาโท
เปิดสอนในระดับปริญญาโท 3 สาขา ได้แก่
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
ระดับปริญญาเอก
เปิดสอนในระดับปริญญาเอก 3 สาขา ได้แก่
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
จุดเด่นของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ในส่วนของสาขาวิชา สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นจุดเด่นสำคัญของคณะวิศวกรรมศาสตร์ คือคณาจารย์ที่มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้าน เฉพาะสาขา และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกมากกว่า 80 % และมากกว่า 75 % ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นที่เป็นตัวรับประกันของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบ เต็มความสามารถที่มีอยู่ เพื่อประสิทธิ์ ประสาทความรู้ ให้กับนิสิตของคณะวิศวกรรมศาสตร์ทุกชั้นปี ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของคณะ และของมหาวิทยาลัยที่ตั้งเป้า
และอีกจุดเด่นของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่มีความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง คือเรามีการเปิดการเรียน การสอน ในสาขาวิชาวิศวกรรมปฏิบัติเพิ่มขึ้น โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของระดับปริญญาตรี มีการจัดการเรียนการสอน 4 ระบบ ได้แก่
- ระบบ 1-2 คือ ระบบปกติ และระบบพิเศษ ซึ่งคณะจะรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
- ระบบที่ 3 คือ ระบบพิเศษ (เทียบเข้า) ซึ่งจะรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. หรือเทียบเท่า
- ระบบที่ 4 คือ ระบบพิเศษ (ต่อเนื่อง) ซึ่งรับ ปวส.หรือเทียบเข้า หรือผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี
ซึ่งถือได้ว่าเป็นสาขาน้องใหม่ไฟแรงมากที่สุดอีกสาขาหนึ่ง ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีการเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยการจัดการเรียนการสอนสาขานี้ จะเน้นสำหรับคนที่ทำงานแล้ว ที่มีวุฒิการศึกษาระดับ ปวส. และต้องการเรียนเพิ่มเติม เราจึงเปิดสาขานี้เพิ่มขึ้นมาสำหรับการรองรับกลุ่มนิสิตเหล่านี้ โดยจะมี 2 กรณีคือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส.กลุ่มที่มีงานทำอยู่แล้วมาเรียนเพิ่มอีก 2 ปี ก็จะได้ปริญญา วศ.บ.สาขาวิชาวิศวกรรมปฏิบัติ (ต่อเนื่อง) ส่วนกรณีผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีมาเรียนเพิ่มอีก 1 ปี ก็จะได้รับปริญญาในสาขานี้เช่นกัน
อีก 1 กรณี ซึ่งกรณีแรกจะเป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานเดิมอยู่แล้ว กลุ่มนี้จะสำเร็จการศึกษาในระดับ ปวส. สามารถเรียนวิชาพื้นฐานที่คณะ ทั้งนี้สามารถไปเรียนที่หน่วยงานของตัวเองต่อได้ และหลังจากนั้นจะมีอาจารย์ผู้สอนไปควบคุมการจัดทำโครงงานต่างๆ ตามงานของแต่ละคนที่ทำ ณ บริษัทที่ทำงานอยู่ และอีกส่วนหนึ่งคือ คณะได้รับทุนจากกระทรวงฯในการให้ทุนเรียนกับนิสิตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมีบริษัทชั้นนำระดับประเทศ มีการทำความร่วมมือร่วมกันกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นิสิตสามารถสมัครรับทุนจากคณะ และหลังจากนั้น สามารถไปทำงานในบริษัทที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทำความร่วมมือร่วมกับบริษัทเอกชนเหล่านั้นได้เป็นต้น
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มุ่งเน้นหลักสูตรใดเป็นพิเศษ
ในแต่ละหลักสูตรก็จะมีจุดเด่นเฉพาะสาขาวิชาอยู่แล้ว เราไม่สามารถเน้นหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งเป็นพิเศษได้ อย่างเช่น วิศวกรรมเมคาทรอนิกส์ ก็จะเรียนเฉพาะด้านโดยการสร้าง หรือควบคุมหุ่นยนต์ต่างๆ เพื่อที่จะไปทำงานในบริษัทที่มีระบบ Automation ต่างๆ
