มมส ประดิษฐ์รถเกี่ยวนวดข้าวแบบต่อพ่วงรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก และคว้ารางวัลชนะเลิศจากผลงาน ด้วยผลงาน “รถเกี่ยวนวดข้าวแบบต่อพ่วงรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก” จากงานเกษตรแฟร์ ปี 2563โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทนงศักดิ์ มูลตรี คณะเทคโนโลยี ผู้เป็นเจ้าของผลงานวิจัย 
ที่มาของผลงานวิจัย



ถามว่า ทำไมเราจึงต้องประดิษฐ์ผลงานวิจัยขึ้นมา สิ่งที่มีอยู่แล้วมีความแตกต่างกันอย่างไร หลายคนจะสงสัยว่ามันแตกต่างกับของที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างไร และมันดีกว่ากันอย่างไร เราลงพื้นที่เกษตรกรในหลายพื้นที่ เวลาการเก็บเกี่ยว ก็มีการจ้างรถเกี่ยว ไม่ว่าจะเป็นภาคกลาง ภาคอีสาน เป็นต้น ในแต่ละพื้นที่ก็ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน เกษตรกรพิจารณาว่าค่าจ้างรถเกี่ยวข้าวมีราคาแพงมากเกินไป แล้วเราจะทำอย่างไร ซึ่งเรามีเครื่องจักรอยู่แล้ว มีรถไถนาเล็กๆ อยู่แล้ว เราเลยมาพิจารณาว่าเราจะทำอย่างไรดี ถ้าเรามีของเหล่านี้อยู่แล้ว เลยคิดว่าจะประดิษฐ์อุปกรณ์เสริมสิ่งที่มีอยู่แล้ว เวลาเราไปเกี่ยวข้าวเราสามารถถอดอุปกรณ์ตัวนี้ออกได้ ถอดทำความสะอาดได้ และที่สำคัญเป็นการลดต้นทุนของเกษตรกร


วัตถุประสงค์ในการจัดทำผลงานวิจัยชิ้นนี้
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้คือ เราทำขึ้นเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ของเกษตรกร และที่สำคัญที่สุดที่ได้ไปลงพื้นที่จะพบเห็นเกษตรกร ทำเกษตรอินทรี เกษตรปลอดสาร ถ้าเราใช้รถเกี่ยวข้าว ที่รับจ้างเกี่ยว รับจ้างเกี่ยวทั่วไปคืออย่างไร สมุดว่าเกษตรกรที่อยู่แถวภาคกลาง จะมีข้าวสุพัน ข้าวประทุม เป็นต้นเวลาเกี่ยวเสร็จเขาจะไม่ล้างเอาเศษต่างๆออกจากเครื่องเกี่ยวข้าว แล้วเขาก็นำมารับจ้างเกี่ยวข้าวแถวบ้านเราต่อ จะสังเกตได้ว่าสมัยก่อนข้าวทำไมมีกลิ่นหอมมาก แต่ปัจจุบันข้าวใหม่กลิ่นทำไม่หอมเหมือนเดิม ส่วนหนึ่งมาจากการผสมพันธ์ระหว่างข้าวพันธ์ต่างๆ 
และถ้าเกษตรกรมีเกี่ยวที่เราประดิษฐ์ขึ้นมาที่เป็นผลงานวิจัยในครั้งนี้ การปนเปื้อนของเมล็ดข้าวที่จะข้ามสายพันธ์ของข้าวอย่างชัดเจน ที่สำคัญเกษตรกรใช้เครื่องเกี่ยวข้าวของเราสามารถออดประกอบล้างทำความสะอาด ได้ง่าย โอกาสของการปนเปื้อนของเมล็ดพันธ์ก็มีน้อยมาก ราคาไม่แพง สามารถดูแลจัดการได้ เพื่อเป็นการลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี



จุดเด่นของเครื่องเกี่ยวข้าว
จุดเด่นของเครื่องเกี่ยวข้าวที่เราประดิษฐ์ขึ้นมานี้ คือคณะกรรมการ ทั้งผู้ประกอบการ และทางสมาคมเครื่องจักรกล เห็นจุดเด่นของผลงานของเราคือ เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเกษตรกร การบำรุงรักษาที่ง่าย และชิ้นส่วนประกอบมีขายตามตลาดทั่วไป สามารถหาซื้อได้ง่าย เพราะถ้าเราประดิษฐ์สิ่งที่ไฮเทคโนโลยี เกษตรกรยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย แต่เครื่องที่เราประดิษฐ์ขึ้นมานั้น เกษตรกรสามารถเข้าใจได้ง่าย สามารถถอด และประกอบเองได้ สามารถซ่อมบำรุงรักษาเองได้ สามารถหาซื้ออุปกรณ์ซ่อมบำรุงเปลี่ยนแปลงเองได้ง่าย งานประดิษฐ์เครื่องเกี่ยวข้าวและนวดข้าวของเราจึงเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะกับกลุ่มเกษตรกรอย่างมาก



งบประมาณในการประดิษฐ์เครื่องเกี่ยวข้าวฯ
เครื่องเกี่ยวข้าวที่เราผลิตขึ้นขนาด 1.20 เมตร เป็นเครื่องเกี่ยวข้าวและนวดข้าวในตัวเครื่อง ในราคาที่ถูกมากท่านใดสนใจติดต่อสอบถามมายังคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ในเวลาราชการ

