ในท่ามกลางกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคใหม่ ยังมีบุคคลที่เติบโตขึ้นมาพร้อมกับรากเหง้าแห่งศรัทธา สืบสานภูมิปัญญาบรรพบุรุษ และดำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมอันทรงคุณค่า ดังเช่นนายภูวดล อยู่ปาน ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา สังกัดสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นอีกหนึ่งท่านในผู้เชี่ยวชาญด้านพิธีกรรมบุญเผวด ผู้ซึ่งได้รับการหล่อหลอมมาตั้งแต่วัยเยาว์จากครอบครัวหมอธรรม ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ของชาวอีสาน เราไปพูดคุยกับบุคลากรคนเก่งกันนนะคะว่า อะไรคือแรงบันดาลใจให้ท่านเป็นผู้เชี้ยวชาญทางด้านประเพณีบุญต่างๆ ของชาวอีสาน
และบุญเผวดที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก็เป็นอีกหนึ่งงานบุญที่คุณ ภูวดล อยู่ปาน เป็นกำลังหลักสำคัญของการจัดงาน วันนี้สาร MSU Shoe Proud เราจะพาทุกท่านไปพูดคุยทำควมรู้จักกับบุคลากรคนเก่งของเรากันนะคะ
อะไรเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ท่านสนใจ และเชี่ยวชาญด้านการเตรียมงานพิธีกรรมบุญประเพณีของชาวอีสาน?
เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก ตยเองได้เติบโตขึ้นมาท่ามกลางบรรยากาศพิธีทางศาสนา และวัฒนธรรม โดยพ่อและแม่ของตนเองเป็นครอบครัวหมอธรรม ผู้ซึ่งเปี่ยมด้วยความรู้ด้านพิธีกรรมอีสาน และมักพาตนเองไปวัดเพื่อร่วมงานบุญอยู่เสมอ ซึ่งตนเองได้เห็นและจดจำภาพของการเตรียมเครื่องบูชา การท่องบทสวด และการขับลำพระเวสสันดรชาดก หรือ “เทศน์มหาชาติ” ฝังลึกอยู่ในจิตใจของเขาโดยไม่รู้ตัว ทำให้บุญเผวดไม่ใช่เพียงพิธีกรรมทางศาสนา แต่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของตนเอง
เมื่อตนเองเติบโตมีโอกาสได้ศึกษาเรียนรู้จนสำเร็จการศึกษา จนได้มีโอกาสเข้ามาทำงานเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตนเองก็ได้เริ่มจัด และลงมือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเตรียมงานการจัดประเพณีบุญเผวดอย่างจริงจังของมหาวิทยาลัยมหาสารคามครั้งแรกในปี พ.ศ.2555 โดยตนเองได้ใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญในการเตรียมงาน ตั้งแต่การจัดสถานที่ เครื่องบูชา คณะเทศน์ และการดำเนินพิธีกรรมให้ถูกต้องตามจารีตดั้งเดิม อีกทั้งยังเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับเยาวชนและชุมชน เพื่อให้ประเพณีบุญเผวดดำรงอยู่ต่อไป
ขั้นตอนสำคัญในการเตรียมพิธีกรรมแต่ละงานมีอะไรบ้าง
เตรียมเครื่องอัฐบริขาร ได้แก่ บาตร ไตรจีวร มีดโกน ร่ม รองเท้า ผ้ากรองน้ำ อาสนะ หมอนพิง ขันน้ำ หรือแก้วน้ำ และการจัดทำเครื่องฮ้อยเครื่องหันไว้ให้เรียบร้อย การเชิญพระอุปคุตนั้น ก่อนเชิญให้เขียนคาถาพระอุปคุตลงใบลานหรือกระดาษ และวนำไปวางไว้ในหออุปคุต 1 แผ่น และเขียนอีก 8 แผ่น ไปผูกติดไว้ตามเสาหลักธุงทั้ง 8 ทิศทุกเสา
งานบุญผะเหวด ศูนย์รวมใจชาวอีสาน
