ปัจจุบันกระแสการดูแลสุขภาพด้วยวิธีธรรมชาติกำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย เนื่องจากผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สมุนไพรซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น จึงกลายเป็นวัตถุดิบสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท ทั้งในด้านการแพทย์ เครื่องสำอาง อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ
ประเทศไทยมีความได้เปรียบในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สมุนไพรท้องถิ่นหลายชนิดมีสรรพคุณทางยาและคุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและสากล งานวิจัยเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรจึงมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคามก็เร่งทำการวิจัยการผลิต ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ส่งเสริมให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตเป็นสินค้าจำหน่ายในชุมชน และผลักดันสู่ตลาดระดับจังหวัดระดับประเทศอย่างยั่งยืน ภายใต้การดูแลของ อ.ดร.อิสราภรณ์ สมบุญวัฒนกุล อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ชื่อโครงการ
การผลิต ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร / ดร.อิสราภรณ์ สมบุญวัฒนกุล
กล่าวถึงที่มาของงานวิจัย
เนื่องจากทางภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มีหน่วยวิจัยหน่วยวิจัยนวัตกรรมสารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติ ซึ่งผู้วิจัยสังกัดหน่วยวิจัยนี้ มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพืชสมุนไพรหลายชนิด เพื่อการนำสาระสำคัญมาใช้ประโยชน์ในการผลิตอาหาร เครื่องสำอาง และยารักษาโรค และทางภาควิชาเองก็ได้มีการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร สารให้สี และสารผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ รวมถึงการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ได้แก่ สบู่ แชมพู เจล ล้างหน้า สเปรย์น้ำแร่บำรุงผิวหน้า และครีมอาบน้ำเป็นต้น จึงได้มีการศึกษาและพัฒนาสูตรการทำสบู่สมุนไพรหลายสูตร เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของผู้บริโภค
สมุนไพรที่เลือกนำมาใช้ในการทำสบู่คืออะไร
ใบบัวบก มะขามป้อม เปลือกมังคุด กระเจี๊ยบ ต้นเชือก และฟ้าทะลายโจร เพราะอะไรถึงเลือกสมุนไพรชนิดนี้ เนื่องจาก"สมุนไพรเหล่านี้มีสารต้านอนุมูลอิสระ และบางชนิดมีสารต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสที่ทำให้ผิวหมองคล้ำ จึงทำให้ผิวกระจ่างใสขึ้น" มีวิตามินซีช่วยให้ผิวกระจ่างใส และสมุนไพรสามารถหาได้จากไหน ส่วนใหญ่สามารถหาได้ในท้องถิ่น บางชนิดก็เป็นวัสดุเหลือทิ้ง เช่น เปลือกมังคุดที่เราทาน
วัตถุดิบสมุนไพรที่เลือกใช้มีความพิเศษหรือแตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อย่างไร
มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีสารต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส และวิตามินซี จึงช่วยทำให้ผิวกระจ่างใส
กระบวนการผลิตและคุณสมบัติสบู่สมุนไพรมีส่วนผสมสำคัญอะไรบ้าง?
สกัดสมุนไพรที่สำคัญ จากนั้นนำมาผสมกับเบสสบู่ ด้วยการใช้ไมโครเวฟเป็นตัวช่วยในการหลอม ส่วนผสมสำคัญ คือ เบสสบู่ สารสกัดสมุนไพร น้ำผึ้ง น้ำหอม แต่งสี (ส่วนใหญ่ใช้สีธรรมชาติจากสมุนไพร)
จุดเด่น คุณสมบัติ ของสบู่สมุนไพรมีข้อดีต่อสุขภาพผิวเมื่อเทียบกับสบู่ทั่วไปอย่างไร?
จุดเด่น ผิวกระจ่างใส อ่อนโยนต่อผิวหน้า และผิวกาย
คุณสมบัติ ช่วยในการชำระล้างอย่างล้ำลึก ให้ความชุ่มชื้นกับผิว ผิวกระจ่างใส
กลุ่มเป้าหมายของสบู่สมุนไพรคือใคร?
ผู้มีปัญหา ผิวแห้ง ผิวหมองคล้ำ
ในอนาคตมีแผนที่จะพัฒนาสูตรสบู่สมุนไพร อย่างไร?
พัฒนาสูตรสบู่สำหรับผู้มีปัญหาด้านผิวหนังแพ้ง่าย ลดผื่นคัน ช่วยลดริ้วรอยที่เกิดขึ้นจากอาการแพ้
การผลิตสบู่สมุนไพรช่วยสนับสนุนเกษตรกรหรือชุมชนในพื้นที่อย่างไร?
ส่งเสริมให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตเป็นสินค้าจำหน่ายในชุมชน และผลักดันสู่ตลาดระดับจังหวัดระดับประเทศ
เช่น วิสาหกิจชุมชนเกษตรยั่งยืนซำสูง จ.ขอนแก่น ทางผู้วิจัยได้ไปถ่ายทอดการทำสบู่สมุนไพรชาร์โคล ปัจจุบันได้เป็นสินค้าโอทอป ระดับ 5 ดาว ประจำปี 2567 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ต.เขวาไร่ อ.นาเชือกจ.มหาสารคาม ได้ไปส่งเสริมให้ทำสบู่จากสารสกัดต้นเชือก เพื่อบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวกระจ่างใส เพื่อเป็นสินค้าเอกลักษณ์ของ อ.นาเชือก ตอนนี้อยู่ในช่วงการทดลองตลาด และขยายการผลิตต่อไป
มีความร่วมมือกับหน่วยงานหรือองค์กรใดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือไม่?
ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณสุข จ.ขอนแก่น ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน เพื่อการขอเลขจดแจ้ง
ปัจจุบันมีการนำผลิตภัณฑ์ไปทดลองใช้แล้วหรือไม่ อย่างไร
ปัจจุบันมีการแจกให้นิสิต และผู้สนใจได้นำไปทดลองใช้
ผลตอบรับจากผู้ที่ใช้สบู่เป็นอย่างไรบ้าง
สำหรับผลตอบรับจากผู้ที่ทดลองใช้สบู่แล้วนั้น จะมีความชอบในระที่ดับมาก
ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานอย่างไรบ้าง
ปัญหาของการทำงานวิจัยในครั้งนี้คือ ความพร้อมทางด้านสถานที่หากต้องขอมาตรฐาน หรือขอเลขจดแจ้ง
ฝากอะไรถึงนักวิจัยรุ่นใหม่อย่างไรบ้าง
ปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับพืชสมุนไพรใหม่ๆ เป็นจำนวนมาก จึงสามารถนำผลการวิจัยมาต่อยอดเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง และช่วยแก้ปัญหาให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคได้ รวมถึงสมุนไพรใกล้ตัวที่มีอยู่เราก็อาจจะพัฒนาสูตรให้ตอบโจทย์ของผู้บริโภคได้ สามารถสร้างงานสร้างอาชีพให้กับชุมชนได้ ทั้งส่วนของผู้ปลูก ผู้ผลิต และผู้ที่จะนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่าย
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ไหน
ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เบอร์โทร 043 754085