นักวิจัยเก่ง มหาวิทยาลัยมหาสารคาร พัฒนาตัวชี้สัดส่วนร่างกายในการตัวทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุงในชุมชน.ซึ่งในปัจจุบันประชากรเรากำลังพบกับสภาวะการบริโภคอาหารอย่างต่อเนื่องและตามใจตัวเอง จนทำให้เกิดสภาวะร่างกายมีการสะสมไขมัน ลงพุง และผลที่ตามมาคือปัญหาของการเป็นโรคต่างๆ ตามมาโดยไม่รู้ตัว และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มีการศึกษา ค้นค้วา วิจัยการพัฒนาตัวชี้สัดส่วนร่างกายในการตัวทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุงในชุมชน เพื่อศึกษาตัวชี้สัดส่วนร่างกายชนิดใหม่ ประกอบด้วย เส้นรอบคอ ดัชนีรอบลำตัว ค่าดัชนีไขมันหน้าท้อง และดัชนีรูปร่าง ในกลุ่มวัยทำงาน รวมทั้งการประเมินความไว และความจำเพาะของตัวชี้สัดส่วนร่างกายชนิดใหม่ ในการเป็นตัวทำนายภาวะอ้วนลงพุง ภายใต้การดูแลของ รองศาสตราจารย์ ธิดารัตน์ สมดี อาจารย์สา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ชื่อผลงาน
เรื่อง การพัฒนาตัวชี้สัดส่วนร่างกายในการตัวทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุงในชุมชน
ชื่อ-สกุล - ตำแหน่ง - สังกัด ผู้รับผิดชอบ
ธิดารัตน์ สมดี ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์
ที่มาของการพัฒนาตัวชี้สัดส่วนร่างกายในการทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง
ภาวะอ้วนลงพุงเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญ ทั้งในระดับประเทศ และทั่วโลกที่ก่อปัญหาต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งภาวะอ้วนลงพุง หรือภาวะเมตาบอลิกซินโดรม เป็นกลุ่มอาการทางคลินิกที่ระบบการเผาผลาญพลังงานของร่างกายมีความผิดปกติ ประกอบด้วย อ้วนลงพุงซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของน้ำตาลในเลือด และเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินร่วมกับการมีไขมันในเลือดผิดปกติ ความดันโลหิตสูง และระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ
โดยเฉพาะโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งการตรวจคัดกรอง และวินิจฉัยภาวะอ้วนลงพุงจะต้องมีการรุกราน (Invasion) ผู้ป่วย ด้วยการเก็บตัวอย่างเลือดในการวิเคราะห์หาระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด เป็นวิธีการตรวจคัดกรอง และวินิจฉัยภาวะอ้วนลงพุงที่ดำเนินการได้ยากในชุมชน รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายสูงในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ โดยการศึกษาล่าสุด "พบว่าเส้นรอบคอสามารถใช้ในการทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุงของผู้ป่วย"ที่ทำการเก็บข้อมูลที่โรงพยาบาลศิริราช (Laohabut et al., 2019) แต่จำนวนกลุ่มตัวอย่างมีขนาดน้อยเกินไป อาจยังไม่ครอบคลุมในชุมชน รวมทั้งยังมีงานวิจัยจากต่างประเทศที่มีการนำตัวชี้สัดส่วนร่างกายใหม่ อาทิเช่น ดัชนีรอบลำตัว ค่าดัชนีไขมันหน้าท้อง หรือดัชนีรูปร่าง ในการตรวจคัดกรอง และวินิจฉัยภาวะอ้วนลงพุง แต่ยังมีข้อมูลอย่างจำกัดของการศึกษาในประเทศไทย รวมทั้งชนชาติที่แตกต่างมีผลต่อสัดส่วนของร่างกายด้วยจึงควรมีการศึกษาวิจัยตัวทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุงที่สามารถตรวจวัดง่ายในชุมชนด้วยตัวชี้สัดส่วนร่างกายด้วยตัวชี้วัดสัดส่วนร่างกายชนิดใหม่ โดยที่ผลจากการวิจัยสามารถใช้เป็นเครื่องมือที่ใช้ทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุงในชุมชนที่ง่าย และลดค่าจ่ายใช้ในการตรวจวิเคราะห์ผลทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งกลุ่มเสี่ยงสามารถเฝ้าระวังภาวะอ้วนลงพุงด้วยตนเองด้วยวิธีการง่ายๆ
วัตถุประสงค์ในการจัดทำงานวิจัย เรื่องการพัฒนาตัวชี้สัดส่วนร่างกายในการทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง เพื่อศึกษาตัวชี้สัดส่วนร่างกายชนิดใหม่ ประกอบด้วย เส้นรอบคอ ดัชนีรอบลำตัว ค่าดัชนีไขมันหน้าท้อง และดัชนีรูปร่าง ในกลุ่มวัยทำงาน รวมทั้งการประเมินความไว และความจำเพาะของตัวชี้สัดส่วนร่างกายชนิดใหม่ ในการเป็นตัวทำนายภาวะอ้วนลงพุง
วิธีการดำเนินงาน ของการพัฒนาตัวชี้สัดส่วนร่างกายในการทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง อย่างไรในชุมชน