นำผลงานวิจัยลงสู่ชุมชนอย่างไร
ชุมชนที่เราเข้าไปทำการทดลองเครื่องเกี่ยวข้าวนี้ ที่สั่งให้เราผลิตเครื่องเกี่ยวข้าวส่วนใหญ่อยู่ที่จังหวัดสุรินทร์ที่ปลูกข้าวอินทรีย์ ทำไมเกษตรกรที่สุรินทร์จึงสั่งเครื่องเกี่ยวข้าวของเรา เพราะเกษตรกรกลัวมีการปนเปื้อนข้าวข้ามสายพันธ์ 


ผลตอบรับจากเกษตรกร
เราได้รับการตอบรับจากเกษตรกรเป็นอย่างดี จากที่เรารับจำนวนการผลิต ณ ปัจจุบัน มีจำนวนกว่า 50 รายที่ทำการสั่งให้เราผลิตเครื่องเกี่ยวข้าวและนวดข้าวให้ เพราะว่าเกษตรกรบอกว่าเครื่องเกี่ยวข้าวของเราเป็นเครื่องขนาดเหมาะแก่การใช้งาน ไม่ใหญ่มากจนเกินไป ที่สำคัญราคาไม่แพง ดูแลรักษาง่าย มีอะไหล่ที่หาซื้อได้ตามท้องตลาด ตอบโจทย์การเกี่ยวข้าว และนวดข้าวของเกษตรกรตรงตามวัตถุประสงค์



กำลังในการผลิตเครื่องเกี่ยวและนวดข้าว
ในส่วนของการผลิต เรามีผู้ช่วยวิจัย และนิสิตเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลการผลิต ถ้าในอนาคตจะมีการสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น คงต้องให้บริษัทเข้ามาเป็นผู้ผลิต แต่ต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย และขณะนี้มีหลายบริษัทที่เข้ามานำเสนอในหลายข้อกำหนด ว่ามหาวิทยาลัยต้องการให้บริษัทผลิตให้เองทั้งหมดหรือไม่ หรือจะขอซื้อเพียงลายเส้นจากมหาวิทยาลัย (สิทธิบัตร)


ผลงานวิจัยชิ้นนี้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายใดเป็นพิเศษ
ถามว่าพิเศษมั้ย ต้องถามกลุ่มเกษตรกรคือผู้ที่ทำนาดอน นาดอนกับนาลุ่มแตกต่างกันอย่างไร นาดอนจะเห็นว่าอีสานจะเป็นนาดอนที่สูง พอนาที่สูงนั้นมีคันนาในการกักเก็บน้ำ แล้วคันจะใหญ่จึงเหมาะกับเครื่องเกี่ยวข้าวและนวดข้าวของเราอย่างมาก นาลุ่มจะมีน้ำขลังจึงไม่เหมาะกับการใช้งานกับเครื่องเกี่ยวข้าวที่เราประดิษฐ์ขึ้นมา

ปัญหาและอุปสรรค์
ผลงานวิจัยหลายย่างที่ในบางครั้งเราลงพื้นที่ไปทดลองเกี่ยวข้าว หลายๆ แห่งก็จะมีน้ำขังจำนวนมาก ทำให้เราไม่สามารถนำเครื่องเกี่ยวข้าวและนวดข้าวของเราลงไปทำการทดลองได้ เพราะเครื่องเกี่ยวข้าวและนวดข้าว ของเราเหมาะสำหรับนาดอน ไม่เหมาะสำหรับนาลุ่ม เพราะเนื่องจากว่าเราใช้ล้อยางไม่ใช่ล้อตีนตะขาบจึงไม่สามารถนำเครื่องเกี่ยวข้าวลงเกี่ยวข้าวในที่มีน้ำ เลยทำให้งานวิจัยของเราล่าช้า



แนวทางในการพัฒนาเครื่องเกี่ยวข้าว
เรามีแนวทางในการพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยเรามีการคุยร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อที่จะให้ผู้ประกอบการผลิตเครื่องเกี่ยวข้าวและนวดข้าวให้ได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น ก็จะสามารถแก้ปัญหาทั้งนาดอน และนาลุ่มได้อย่างตรงความต้องการของเกษตรกร

มหาวิทยาลัยมหาสารคามสนับสนุนอย่างไร
ต้องขอขอบคุณทางคณะเทคโนโลยี และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ช่วยสนับสนุนหลายด้าน ส่วนของห้องทดลอง นิสิต และผู้ช่วยวิจัย แปลงนาที่เราใช้ทำการทอดลองเครื่องเกี่ยวข้าวคือ แปลงนาที่นาสีนวนที่เป็นพื้นที่ในการทดสอบงานวิจัย



ฝากอะไรถึงนักวิจัยรุ่นใหม่
งานวิจัยไม่ใช่ว่า ทำวันนี้พรุ่งนี้เห็นผล เราทำมาหลายปีมาก กว่าจะได้มาซึ่งความสำเร็จ อยากให้นักวิจัยทุกท่านอดทนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ท้อได้แต่อย่าถอย

คติในการทำงาน
คืออดทน ตั้งใจ และมุ่งหวังเหมือนที่มหาวิทยาลัยพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน

Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล

Related Posts