อาชีพที่รองรับเมื่อนิสิตสำเร็จการศึกษา
ถามว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ไปแล้วนั้น จะไปประกอบอาชีพอะไร เป็นคำถามที่สามารถหาคำตอบได้ง่าย แน่นอนนิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์มีการผลิตนิสิต หรือเรียกกันง่ายๆ ว่านายช่างที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะด้าน โดยมีรางวัลจากการประปวดเวทีระดับประเทศ รับรองมากมายหลายต่อหลายรุ่น ซึ่งหลายคนมีโอกาสเข้าไปทำงานในบริษัทเอกชน หลายคนสามารถสอบเข้าไปทำงานในหน่วยงานราชการ หรือหลายคนสามารถ ออกไปประกอบธุรกิจของตนเอง เรามีสาขาวิชาการต่างๆ ที่รองรับกับความต้องการเหล่านี้ ให้เรียนรู้ เพื่อตอบโจทย์ของตัวเองได้เป็นอย่างดีเยี่ยม สำหรับนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปัจจุบันสาขาวิชาที่เปิดสอน เป็นที่ต้องการ หรือขาดแคลนของตลาดในสายอาชีพนี้ หรือไม่
เมื่อเทียบกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ถือว่าตลาดยังมีคามต้องการ และยังขาดแคลนบุคลากรด้านวิศวกรรมในสาขาต่างๆ จำนวนมาก เมื่อปีการศึกษาที่ผ่านมา คณะมีการสำรวจนิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามนั้น เมื่อเทียบเป็น % ที่สำเร็จการศึกษาออกไปแล้วมีงานทำ เกือบ 100 % เต็ม เมื่อเทียบจาก % นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ถือได้ว่าสูงมาก มากว่า 80 % ที่มีงานทำ ขนาดเราต้องเจอกับสภาวะเศรษฐ์ของกิจเช่นนี้ ถือได้ว่านิสิตของมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีงานทำ 100 % เต็ม ถ้าไม่เลือกงาน
โดยคณะต้องการให้นิสิต ที่สำเร็จการศึกษากับเรามีงานทำมากที่สุด มหาวิทยาลัยมีการให้ความรู้เพิ่มเติมกับนิสิต เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการ เช่น นิสิตได้ไปทำงานในบริษัทเอกชน และรู้สึกว่าไม่เป็นตัวของตัวเองก็สามารถ นำองค์ความรู้ วิชาที่เรียน ไปทำแผนธุรกิจ และหาวิธีการในการประกอบอาชีพอิสระได้เช่นเดียวกัน
คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อที่คณะ
คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องชอบการคำนวณ อยู่บ้างเป็นทุนเดิม ในสายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ถือว่าเป็นหัวใจหลักสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อนักเรียนเข้ามาเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 จะต้องเข้ามาเรียนวิชาพื้นฐานในกลุ่มของ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ค่อนข้างมาก หลังจากนั้นพอผ่านวิชาพื้นฐานไปในระดับชั้นปีที่ 2 – 3 ก็จะเริ่มเข้าสู่ในสายวิชาชีพของตนเองที่เลือก เพราะฉะนั้นผู้ที่มีความสนใจจะสมัครเข้ามาเป็นนักศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะต้องสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยผ่านระบบ Admission, โควตา, โครงการของคณะฯ, รับตรง ระบบปกติ และระบบพิเศษ สำหรับระบบพิเศษ (เทียบเข้า) รับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. หรือเทียบเท่า
(หมายเหตุ) ระบบพิเศษ (เทียบเข้า) มีรายวิชาเทียบโอนที่ไม่ต้องลงทะเบียนเรียนประมาณ 25 หน่วยกิจ
โครงการดีๆ ของคณะที่อยากแนะนำให้ผู้ที่สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อ
เรามีการเปิดการเรียนการสอนในสาขาวิศวกรรมปฏิบัติ (ต่อเนื่อง) โดยมุ่งเน้นการเรียนการสอน เพื่อการศึกษาออกแบบ ประดิษฐ์ วิเคราะห์ วิจัย และวางแผนงานด้านวิศวกรรมปฏิบัติ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับทรัพยากร สภาพแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมไทยโดยหลักสูตรดังกล่าวเป็นไปตามข้อกำหนดหลักสูตรระดับปริญญาตรี ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีความทันสมัย และมีเนื้อหารายวิชาครบถ้วน
