ถ่ายทอดเทคโนโลยีอาหารต้นทุนต่ำในการเลี้ยงไก่ของชุมชน
            นักวิจัย มมส ลงชุมชน ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผสมอาหารต้นทุนต่ำในการเลี้ยงไก่ของชุมชน ให้กับกลุ่มชาวบ้าน ศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.กุดรัง) ตำบลนาโพธิ์ อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม 
ในยุคที่ต้นทุนการผลิตอาหารสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน การพัฒนาแนวทางใหม่ในการผลิตอาหารสัตว์ที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเกษตรกร และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้วิจัย และพัฒนานวัตกรรมใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตอาหารสำหรับไก่ไข่ พร้อมทั้งยังคงคุณค่าทางโภชนาการและประสิทธิภาพการผลิตไข่ในระดับสูง
           ซึ่งการพัฒนาอาหารต้นทุนต่ำนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงไก่ไข่ แต่ยังส่งเสริมความยั่งยืนในกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ โดยการใช้วัตถุดิบท้องถิ่นและเทคโนโลยีขั้นสูงในการสร้างสูตรอาหารที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สำหรับผู้เลี้ยงไก่ไข่ที่ต้องการความคุ้มค่ามากขึ้นในธุรกิจ ภายใต้การนำของ  ผศ.ดร ขนิษฐา เพ็งมีศรี อาจารย์สังกัดคณะเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และรศ.ดร.ทรงศักดิ์ จำปาวะดี นักโภชนศาสตร์สัตว์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม



ที่มาของโครงการ อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้คุณเริ่มทำวิจัยนี้?
          สำหรับการเกษตรในปัจจุบันนั้น เกษตรกรมีอาชีพการทำงาน และการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งการเลี้ยงสัตว์นั้นมีต้นทุนในการซื้ออาหารสำเร็จที่มีราคาสูงมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะปศุสัตว์ต้นทุนค่าอาหารของการเลี้ยงไก่ ซึ่งเป็นต้นทุนกว่า 70% ปกติเกษตรกรจะต้องซื้ออาหารสำเร็จรูปทางการค้ามาเลี้ยงไก่ เพื่อให้ไก่ได้รับโภชนะครบถ้วนแล้วให้ไข่ 

ชื่อโครงการ ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ 
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีอาหารต้นทุนต่ำในการเลี้ยงไก่ของชุมชน

วัตถุประสงค์ในการทำเรื่องนี้
      เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ลดต้นทุนค่าอาหารไก่ และไก่ได้รับโภชนะที่ครบถ้วนพร้อมสำหรับการเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ



รายละเอียดของการผลิตอาหารต้นทุนเป็นอย่างไร
      สำหรับอาหารต้นทุนต่ำ จะเป็นการคำนวณโภชนะแบบเข้มข้น คือจะมีโปรตีน 34% รวมวัตถุดิบอาหารที่เกษตรกรหาซื้อเองได้ยากมากไว้ที่ 8 กิโลกรัม เช่น ไลซีน เมธไธโอนีน แร่ธาตุวิตามินต่างๆ  เมื่อถึงเวลาที่มีความต้องการจะใช้อาหารสำหรับการเลี้ยงไก่ เกษตรกรจะต้องหาแหล่งวัตถุดิบที่เป็นแหล่งให้พลังงาน และสิ่งที่ต้องใช้เป็นส่วนผสมหลักในการผลิตอาหารต้นทุนต่ำในการเลี้ยงไก่ มีข้าวเปลือกบด  ร่ำละเอียด 24 กิโลกรัม ซึ่งเกษตรกรสามารถผลิต หรือหาซื้อได้ในราคาที่ไม่แพงโดยสามารถหาได้ในพื้นที่ของชุมชน นำมาผสมกับอาหารเข้มข้นนี้ ผลที่จะได้ คืออาหารเลี้ยงไก่ที่มีโปรตีน 18% ตามความต้องการของไก่ไข่ พร้อมด้วยแร่ธาตุ วิตามิน พวกแคลเซียม ตรงตามมาตรฐาน 

วัตถุดิบหลักที่จะนำมาผลิตเป็นอาหารต้นทุนต่ำมีการคัดสรรอย่างไร 
    นอกจากวัตถุดิบสำคัญที่นำมาใช้เป็นแร่ธาตุ วิตามิน และสารอาหารที่สำคัญต่อการเลี้ยงไก่ไข่ที่จะมีผลผลิตไข่ที่ได้คุณภาพออกมาแล้วนั้น เรายังใช้ใบกระดินแห้งมาเป็นตัวหลักในการมาประกอบในการผสมลงในการผลิตอาหารต้นทุนตำในการเลี้ยงไก่อีกด้วย และใบกระถินแห้งนั้นจะพบปริมาณโปรตีนที่สูง และสามารถให้สารสีที่ทำให้ไข่มีสีแดงสวย ใบกระถินเป็นทั้งตัวช่วยลดต้นทุน และทำให้ไข่แดงสีสวยด้วย

เทคโนโลยีการผลิตอาหารต้นทุนต่ำสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไก่ในชุมชนได้อย่างไรบ้าง?
         อาหารต้นทุนต่ำนี้ ถูกคำนวนโภชนะตามความต้องการของไก่ระยะให้ไข่โดย รศ.ดร.ทรงศักดิ์ จำปาวะดี นักโภชนศาสตร์สัตว์ ดังนั้นการใช้อาหารโปรตีนเข้มข้น ที่มีต้นทุนต่ำ จะช่วยลดต้นทุนค่าอาหารได้ 28% เมื่อเทียบกับค่าอาหารสำเร็จรูปทางการค้า

