จังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีสภาพภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าร้อน (Tropical Savanna Climate) และมีดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกหลากหลายชนิด พืชเศรษฐกิจในจังหวัดนี้เป็นส่วนสำคัญของการเกษตร และสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ โดยเฉพาะมันแกว ถือเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ของจังหวัดมหาสารคาม เนื่องจากมันแกวมีความต้องการน้ำน้อย และสามารถเจริญเติบโตได้ดี เป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนแห้งของภาคอีสาน 


     
       มันแกว (Pachyrhizus erosus) เป็นพืชหัวใต้ดินที่มีรสชาติหวานฉ่ำ และเป็นที่รู้จักกันดีในหลายประเทศแถบเอเชีย และละตินอเมริกา โดยมากมักจะนำมารับประทานสด เป็นผัก หรือผลไม้ อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการบริโภคแบบสดแล้ว มันแกวยังสามารถ นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น การทำ "ไวน์มันแกว" ซึ่งกำลังเป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชเศรษฐกิจ ในหลากหลายพื้นที่ เช่นนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำมันแกวมาแปรรูปในรูปแบบของไวน์ไร้แอลกอฮอล์ ภายใต้การนำของ ผศ.สิริพร ลาวัลย์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 

ที่มาของการทำงานวิจัยและทำไมถึงเลือกใช้มันแกวมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มไวน์ไร้แอลกอฮอล์
       จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ปลูกมันแกวกว่า 2,500 ไร่ ผลผลิตมันแกวต่อปีของเกษตรกรชาวจังหวัดมหาสารคาม มากกว่า 25,000 ตัน เราจึงควรจะสร้างรายได้ให้เกษตรกร ผู้ปลูกมันแกวไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท อีกทั้งเกษตรกรยังมีฐานะยากจน ราคามันแกวตกต่ำ พื้นที่ในการปลูกมันแกวลดลง การพัฒนากระบวนการปลูกมันแกวน้อย มันแกวจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่ไม่เพียงแต่สร้างรายได้ให้กับชุมชนเกษตรกรรมในมหาสารคาม แต่ยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของจังหวัดให้เจริญเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเกษตรแบบพึ่งพิงธรรมชาติ และการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถแข่งขันในตลาดได้ ไวน์มันแกวจึงเป็นตัวอย่างหนึ่ง ของการใช้ประโยชน์จากพืชเศรษฐกิจ อย่างมีนวัตกรรม โดยการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ที่เคยเป็นเพียงอาหาร หรือเครื่องดื่มพื้นฐาน การพัฒนาสินค้าแบบนี้ไม่เพียงจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนเกษตรกร จังหวัดมหาสารคาม แต่ยังช่วยสร้างความยั่งยืนในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารได้เป็นอย่างดี และยังยืนของชุมชนต่อไป



คุณสมบัติของมันแกวมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
     มันแกวเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีประโยชน์ทั้งด้านสุขภาพร่างกาย และผิวพรรณ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังหลายชนิด มันแกว (Pachyrhizus erosus) เป็นพืชหัว ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ นอกจากจะมีรสชาติหวานฉ่ำ กรอบ ยังมีสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย ที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ (ใยอาหารสูง) แคลอรีต่ำ เหมาะสำหรับการควบคุมน้ำหนัก มีวิตามินซีสูง ช่วยลดความดันโลหิต มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ช่วยให้ผิวพรรณดูดี ช่วยรักษาความสมดุลของน้ำในร่างกาย มีสรรพคุณช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็ง ดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และเสริมสร้างสุขภาพกระดูก



ทำไมจึงพัฒนาเครื่องดื่มจากน้ำมันแกวในรูปแบบไวน์ไร้แอลกอฮอร์
       เพราะไวน์เป็นเครื่องดื่มที่มีมูลค่าสูง และในกระบวนการหมักไวน์ แอลกอฮอล์ที่เกิดขึ้นช่วยสกัดสารสำคัญในมันแกว อีกทั้งเพื่อให้ได้เครื่องดื่มที่สามารถดื่มได้ทุกเพศวัย และถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งนำมาทำให้ปราศจากแอลกอฮอลล์จากนั้นจึงได้นำมาทำการคาร์บอเนชั่น เพื่อเป็นเครื่องดื่มแบบสปาร์คกลิ้ง เพื่อให้ได้รสชาติที่แปลกใหม่นวัตกรรมเครื่องดื่มจากมันแกวแนวใหม่ ที่มีชื่อเรียกว่า “ระบือ นอนแอล สปาร์กลิงไวน์ และจิคาซ่า นอนแอล สปาร์กลิงไวน์ ที่มีความร่วมสมัย ดื่มได้ทุกเพศวัย ราคาจับต้องได้สำหรับผู้บริโภคทุกกลุ่ม และที่สำคัญคือมิได้มีประโยชน์ในแง่ของสุขภาพเพียงเท่านั้นแต่ยังส่งผลกับความสวยงามอีกด้วย   
       ซึ่งเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ให้เป็นเครื่องดื่มที่ปราศจากแอลกอฮอล์ โดยการพัฒนาต่อยอดจากไซรัปมันแกวอำเภอบรบือ ซึ่งมีแนวคิดหลัก คือการใช้ประโยชน์จากมันแกว อำเภอบรบือ ที่เป็นพืช GI ของจังหวัดมหาสารคาม เพื่อช่วยเกษตรกรชาวสวนมันแกว ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น จากการค้าขายมันแกวซึ่งจะมีการปลูกตลอดทั้งปีอย่างต่อเนื่องของจังหวัดมหาสารคาม อีกทั้งคุณประโยชน์ของมันแกว มีฤทธิ์เพิ่มภูมิต้านทาน ป้องกันกระดูกพรุน มีสารไฟโตเอสโตรเจนช่วยผิวให้ชุ่มชื้น ลดการสร้างเมลานิน ให้แคลอรีน้อย ปริมาณเส้นใยสูง หัวมันแกวมีองค์ประกอบของน้ำมากถึงร้อยละ 65 จึงมีความสนใจนำมาพัฒนาเป็นเครื่องดื่มในรูปแบบไวน์น้ำมันแกว เพราะในกระบวนการหมักไวน์แอลกอฮอล์ที่เกิดขึ้น จะช่วยสกัดสารสำคัญในมันแกวออกมาได้ในปริมาณมาก และยังเกิดกรดอินทรีย์ที่มีประโยชน์



