นวัตกรรมใหม่ๆ ในโลกธุรกิจและเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นการผสมผสานความงดงามของภูมิปัญญาไทยกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ กับแนวคิดใหม่ในการพัฒนาระบบขายสินค้าผ้าไทยผ่านการปรับแต่งชุดอวตาร์บนโลกเสมือนจริง เพื่อให้ลูกค้าสามารถสัมผัส และปรับแต่งผ้าไทยบนตัวอวตาร์ที่เสมือนจริงก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้า ในอีกรูปแบบหนึ่งกันนะคะ
      ซึ่งในยุคที่โลกดิจิทัลเข้ามาในมีบทบาท มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเราหลายด้าน การนำเสนอสินค้าบนแพลตฟอร์มเสมือนจริง จึงกลายเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยเสริมประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจผ้าไทยของบ้านเรา ที่จะเข้าถึงผู้คนในหลากหลายกลุ่มได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น และนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงใช้โอกาสนี้พัฒนาระบบขายสินค้าผ้าไทยด้วยวิธีการปรับแต่งชุดอวตาร์บนโลกเสมือนจริง เป็นระบบต้นแบบที่สามารถนำสินค้าผ้าไทยในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ เข้ามาอยู่ในโลกเสมือนจริง (Metaverse) และสามารถปรับแต่งชุดอวตาร์ด้วยการลองชุดเป็นผ้าไทย ได้แก่น ผ้าไหมลายสาเกต จังหวัดร้อยเอ็ด ผ้าไหมลายแคนแก่นคูน จังหวัดขอนแก่น ผ้าไหม ลายสร้อยดอกหมาก จังหวัดมหาสารคาม และผ้าไหมแพรวาลายลวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เป็น Soft power ผ้าไทย และเป็นการเพิ่มช่องทางการขายสินค้าผ้าไทยบนโลกเสมือนจริงให้กับผู้ประกอบการ ภายใต้การดูแลของดร.วรวิทย์ สังฆทิพย์ อาจารย์ภาควิชาสื่อนฤมิต คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



ชื่อโครงการ /ชื่อ-สกุล ผู้รับผิดชอบ
     ชื่อภาษาไทย : การพัฒนาระบบขายสินค้าผ้าไทยด้วยวิธีการปรับแต่งชุดอวตาร์บนโลกเสมือนจริง
     ชื่อภาษาอังกฤษ : Development of an Avatar Customization System for Virtual Thai Textile Product Sales
ผู้วิจัย : อาจารย์ ดร.วรวิทย์ สังฆทิพย์, นางสาวอาริยาภรณ์ โยวะผุย และนายอลงกต อรัญพูล

กล่าวถึงที่มาของงานวิจัย 
      ประเทศไทยมีการกำหนดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพขึ้นมาเป็น Soft Power ของไทย และสร้างเป็นวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 5F หนึ่งในนั้นคือการออกแบบแฟชั่น (Fashion) ซึ่งปัจจุบันผ้าไทยเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่ได้รับความนิยม จากการออกแบบดีไซน์ให้สอดคล้องกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน และหลังจากวิกฤตโควิด-19 ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมมีการรปรับตัวด้วยการเน้นขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น และมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ทั้งในการผลิตและการบริหารจัดการธุรกิจ ประกอบกับการก้าวเข้าสู่ยุคของชุมชนโลกเสมือนจริง (Metaverse) การนำเทคโนโลยีความจริงเสมือนเข้ามาผสานโลกจริงเข้ากับโลกเสมือนจะช่วยเติมเต็มช่องว่างระหว่างการซื้อสินค้าออนไลน์และการซื้อสินค้าหน้าร้าน จึงนำมาสู่การพัฒนาระบบขายสินค้าผ้าไทยด้วยวิธีการปรับแต่งชุดอวตาร์บนโลกเสมือนจริง เพื่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ Soft power ผ้าไทย และเป็นการเพิ่มช่องทางการขายสินค้าผ้าไทยบนโลกเสมือนจริงให้กับผู้ประกอบการ 



