จังหวัดมหาสารคาม “เดิมชื่อ มหาสาลคาม” เป็นจังหวัดหนึ่งทางตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีอาณาเขตติดกับจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคามนอกจากจะมีฉายาเป็น "ดินแดนแห่งสะดืออีสาน" หรืออยู่จุดกึ่งกลางของภาคอีสานแล้ว “จุดกึ่งกลางของภาคอีสาน ตั้งอยู่ที่ บึงกุย หมู่ 13 ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย” นอกจากนี้ยังมีฉายาอีกว่า "ตักสิลานคร" หรือแปลตามตัวคือนครแห่งการศึกษา หรือเมืองแห่งการศึกษาของภาคอีสาน มีสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพ และระดับสูงสุดอยู่หลายแห่ง และมีมากที่สุดแห่งหนึ่งของภาคอีสาน อีกทั้งยังมีมากเป็นอันดับต้นๆของประเทศไทย 
และจังหวัดมหาสารคามยังมีอีกหลายอย่างที่มีเสน่ที่น่าค้นที่หลายคนยังไม่รู้ มหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่เข้ามามีส่วน ร่วมกับหน่วยงานราชการในการพัฒนา มหาสารคามให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ภายใต้ชื่อโครงการ “เส้นทางการเรียนรู้ : มหาสารคาม DNA” โดยการนำของ อาจารย์ทม เกตุวงศา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน




ชื่อโครงการ “เส้นทางการเรียนรู้: มหาสารคาม DNA”
  ชื่อ-สกุล ผู้รับผิดชอบ นายทม  เกตุวงศา หัวหน้าโครงการ
  โดยความร่วมมือ ระหว่าง
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้แก่ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ และคณะการบัญชีและการจัดการ 
- เทศบาลเมืองมหาสารคาม และ 
- YEC หอการค้าจังหวัดมหาสารคาม
โดยการสนับสนุนของ
- หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ภายใต้ กรอบการวิจัย “การพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City)”



กล่าวถึงที่มาของโครงการ
ใช้แนวคิดพิพิธภัณฑ์กินได้ อันได้แก่ การสร้างการเรียนรู้  (กินความรู้) การปลุกจิตสำนึกในคุณค่าและความสำคัญ (กินใจ) และการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม (เกิดรายได้) เพื่อขับเคลื่อนสู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเศรษฐกิจฐานรากของเมืองมหาสารคาม



จุดเด่นของโครงการมีอะไรบ้าง
- “เส้นทางการเรียนรู้: มหาสารคาม DNA” ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จำนวน 14 แห่ง
- นักจัดการเมืองแห่งการเรียนรู้ คือ นักเรียนและครูสังกัดโรงเรียนเทศบาลเมืองมหาสารคาม ผู้รู้และผู้นำชุมชนของเทศบาลเมืองมหาสารคาม และนิสิตสาขาประวัติศาสตร์และสาขาสถาปัตยกรรมภายในของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม



มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการอย่างไรบ้าง
ผู้ประสานงานวนการระดมความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาควิชาการ



ในมุมมองของการทำงาน คิดว่าจังหวัดมหาสารคามมีความน่าหลงใหลอย่างไร และจะดึงอะไรออกมาให้เป็นจุดเด่นของมหาสารคาม
           การผสมผสานระหว่างวิถีของชุมชนเมืองกับวิถีของชุมชนชนบท จนเกิดวิถี ของชาวเมืองมหาสารคามที่มีความเป็นอยู่อย่างสงบและเรียบง่าย ควบคู่กับการมีเครือข่ายที่เข้มแข็งด้านสังคมและวัฒนธรรม มหาสารคามจึงควรหยิบยกประเด็นเมืองเรียบง่าย และมีความเข้มแข็งด้านสังคมและวัฒนธรรม



อัตลักษณ์ของมหาสารคามเป็นอย่างไรบ้าง
เมืองวิถีเรียบง่าย เมืองแห่งการศึกษา (ตักสิลานคร)

ปัญหาและอุปสรรค และมีความยากในการดำเนินโครงการอย่างไรบ้าง
การขยายผลสู่การขับเคลื่อนในระบบ เช่น ระบบการศึกษา การวางแผนการพัฒนา  รวมทั้ง การบูรณาการความร่วมมืออย่างจริงจังจากทุกภาคส่วน



ในอนาคตเราจะมีการพัฒนาโครงการลงสู่ชุมชนไปในทิศทางใดบ้าง
ขยายผลสู่ DNA ด้านอื่นๆ เช่น ด้านการค้า ด้านอาหารการกิน ฯลฯ และ การยกระดับเส้นทางสู่การท่องเที่ยว และยกระดับสินค้าให้เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดมหาสารคาม  รวมทั้ง การขับเคลื่อนสู่การสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO



ฝากอะไรคนที่ยังไม่รู้จักจังหวัดมหาสารคาม
เชิญชวนมาร่วมเรียนรู้ DNA ของชาวมหาสารคามใน “เส้นทางการเรียนรู้: มหาสารคาม DNA”

  คติในการทำงาน
ทำงานด้วยความรัก

Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล/กราฟิก:คุณปิยะฉัตร ธนภัทรธุวานันท์

Related Posts