นักวิจัย มมส เร่งขยาย เพาะพันธ์ ต้นเยลลี่ (CINCAU HIJAU) หรือต้นเฉาก๊วยเขียว ที่เป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่มีสรรพคุณมากมาย และเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าการแปรรูป ส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจ ในการสนับสนุนให้เกษตรกร มีทางเลือกในการเพิ่มรายได้ โดยการนำไป เพาะ ขยายพันธุ์ เพื่อจำหน่ายเป็นต้นพันธุ์ หรือ นำไปแปรรูปเป็นเมนูสุขภาพ เป็นเครื่องดื่มเย็น และสามารถนำไปเป็นส่วนผสมของขนมหวานที่น่าสนใจ ในสรรพคุณ และสีสันที่สวยงาม
ต้นเยลลี่ (CINCAU HIJAU) หรือต้นเฉาก๊วยเขียว ยังมีการค้นพบสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ มีคลอโรฟิลล์ที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ และมีสารต้านอนุมูลอิสระ ซาโปนินที่พบในใบซินเซา และตัวซาโปนินมีประโยชน์ที่สามารถใช้ในการลดไข้ และคุณสมบัติอื่นอีกมากมายที่คุณจะต้องรู้จักกับต้นเยลลี่ (CINCAU HIJAU) หรือต้นเฉาก๊วยเขียว ภายใต้การนำของ อาจารย์ ดร.ศุภชัย สุทธิเจริญ รองคณบดีฝ่ายจัดการทรัพยากรและพัฒนานิสิต คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
กล่าวถึงที่มาของงานวิจัย
ด้วยความชื่นชอบต้นไม้แปลก และพันธุ์พืชที่หายาก จึงทำการศึกษา และเริ่มสะสมได้พันธุ์พืชจากสถานที่ต่างๆ เพื่อนำมาทำการทดลอง และพัฒนาสามารถนำไปส่งเสริมองค์ความรู้ ให้เกษตรกรในชุมชน และเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้ในครัวเรือนได้ “ต้นเยลลี่ หรือต้นเฉาก๊วยเขียว หรือต้นวุ้น” ไม่ระบุแน่ชัดว่ามีแหล่งกำเนิดจากที่ใด เท่าที่ศึกษาค้นหาข้อมูลทำให้ทราบว่า บางสายพันธุ์มีต้นกำเนิดที่ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศเวียดนาม แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ชนิดแบบต้น และ แบบเลื้อยเป็นเถา ลักษณะพิเศษของต้นเยลลี่ หรือต้นเฉาก๊วยเขียว “คือเมื่อนำใบมาแช่น้ำแล้วทำการขยี้ผ่านไปสักพัก จะเกิดเป็นวุ้นโดยที่ไม่ต้องผสมผงวุ้นแต่อย่างใด “ผู้วิจัยจึงเกิดแนวคิดที่จะนำมาขยายพันธุ์ เพาะพันธุ์ เพื่อทำการศึกษา และพัฒนาวิธีการเพาะปลูก และเล็งเห็นโอกาส ที่จะนำไปส่งเสริมให้เกษตรกร ได้ทำการเพาะปลูก สามารถนำไปแปรรูป และเพิ่มมูลค่าของผลผลิตต่อไปในอนาคต
ต้นเฉากล้วยเราทำการเพาะปลูกเองหรือไม่ และต้นเฉากล้วยเจริญเติบโตได้ดีในอุณภูมิแบบไหน
ขณะที่ทำการทำแปลงสาธิต และทดลองในพื้นที่ภายในฟาร์มเกษตร คณะเทคโนโลยี (พื้นที่นาสีนวน) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ลักษณะดินที่เหมาะสมในการเพาะปลูกควรมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6.5 – 7.5 มีลักษณะร่วน และมีอินทรียวัตถุ ไม่ชอบน้ำขัง สามารถปลูกได้ทั่วภูมิภาคของประเทศไทย
กรรมวีธีการทำมีความยุ่งยากหรือไม่
การนำต้นเยลลี่ หรือต้นเฉากล้วยเขียว ไปแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าส่วนใหญ่จะนำไปทำเป็นวุ้น และนำมาผสมในเครื่องดื่มปรุงรสตามต้องการ โดยมีสีสันที่สวยาม น่าทาน และมีประโยชน์ “ซึ่งวิธีการทำเป็นวุ้นจากต้นเยลลี่ หรือต้นเฉากล้วยเขียว ไม่มีความยุ่งยาก เพียงนำใบต้นเยลลี่ หรือต้นเฉาก๊วยเขียว ประมาณ 10-15 ใบ นำไปขยี้ในน้ำอุ่นปริมาณ 300-500 มิลลิลิตร นำไปแช่ในตู้เย็นประมาณ 1 ชั่วโมง” ก็สามารถนำไปไปรับประทาน หรือนำไปผสมเป็นเครื่องดื่มเย็นปรุงรสชาติตามใจชอบ
จุดเด่นของงานวิจัย