อยากให้พูดถึงความโดดเด่นของงานวิจัย 
- ได้นำสินค้าผ้าไทยที่โดดเด่นในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ เข้ามาอยู่บนโลกเสมือนจริง (Metaverse) 
- ผู้ใช้งานสามารถใช้ระบบผ่านแว่น VR ปรับแต่งชุดอวตาร์ด้วยชุดผ้าไทยในรูปแบบ 3D ในโลกเสมือนจริง 
- ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อผ้าไทยในโลกเสมือนจริงได้เลย 
- ผู้ประกอบการในชุมชนมีระบบหลังบ้านที่สามารถตรวจสอบยอดสั่งซื้อได้



ความพิเศษของงานวิจัยเป็นอย่างไร
เป็นระบบต้นแบบที่สามารถนำสินค้าผ้าไทยในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ เข้ามาอยู่ในโลกเสมือนจริง (Metaverse) และสามารถปรับแต่งชุดอวตาร์ด้วยการลองชุดเป็นผ้าไทย ได้แก่น ผ้าไหมลายสาเกต จังหวัดร้อยเอ็ด ผ้าไหมลายแคนแก่นคูน จังหวัดขอนแก่น ผ้าไหม ลายสร้อยดอกหมาก จังหวัดมหาสารคาม และผ้าไหมแพรวาลายลวง จังหวัดกาฬสินธุ์



กลุ่มเป้าหมายของงานวิจัยคือกลุ่มใด
    บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในสินค้าผ้าไทย และผู้ประกอบการสินค้าผ้าไทย

ปัจจุบันมีการนำงานวิจัยไปทดลองใช้แล้วหรือไม่ อย่างไร
    ได้นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัย ผลการตอบแบบสอบถามความมถึงพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด และวางแผนกำลังจะขยายไปสู่กลุ่มผู้ประกอบการผ้าไทยในจังหวัดมหาสารคามต่อไป



ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานอย่างไรบ้าง
- โปรแกรมและเครื่องมือที่ใช้มีการอัปเดตอยู่เรื่อย ๆ ทำให้ต้องศึกษาการใช้งานหรือการตั้งค่าเครื่องมืออยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้สามารถทำงานต่อไปได้
- ประสบการณ์ของผู้ใช้งานผ่าน VR Headset ในระบบโลกเสมือนจริง ยังใช้งานไม่ค่อยคล่อง



งานวิจัยชิ้นนี้เราจะมีการพัฒนาไปในทิศทางใดได้บ้าง อย่างไรในอนาคต
    จะนำระบบระบบโลกเสมือนจริง ที่พัฒนาให้สามารถใช้งานได้ผ่าน VR Platform อื่นๆ เพิ่มเติมจาก VR Headset เช่น ใช้งานผ่านเว็บไซต์ Spatial.io ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานมีช่องทางในการใช้ระบบเพิ่มมากขึ้น

ในมุมมองของอาจารย์คิดว่างานวิจัยลงสู่ชุมชนมีความจำเป็นและสำคัญอย่างไร 
    งานวิจัยที่ได้โจทย์จากปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน และสามารถนำผลงานจากการวิจัยไปช่วยแก้ปัญหาให้กับชุมชน หรือส่งเสริม ยกระดับสินค้าในชุมชนก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก



เราสามารถนำงานวิจัยลงสู่ชุมชนได้อย่างไรบ้าง และผลตอบรับเป็นอย่างไร
    กำลังจะนำระบบที่ได้จาการวิจัยไปสู่กลุ่มผู้ประกอบการผ้าไทยในจังหวัดมหาสารคามต่อไป 

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ไหน
อาจารย์ ดร.วรวิทย์ สังฆทิพย์ ภาควิชาสื่อนฤมิต คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
อีเมล์ : worawith.s@msu.ac.th



Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล/กราฟิก:คุณปิยะฉัตร ธนภัทรธุวานันท์/ ทีมงานโทรทัศน์

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

Related Posts