กลุ่มเป้าหมายของงานวิจัย
เป็นเครื่องดื่มไวน์ ที่สามารถดื่มได้ทุกเพศวัย ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพส่งผลกับความสวยงาม นำมาทำให้ปราศจากแอลกอฮอล์ด้วยความร้อนต่ำ เพื่อยังคงคุณประโยชน์ของมันแกวครบถ้วน

ที่มาของชื่อไวน์มาจากไหน
        สำหรับที่มาของชื่อผลิตภัณฑ์นั้น มาจากแหล่งวัตถุดิบมันแกว อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จึงตั้งเป็นชื่อ “ระบือ นอนแอล สปาร์กลิงไวน์” และ ภาษาสเปนเรียกมันแกวว่า จิคามา (jicama) จึงดัดแปลงให้เข้ากับผลิตภัณฑ์เป็นที่มาของ “จิคาซ่า นอนแอล สปาร์กลิงไวน์”สำหรับที่มาของชื่อผลิตภัณฑ์นั้น มาจากแหล่งวัตถุดิบมันแกว อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม 


ไวน์ไร้แอลกอฮอล์มีความพิเศษอย่างไร
    ความพิเศษของไวน์ไร้แอลกอฮอร์ที่เราทำการวิจัยขึ้นมานี้ จะเป็นเครื่องดื่มที่สามารถดื่มได้ทุกเพศวัย มีประโยชน์ต่อสุขภาพส่งผลกับความสวยงาม นำมาทำให้ปราศจากแอลกอฮอล์ด้วยความร้อนต่ำ เพื่อยังคงคุณประโยชน์ของมันแกวที่ครบถ้วนเราจึงตั้งใจทำไวน์ที่เป็นเครื่องดื่มที่ปราศจากแอลกอฮอล์ ที่สามารถเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้ และที่สำคัญไวน์ที่เราวิจัยขึ้นมานั้นมีความใส สีที่สวย และไร้แอลกอฮอล์ นึกอยากจะดื่มเมื่อไหร่ ตอนไหนก็ดื่มได้ด้วยความสดชื่น และดีต่อสุขภาพ



มหาวิทยาลัยมหาสารคามสนับสนุนอย่างไร
   มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สนับสนุน มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัย เพื่อแก้ไขโจทย์ และปัญหาชุมชนในด้านต่างๆ รวมทั้งนำเอาปัญหา และอุปสรรคของชุมชน มาเป็นโจทย์วิจัยสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ให้เป็นการเพิ่มพลังชุมชนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัย เพื่อช่วยเสริมพลังคนในชุมชนให้สามารถกำหนดปัญหา ความต้องการในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นของตนเองได้ 
 

ผลิตภัณฑ์ไวน์ไร้แอลกอฮอล์พร้อมจำหน่ายหรือไม่
     เรามีการผลิตภัณฑ์ไวน์ไร้แอลกอฮอล์ “ระบือ นอนแอล สปาร์กลิงไวน์” และเครื่องดื่ม “จิคาซ่า นอนแอล สปาร์กลิงไวน์” เป็นผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จสมบูรณ์พร้อมจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจ และยังพร้อมที่จะร่วมทุนการผลิต ตลอดจนเผยแพร่เทคโนโลยีการแปรรูป และผลักดันเป็นสินค้าประจำจังหวัดมหาสารคาม อย่างยั่งยืนต่อไป



ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้อย่างไร
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิริพร ลาวัลย์ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โทรศัพท์ 094-1952562 หรือ 089-2794564

Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล/กราฟิก:คุณปิยะฉัตร ธนภัทรธุวานันท์ และภาพจากงานข่าว

Related Posts