การทำงานวิจัย เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกร มีทางเลือกในการเพิ่มรายได้ เช่น นำไปเพาะพันธุ์ ขยายพันธุ์ เพื่อจำหน่ายเป็นต้นพันธุ์ หรือสามารถนำไปแปรรูป เป็นเมนูเพื่อสุขภาพได้เป็นอย่างดี และเป็นอีกเมนูหนึ่งที่น่าสนใจ ที่มีประโยชน์ เป็นที่น่าจับตามอง เช่นเครื่องดื่มเย็น หรือสามารถนำไปเป็นส่วนผสม ของขนมหวานได้เป็นอย่างดี และลงตัวกับเมนูเครื่องดื่มที่แปลกใหม่สามารถสร้างรายได้เป็นอย่างดี
ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงาน
สำหรับปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานนั้น จะต้องมีการสร้างความเข้าใจ และให้ความรู้แก่ผู้บริโภค อย่างถูกต้อง และเข้าใจในทุกกระบวนการ
กลุ่มเป้าหมายสำหรับงานวิจัย
กลุ่มเป้าหมายที่สำคัญคือผู้ที่สนใจ ผู้ประกอบการด้านอาหาร และเกษตรกร
คุณสมบัติและสรรพคุณทางยาของต้นเยลลี่ หรือต้นเฉากล้วยเขียว
สำหรับคุณสมบัติ และสรรพคุณทางยาของต้นเยลลี่ หรือต้นเฉากล้วยเขียว คือต้นเยลลี่ หรือต้นเฉากล้วยเขียว มีสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ มีคลอโรฟิลล์ที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ และมีสารต้านอนุมูลอิสระ ซาโปนินที่พบในใบซินเซา และซาโปนินนี้มีประโยชน์สามารถใช้ในการลดไข้ ตัวอย่างเช่นมีไข้เนื่องจากไข้หวัดใหญ่ และอื่นๆ เมื่อมีไข้จะต้องได้รับการรักษา เพื่อให้ไข้ลดลง ด้วยวิธีการใช้ใบวุ้นสีเขียว หรือใบซินเกาสีเขียวนำใบมาต้มกับน้ำสะอาด หลังจากนั้นปล่อยให้น้ำอุ่นเล็กน้อย ดื่มวันละสองครั้ง
“มีสาร ยาปฏิชีวนะธรรมชาติ” และปริมาณคลอโรฟิลล์ของเยลลี่ ยังเป็นยาปฏิชีวนะตามธรรมชาติ หางโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ ที่มีคุณสมบัติกันน้ำ เพื่อให้สามารถแยกมวลสารที่รบกวนร่างกาย หากสารเหล่านี้ถูกกำจัดออกไปแล้ว หลอดเลือดก็จะสะอาดจากสิ่งสกปรก หรือสารอุดตัน เส้นเลือดที่สะอาดจะช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น บทบาทของคลอโรฟิลล์จะเหมาะสมมากที่สุด หากทานควบคู่กับปริมาณน้ำที่เพียงพอ ดังนั้นเพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาปฏิชีวนะตามธรรมชาติ สามารถบริโภคได้ทันทีหลังจากปรุงโดยไม่มีส่วนผสมอื่นเพิ่มเติม
“สารต้านการอักเสบตามธรรมชาติ” ซึ่งใบมีประโยชน์ในการต้านการอักเสบ ซึ่ง”สรรพคุณตัวนี้ได้มาจากคลอโรฟิลล์ ซึ่งพบได้ในใบวุ้นสีเขียว” การอักเสบที่สามารถเอาชนะได้คือการอักเสบเนื่องจากแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
มีการวางแผนนำงานวิจัยลงสู่ชุมชนอย่างไร
สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ สู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนั้น เราจะมีการจัดทำชุดองค์ความรู้ ในรูปแบบ E-book เพื่อให้เข้าถึงผู้ที่สนใจมากยิ่งขึ้น
ในอนาคตจะมีการพัฒนางานวิจัยย่างไรบ้าง
สำหรับในอนาคต หากกลุ่มเกษตรกรที่มีความสนใจ ที่ต้องการนำต้นเยลลี่ (CINCAU HIJAU) หรือต้นเฉาก๊วยเขียว ไปทดลองปลูก และให้มีความพร้อมที่จะรับการพัฒนาด้านบริการวิชาการ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคามอย่างต่อเนื่อง
ฝากอะไรถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ในการคิดค้นงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อสังคม และชุมชน
ขอให้กำลังใจนักวิจัยทุกท่าน ที่มีความตั้งใจ ที่จะทำงานวิจัยลงสู่ชุมชน เพื่อให้เกษตรกรได้นำความรู้ไปใช้จริงในทางปฏิบัติ และเกิดรายได้
คติในการทำงาน
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ไหน
อาจารย์ ดร.ศุภชัย สุทธิเจริญ รองคณบดีฝ่ายจัดการทัพยากรและพัฒนาคุณภาพนิสิต
คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โทรง081-3872812 Supachai606@gmail.com.