งานบุญผะเหวดของชาวอีสานจะจัดอยู่
งานบุญผะเหวด ศูนย์รวมใจชาวอีสาน
งานบุญผะเหวดของชาวอีสานจะจัดอยู่ 2 วัน คือ
1. มื้อโฮม (วันรวม) โดยในตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร ช่วงบ่ายมีการอัญเชิญพระอุปคุตจากสระหรือหนองน้ำใกล้หมู่บ้านมาประดิษฐาน ณ หอที่ตั้งไว้ มีขบวนแห่อัญเชิญพระเวสสันดร พระนางมัทรี พร้อมด้วยกัญหาและชาลีเข้าเมือง
2. มื้องัน (วันเทศน์) ตอนเช้าตรู่เวลาประมาณ 05.00 น. มีการแห่ข้าวพันก้อนที่ชาวบ้านทำจากข้าวเหนียว ปั้นให้เป็นลูกกลมขนาดเท่าหัวแม่มือ จำนวน 1,000 ก้อน (เป็นคติการบูชาคาถา 1,000 พันคาถาในเรื่องพระเวสสันดรชาดก) นำมาแห่รอบศาลาโรงธรรม 3 รอบ แต่ละรอบก็นำข้าวพันก้อนวางไว้ตามขันกะย่องที่ผูกไว้ต้นเสาธงผะเหวดให้ครบทั้ง 8 ทิศ
จากนั้นพระภิกษุสามเณรก็จะเริ่มเทศน์ตั้งแต่กัณฑ์สังกาส คือการบอกศักราช กล่าวถึงอายุกาลของพระพุทธศาสนาที่ล่วงมาตามลำดับ ต่อมาเป็นการเทศน์พระเวสสันดรชาดก เริ่มกัณฑ์แรกคือกัณฑ์ทศพร เรียงตามลำดับกัณฑ์ไปเรื่อยๆ ตลอดทั้งวัน จนถึงนครกัณฑ์เป็นกัณฑ์สุดท้าย
การเทศน์ของพระภิกษุสามเณรมี 2 ลักษณะ คือ
1. เทศน์แบบอ่านหนังสือ หรือเทศน์ธรรมดา เป็นทำนองคล้ายกับการสูตรขวัญของอีสาน มีหลายทำนองตามความถนัดของพระผู้เทศน์ เช่น ทำนองกาเต้นก้อน ทำนองช้างเทียมแม่
2. เทศน์เล่นเสียงยาวๆ หรือเรียกว่าเทศน์แหล่ พระผู้เทศน์มีการเล่นลูกคอและทำเสียงสูงต่ำ เพื่อให้เกิดความไพเราะ ส่วนญาติโยมที่นั่งฟังเทศน์ เมื่อพระภิกษุสามเณรที่ตนรับเป็นเจ้าภาพรับกัณฑ์ขึ้นเทศน์ เจ้าภาพก็จุดเทียนบูชาคาถา หว่านข้าวตอกข้าวสาร ในช่วงเวลาที่พระภิกษุสามเณรกำลังเทศน์อยู่นั้น ถ้าพระผู้เทศน์เสียงดี ญาติโยมชาวบ้านก็จะถวายปัจจัยพิเศษเพิ่มเติมเรียกว่า “แถมสมภาร” และช่วงเย็นมีการแห่ กัณฑ์จอบ กัณฑ์หลอน
กัณฑ์จอบ คือต้นดอกไม้เงินกัณฑ์พิเศษที่เจ้าของกัณฑ์เจาะจงจะนำไปถวายพระผู้เทศน์รูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเรียกว่ากัณฑ์จอบ (จอบ หมายถึงแอบดู) เมื่อเวลาที่จะนำไปถวาย เจ้าภาพต้องไปแอบดูให้รู้แน่เสียก่อนว่า พระที่กำลังเทศน์อยู่นั้นคือพระที่เจ้าภาพศรัทธาหรือไม่ ถ้าใช่จึงแห่ต้นกัณฑ์จอบเข้าไปยังอาราม เมื่อเทศน์เสร็จก็นิมนต์ลงมารับถวาย
ส่วน กัณฑ์หลอน คือต้นดอกไม้เงินที่ชาวบ้านรวมกลุ่มกันทำขึ้นด้วยศรัทธา จากคุ้มต่างๆ ภายในหมู่บ้านไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าจะถวายแด่พระภิกษุสามเณรรูปใดรูปหนึ่ง
ทั้งต้นกัณฑ์จอบ กัณฑ์หลอน มีการแห่ด้วยวงกลองยาวพิณแคน ผู้ร่วมขบวนฟ้อนรำอย่างสนุกสนาน เมื่อนำไปถึงอาราม พระหรือสามเณรรูปใดกำลังเทศน์อยู่ เมื่อท่านเทศน์จบก็นิมนต์มารับกัณฑ์หลอนต้นนั้น พระเณรรูปใดหากถูกกัณฑ์หลอนถือว่าโชคดี เพราะกัณฑ์หลอนมีปัจจัยมาก ดังผญาอีสานว่า “ถืกกัณฑ์หลอน มันซิรวยข้าวต้ม” แปลว่า ถ้าได้รับถวายกัณฑ์หลอนจะรวยข้าวต้มที่มาพร้อมกับต้นกัณฑ์หลอน
ท่านให้ความสำคัญกับสิ่งใดเป็นพิเศษ?
