ด้วยใจรักสู่อาชีพเสริมธุรกิจ SME 
ครจะรู้ว่าในยุคปัจจุบันการมีการงาน อาชีพที่มั่นคงนั่นเพียงอย่างเดียว พอแล้วจริงหรือกับค่าครองชีพในยุคปัจจุบัน แต่อาชีพอะไรล่ะที่จะเหมาะสมกับเรา และเราจำทำได้ด้วยใจรัก ซึ่งปัจจุบันนี้มีอีกหลายคนที่กำลังมองหาอาชีพเสริมที่เหมากับตัวเอง ซึ่งก็มีหลากหลายอาชีพให้เลือกสรร ไม่วส่าจะเป็นการทำอาหาร ขนม หรือการปลูกผักเพื่อสุขภาพ ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
คุณนายจักริน  เพชรสังหาร ผู้อำนวยการกองคลังและพัสดุ สังกัด กองคลังและพัสดุ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก็เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่เลือกสรรการทำอาชีพเสริม เกี่ยวกับการปลูกพืชเพื่อสุขภาพ นั่นก็คือ ต้นอ่อนทานตะวัน ปลูกง่ายประโยชน์เยอะ จนถือได้ว่าอาชำเสริมสามารถทำรายได้ และสามารถเข้าไปสู่ธุรกิจ SME ขนาดย่อมที่ส่งผลผลิตเข้าสู่บริษัท สยามแมคโคร จังหวัดมหาสารคาม เรามาดูกันสิว่าเขาทำอย่างไร



กล่าวถึงที่มา และแรงบันดาลใจในการเลือกที่จะทำอาชีพเสริม
  เดิมตนเองยังไม่ได้เป็น ผู้อำนวยการกองคลังและพัสดุ เป็นเพียงข้าราชการปฏิบัติงานอยู่ที่กองคลังและพัสดุ ซึ่งว่างจากหลังเลิกทำงาน ก็มีการมองหาอาชีพเสริม ว่าจะทำอะไรดี ช่วงนั้นที่มีหลายคนนิยมปลูกกันมากก็คือ “ปลูกต้นอ่อนทานตะวันอ่อน” เป็นผักออร์แกนนิค ใช้เวลาปลูกระยะสั้น เพียง ( 7 วัน) ก็ทำรายได้เร็ว ตนเองจึงมีความสนใจ เริ่มที่จะหัดปลูกต้นทานตะวันอ่อน ตามอินเทอเน็ต โดยเริ่มปลูกที่บริเวณหน้าบ้านที่มีเนื้อที่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ประจวบกับมีบริษัท สยามแมคโคร มาเปิดที่จังหวัดมหาสารคาม ในปี พ.ศ. 2558  และได้มีการเปิดรับตัวแทนสมาชิกปลูกต้นทานตะวันอ่อน เพื่อส่งบริษัท สยามแมคโคร ตนเองจึงสมัคร เพื่อเป็นตัวแทนส่งผัก "ต้นอ่อนตะวันอ่อน" ส่งบริษัท สยามแมทโครให้กับตัวแทน ต่อมาทางบริษัท สยามแมคโคร จังหวัดมหาสารคาม ติดต่อเข้ามา ให้ตนเองเข้าพบ เพื่อทำสัญญา ในการส่งผักเข้าบริษัท สยามแมทโคร ตนเองจึงได้ส่งผักอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา



       ซึ่งมีการส่งผักต้นทานตะวันอ่อน ที่สาขามหาสารคาม ต่อมามีการส่งต้นอ่อนผักบุ้ง มะนาว ถั่วงอกหัวโต ผักสลัด โดยได้ขยายสาขาส่งที่บริษัท สยามแมคโคร สาขาร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 5 กรฏาคม พ.ศ. 2559 ต่อด้วยสาขากาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2560 ซึ่งมีการเปิดห้างใหม่ ตนเองจึงได้ย้ายฟาร์มลุงจักร เพื่อขยายกิจการไปที่บ้านหนองอุ่ม เนื้อที่ 2 ไร่ และได้ขยายการส่งผักไปยังสาขาขอนแก่น เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง ณ ปัจจุบันเราผลิตผัก ให้เหลือเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือต้นทานตะวันอ่อน และต้นผักบุ้งอ่อน ส่งเท่านี้ 



ทำไมถึงเลือกปลูกต้นอ่อนทานตะวัน และยังมีพืชชนิดอื่นที่ปลูกอีกหรือไม่
        ถามว่าทำไมถึงเลือกต้นทานตะวันอ่อน ก็เพราะมีการใช้เวลาในการปลูกเพียงระยะสั้นๆ เพียง 7 วันเท่านั้น ก็สามารถเก็บผลผลิตขายได้แล้ว ในช่วงแรกมีต้นอ่อนทานตะวันอ่อน ต้นอ่อนผักบุ้งอ่อน มะนาว ถั่วงอกหัวโต สลัด  ปัจจุบันตนเองมีการปลูกเพียง ต้นทานตะวันอ่อน และต้นผักบุ้งอ่อน เพียงเท่านั้น



สิ่งที่ได้จากการทำอาชีพเสริม
     สิ่งที่ตนเองได้จากการทำอาชีพเสริม คือการมีรายได้เพิ่มขึ้น มีความสุขที่ได้ทำ และหลานมีอาชีพ ทำงานอย่างมั่นคง จำนวน 2 คน 



มีการแบ่งเวลาในการทำงานประจำ และอาชีพเสริมอย่างไร
      สำหรับการทำงานประจำ และการทำอาชีพเสริมที่รักนั้น ตนเองใช้เวลาช่วงหลังเลิกงาน และวันหยุด ในการปลูกผัก และทำการบรรจุผลิตภัณฑ์ ผักส่งบริษัท สยามแมทโคร 

โอกาสต่อไปเราจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราไปในทิศทางใดบ้าง
      สำหรับการเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่มากกว่าเดิมนั้น คือจากต้นทานตะวันอ่อน และต้นผักบุ้งอ่อน ก็จะปลูกผักต่างๆ เพิ่มมากอีก เช่น สลัด ผักพื้นบ้านต่างๆ เพื่อส่งเข้าบริษัท สยามแมคโครต่อไป เนื่องจากปัจจุบันจะมีการเพิ่มการผลิตยังไม่ได้ เนื่องจากมีลูกจ้างไม่เพียงพอต่อการขยายการผลิต 



ทำอย่างไรผลผลิตของเราจึงได้นำเข้าไปจำหน่ายในบริษัท สยามแมคโครได้ 
        เราจะต้องมีมาตรฐานในการปลูกผัก โดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรวจแปลงผัก จึงจะได้ใบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรการปฎิบัติทางการเกษตร ที่ดีสำหรับพืชอาหาร เพื่อเป็นหลักฐาน ในการนำผลผลิตนำส่งเข้าบริษัท สยามแมคโคร จึงจะสามารถนำผักส่งได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนจะต้องมีใบรับรองโรงบรรจุผัก ที่ได้มาตรฐานที่กำหนดผ่านการรับรองจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม โดยมีการออกใบรับรองให้เป็นหลักฐานการบรรจุภัณฑ์ผัก ให้กับบริษัท สยามแมคโครอย่างต่อเนื่องต่อไป



หากมีผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ผักเพื่อสขภาพ สามารถติดต่อได้ที่ไหน
     ติดต่อที่บริษัท สยามแมคโคร สาขามหาสารคาม สาขาขอนแก่น สาขาร้อยเอ็ด สามาขากาฬสินธิ์



Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล/กราฟิก:นายธนกฤต โคตรเพชร นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Related Posts