การบริหารจัดการในกระบวนการใช้เทคโนโลยีการผลิตอาหารต้นทุนต่ำสำหรับการผลิตไก่ในชุมชนมีความสำคัญอย่างไร?
        สำหรับในขั้นตอนการผลิตนั้นไม่มีความซับซ้อน เพียงแต่การคำนวณสัดส่วนของวัตถุดิบอาหารต้องเป็นไปตามสูตรอาหารที่กำหนด โครงการเรามองว่า หากกลุ่มเกษตรกรมีการเลี้ยงไก่ไข่มาก การผลิตอาหารโปรตีนเข้มข้นต้นทุนต่ำนี้ จะสามารถยกระดับเกษตรกรที่มีความพร้อม จากผู้ใช้ เป็นผู้ผลิตอาหารโปรตีนเข้มข้นต้นทุนต่ำ เพื่อจำหน่ายให้กับสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้มีรายได้หมุนเวียนได้ โดยทาง มมส เราก็พร้อมจะเป็นที่ปรึกษาตลอด



โอกาสที่งานวิจัยจะมีการสร้างการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างไร?
        หากมีการสร้างกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ มีผู้ผลิตอาหารโปรตีนเข้มข้นต้นทุนต่ำ มีตลาดไข่รองรับ ก็จะเกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในชุมชน ชุมชนลดการพึ่งพาอาหารสำเร็จรูปลงได้ ลดต้นทุนค่าอาหารได้ ส่งผลให้ส่วนต่างรายรับ รายจ่าย มากขึ้น ได้กำไรมากขึ้น 



ผลจากการใช้เทคโนโลยีการผลิตอาหารต้นทุนต่ำในการผลิตไก่ที่ท่านเห็นว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคืออะไร?
        ส่วนสำคัญของการใช้เทคโนโลยีอาหารต้นทุนต่ำประกอบด้วย 2 ส่วน คือการผลิตอาหารเข้มข้นต้นทุนต่ำนี้ ต้องประกอบสูตรเป็นไปตามสัดส่วนที่กำหนด ส่วนที่ 2 คือการใช้ ปกติอาหารสำเร็จรูป เกษตรกรซื้อมา สามารถตักใช้ได้เลย หรืออาจผสมกับเศษอาหาร อาหารธรรมชาติได้เลย แต่อาหารโปรตีนเข้มข้นต้นทุนต่ำ เกษตรกรต้องเตรียมวัตถุดิบมาผสมต่อ เช่นข้าวเปลือกบด ซึ่งอาจเพิ่มขั้นตอนการทำงานขึ้นอีก  (และเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มใด ) ดังนั้น กลุ่มเป้าหมายที่จะใช้เทคโนโลยีนี้คือ ต้องเข้าใจความสำคัญของโภชนะในอาหารไก่ไข่ และมีแหล่งอาหารพลังงาน เช่นข้าวเปลือกบด หรือรำ ที่พร้อมใช้  ... แต่จากที่สอบถามเกษตรกร ก็พบว่า มีทั้งกลุ่มที่สะดวกผสม และไม่สะดวกผสมค่ะ 


ปัจจุบันมีการใช้นำงานวิจัยนี้ลงสู่ชุนแล้วหรือไม่ และผลตอบรับเป็นอย่างไร
     ในปีที่ผ่านมาได้ทดสอบการใช้อาหารโปรตีนเข้มข้นต้นทุนต่ำนี้แล้ว ในชุมชนบ้านเหล่าอีหมัน ต.หนองเม็ก อ.นาเชือก มหาสารคาม เกษตรกรให้ความสนใจนำอาหารไปใช้ มีการเข้ามาซื้ออาหารโปรตีนเข้มข้นเพิ่มเติมหลังจากที่เราถ่ายทอดความรู้เสร็จ แต่ยังไม่มีการส่งเสริมให้กลุ่มผลิตเพื่อจำหน่ายเอง 

อยากจะฝากอะไรเกี่ยวกับโครงการนี้ และอยากจะฝากอะไรถึงผู้ที่สนใจโครงการงานนี้
      อาหารโปรตีนเข้มข้นต้นทุนต่ำสำหรับไก่ไข่นี้เป็นแนวคิดที่จะให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ ลดต้นทุนการผลิต ใช้วัตถุดิบที่แต่ละครัวเรือนมี มาเป็นแหล่งอาหารเลี้ยงไก่ไข่ ทำให้เราลดการพึ่งพาอาหารสำเร็จรูปทางการค้าได้ และสะดวกในการใช้ โดยผสมอาหารโปรตีนเข้มข้น 1 ถุง (8 กิโลกรัม) กับข้าวเปลือกบด หรือรำ อีก 24 กิโลกรัม ก็จะได้อาหารที่มีโภชนะครบถ้วน เทียบเท่ากับอาหารสำเร็จรูปทางการค้า ที่ราคาถูกกว่า 


ผู้ที่สนใจจะสามารถติดต่อได้ในช่องทางใดได้บ้าง
ติดต่อที่คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หมายเลขโทรศัพท์ 
หรือที่อาจารย์ขนิษฐา 089-4588228 

“ชุมชนจะเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้ เราทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกันในการผลักดันและพัฒนาชุมชนให้มีองค์ความรู้อย่างแท้จริง แล้วชุมชนจะเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป”

Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล/กราฟิก:คุณปิยะฉัตร ธนภัทรธุวานันท์

Related Posts