สำหรับตนเอง บุญเผวดไม่ใช่เพียงพิธีกรรม แต่เป็นหัวใจของการรักษาศรัทธา และความเป็นอีสาน ทุกครั้งที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดพิธี เขารู้สึกเหมือนได้เชื่อมโยงกับบรรพบุรุษ และได้ทำหน้าที่เป็นสะพานส่งต่อภูมิปัญญาอันล้ำค่านี้ให้กับคนรุ่นต่อไป
การเรียนรู้ และสืบทอดองค์ความรู้ด้านพิธีกรรมนี้ ท่านได้อะไรกลับมาทั้งในแง่ของประสบการณ์และจิตใจ?
“ตนเองเชื่อว่า หากเรายังให้ความสำคัญ และร่วมกันรักษาบุญเผวด ประเพณีนี้จะไม่สูญหายไปไหน ตราบใดที่ยังมีคนศรัทธา และเห็นคุณค่า”
หากมีคนรุ่นใหม่สนใจศึกษาและสืบทอดพิธีกรรมเหล่านี้ ท่านมีคำแนะนำอย่างไรให้พวกเขาเริ่มต้นได้อย่างถูกต้อง?
สำหรับเด็กรุ่นใหม่ที่มีความสนใจ ใฝ่รู้ ใฝ่ทำ ตนเองมีความยินดีที่จะ บอก จะสอน จะถ่ายทอดความรู้ให้ทั้งหมด ต่อเมื่อเด็กคนคนนั้นมีความพร้อม ที่ต้องการจะเรียนรู้ในสิ่งตนเองรัก และสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ด้วยกำลังความรู้ที่ตนมีอยู่อย่างเต็มความสามาถ
ซึ่งตนเองมีจะมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเด็ก หรือนิสิตที่มีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ได้ศึกษาทั้งประเพณีที่ต้องทำ ต้องรักษาเอาไว้ อีกทั้งตนเองได้พร่ำสอนให้เด็กเหล่านั้นให้เป็นคนที่ติดดิน กินง่ายอยู่ง่าย จะไปไหนมาไหนให้มีความสุขขุมรอบคอบ มีสติครองตนเองอยู่เสมอ ดังคำพูดคติสอนใจที่ว่า
“ให้ไปอย่างช้าง อย่าไปคือม้า ให้นอนเหมือนสุนัก ให้กินเหมือนไก่ ” ขยายความคือ
“ไปอย่างช้าง” คือ การไปไหนมาไหนให้ไปอย่างสุขุมรอบคอบ ไปแบบคนที่มีวามรู้ ไปอย่างเกรงขาม
“อย่าไปอย่างม้า” คือ ม้าเวลาไปไหนมาไหนมีแต่ความว่องไว ไปเร็วมาเร็ว เลยจะขาดความรอบคอบ
“ให้นอนเหมือนสุนัก” คือ สุขนักเป็นสัตว์ที่ไปไหนมาไหนนั้นเขาสามารถจะนอนที่ไหนก็ได้
“ให้กินเหมือนไก่” คือ เมื่อมีใครจัดหาอาหารอะไรเตรียมไว้ให้ ก็ต้องสามารถทานได้โดยไม่เลือก ว่าตนเองทานไม่ได้ ต้องมีสิ่งนั้น สิ่งนี้ตนเองถึงจะทานได้ แบบนั้นจะไม่เป้นการดีต่อตนเอง
ฝากอะไรถึงเด็กยุคใหม่ให้มองเห็นคุณค่าของการอนุรักษณ์สิบสานประเพณีฮีดสิบสองครองสิบสี่เอาไว้อย่างไร
“ฮีดสิบสอง ครองสิบสี่ เป็นรากเหง้าของชาวอีสานที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์” เด็กยุคใหม่อาจเติบโตมาท่ามกลางเทคโนโลยีและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ขนบธรรมเนียมประเพณียังคงเป็นรากฐานที่ทำให้เรารู้ว่าเราเป็นใคร หากไม่มีการสืบทอด ฮีดสิบสอง ครองสิบสี่ ก็อาจเลือนหายไปกับกาลเวลา จึงอยากฝากให้เยาวชนลองเปิดใจ เรียนรู้ และเข้าไปสัมผัสประเพณีเหล่านี้ ไม่ใช่เพียงแค่ในฐานะผู้สังเกตการณ์เท่านั้น แต่เป็นผู้มีส่วนร่วม เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เพียงวัฒนธรรม แต่คือเอกลักษณ์ที่ทำให้ชาวอีสานมีตัวตน และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคตให้ดำรงอยู่อย่างมั่นคงต่อไปอย่างยั่งยืนนี่คือคำกล่าวอย่างมุ่งมั่น ของคุณภูวดล อยู่ปาน ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา สังกัดสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นี่คือเสียงสะท้อนของผู้ที่เติบโตมาพร้อมกับความศรัทธา และกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ทุ่มเทเพื่อสืบสานวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของชาวอีสานให้คงอยู่ตลอดไป