ซึ่งเป็นโครงการที่ดีมากอีกหลักสูตรหนึ่งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับกาตอบรับการมีผู้สมัครเข้ามาเรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสาขาที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส แล้วไปทำงาน เพื่อหาประสบการณ์ก่อน มีโอกาสเข้ามาศึกษาในสายวิศวกรรม ในระดับปริญญาตรีต่อได้ ซึ่งเป็นสาขาเชิงรุก ณ ปัจจุบันเรายังเปิดรับสมัครนักศึกษา ที่สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. หรือผู้ที่ทำงานในบริษัท มีความสนใจที่จะเข้ามาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นหลักสูตรเทียบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สามารถสมัครเข้ามาศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีการให้โควตาสำหรับนักเรียนอย่างไร
สำหรับโควตา ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีโควตาของเด็กดีมีที่เรียน และรอบ Portfolio ที่ผ่านมา เรามีการให้โควตา จำนวนมาก อาทิ ณ ปัจจุบันทางคณะมีการจัดโครงการประกวดโครงงานสำหรับเด็กระดับมัธยมตอนปลายสำหรับโรงเรียนต่างๆ ที่มีโครงงานอยู่แล้ว และสามารถส่งโครงงานเข้าร่วมประกวด และถ้าผ่านการคัดเลือก ก็จะสามารถนำเก็บไปยื่นในรอบ Portfolio ในปีถัดมาสำหรับกรณีที่ต้องการจะเข้ามาเป็นนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นี่ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เรามอบโอกาสทางการศึกษาให้กับน้องๆ นักเรียนที่สนใจ
ณ ปัจจุบันคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีทุนการศึกษาหลากหลายประเภท สำหรับนิสิตปริญญาตรีตั้งแต่ 1,000 บาท ไปจนถึง 20,000 บาท เช่น ทุนกูยืมเพื่อการศึกษา ทุนจากหน่วยงานรัฐ และเอกชน ทุนภูมิพล ทุนเครือเจริญโภคภัณฑ์ ทุนการศึกษามูลนิธินิวัติไกรฤกษ์ ทุนเงินรายได้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทุนเงินรายได้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มอบให้นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง น้องๆ นักเรียนที่จะเข้ามาศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ต้องกังวลในเรื่องของทุนการศึกษาแต่อย่างใด
หลักสูตรนานาชาติมีหลักสูตรใดบ้าง
---
ฝากประชาสัมพันธ์หลักสูตรของคณะถึงผู้ที่สนใจจะเข้าศึกษาต่อ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ถือว่าเป็นบ้านหลังที่สอง สำหรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมาแล้วนั้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีความพร้อมในการประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้อย่างสมบรูณ์แบบ อีกทั้งเรายังมีอุปกรณ์ เครื่องมือที่ทันสมัยครบครัน อาจารย์ผู้สอนมีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพราะอาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก จากหลายสถาบัน พร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ และประสบการณ์ ให้กับนิสิตทุกคน ตลอดจนมีการให้บริการวิชาการแก่ผู้ที่สนใจทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรามีความพร้อมมากที่สุด โดยมีการการันตีได้จาก อาจารย์ และนิสิตของคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สร้างผลงาน สร้างชื่อเสียง คว้ารางวัลนะเลิศจากหลายเวทีระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ผลิตบัณฑิตออกไปอย่างมีคุณภาพออกสู่สังคมอย่างสมบูรณ์แบบ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เบอร์โทรศัพท์ : 0-4375-4321 - 40 ต่อ 3010-3058
โทรสาร : 0-4375-4316
e-mail : engineer@msu.ac.th.