ประชากรที่ทำการศึกษาวิจัย คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความชุกของภาวะอ้วนพุงลงสูงที่สุดในเขตภาคกลาง (รายงานเขตสุขภาพที่ 5, 2563) และองค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้จังหวัดเพชรบุรีเป็นเมืองแห่งอาหารสร้างสรรค์ (The city of creative food) ในปี 2021 มีกลุ่มเป้าหมายในการศึกษา จำนวน 2,520 คน อายุ 18-59 ปี และใช้เกณฑ์วินิจฉัยภาวะอ้วนลงพุงด้วยเกณฑ์ของสมาพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ และ"คำนวณตัวชี้วัดสัดส่วนร่างกายชนิดใหม่ที่ประกอบไปด้วย เส้นรอบคอ ดัชนีรอบลำตัว ดัชนีไขมันหน้าท้อง และดัชนีรูปร่าง" โดยใช้การวิเคราะห์ Receiver operating characteristic (ROC) และการคำนวณพื้นที่ใต้โค้ง (Area under curve, AUC) ในการประเมินความไวและความจำเพาะของค่าจุดตัดของตัวชี้วัดสัดส่วนร่างกายชนิดใหม่ทั้ง 4 ชนิด
อะไรที่จะใช้เป็นตัวชี้สัดส่วนร่างกายในการทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง ของกลุ่มเป้าหมาย
ตัวชี้วัดสัดส่วนร่างกาย ประกอบด้วยตัวชี้วัดสัดส่วนชนิดใหม่ จำนวน 4 ชนิด ประกอบด้วย
เส้นรอบคอ (Neck Circumference; NC) คือ การวัดเส้นรอบคอ ผู้ที่ถูกวัดต้องอยู่ ในท่าศีรษะตรง ตามองไปข้างหน้า ใช้สายวัดเป็นหน่วยเซนติเมตร วัดในตำแหน่งขอบบนของลูกกระเดือก
ดัชนีรอบลำตัว (Body round index; BRI) คือ เป็นตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ด้วยการวัดสัดส่วนร่างกายที่ประกอบด้วย การวัดเส้นรอบเอว และส่วนสูงของร่างกาย
ซึ่ง Waist Circumference (WC) คือ เส้นรอบเอว
Height คือ ส่วนสูง
ค่าดัชนีไขมันหน้าท้อง (Conicity index; CI) คือ ค่าการวัดสัดส่วนร่างกายที่ต้องประเมินโรค อ้วนและการกระจายของไขมัน ด้วยการวัดสัดส่วนร่างกายที่ประกอบด้วย การวัดเส้นรอบเอว น้ำหนัก และส่วนสูงของร่างกาย
ซึ่ง Waist Circumference (WC) คือ เส้นรอบเอว
Weight คือ น้ำหนัก
Height คือ ส่วนสูง
ดัชนีรูปร่าง (A Body shape index; ABSI) คือ เป็นตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ด้วยการวัดสัดส่วนร่างกายที่ประกอบด้วย การวัดเส้นรอบเอว ค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index; BMI) และส่วนสูงของร่างกาย
จุดเด่นของการพัฒนาตัวชี้สัดส่วนร่างกายในการทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง มีความพิเศษอย่างไร
ตัวชี้วัดสัดส่วนร่างกายทั้ง 4 ชนิด เป็นตัวชี้สัดส่วนชนิดใหม่ที่เป็นวิธีการตรวจวัดที่ง่ายมีความแม่นยำสูงในการทำนายหรือคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง โดยเฉพาะค่าดัชนีรอบลำตัว หรือ BRI ที่มีความไวและความจำเพาะสูง ซึ่งตรวจซ้ำแล้วได้ผลเช่นเดิม จึงเป็นวิธีที่แนะนำให้ทำการตรวจเพื่อคัดกรองและวินิจฉัยในภาวะอ้วนลงพุง
ใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ในการพัฒนาตัวชี้สัดส่วนร่างกายในการทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง จึงจะเห็นผล
การพัฒนาตัวชี้สัดส่วนร่างกายในการทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง ใช้ระยะเวลาไม่นาน เนื่องจากเป็นการวัดสัดส่วนร่างกาย สามารถประเมินได้เลย ไม่ต้องอาศัยระยะเวลา จึงเป็นวิธีที่ง่ายและนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชุมชน รวมทั้งสามารถประเมินได้ด้วยตนเอง
ผลตอบรับของกลุ่มเป้าหมายที่ลงชุมชน สำหรับการพัฒนาตัวชี้สัดส่วนร่างกายในการทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุงเป็นอย่างไร
กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในการทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุงด้วยตัวชี้วัดสัดส่วนร่างกายนี้ เนื่องจากไม่ต้องเจ็บตัวจากการต้องเจาะเลือดเพื่อนำไปวิเคราะห์ผลในห้องปฏิบัติการด้วยการวินิจฉัยภาวะอ้วนลงพุงแบบเดิม และที่สำคัญทราบผลได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งไม่เสียค่าใช้จ่าย
ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาตัวชี้สัดส่วนร่างกายในการทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง
ส่วนปัญหาใหและอปสรรคน่าจะเป็นงบประมาณการดำเนินการ เพราะการพัฒนาตัวชี้วัดครั้งนี้ เป็นการเปรียบเทียบระหว่างเกณฑ์วินิจฉัยภาวะอ้วนลงพุงซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่ต้องทำการเจาะเลือด และวิเคราะห์ผลในห้องปฏิบัติการ ที่มีค่าตรวจวิเคราะห์ค่อนข้างสูง กับเกณฑ์ใหม่ที่ผู้วิจัยสนใจ คือ การวัดสัดส่วนร่างกายด้วยวิธีใหม่ทั้ง 4 วิธี ซึ่งวิธีนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย จึงต้องใช้งบประมาณในการเจาะเลือด และตรวจวิเคราะห์ทางปฏิบัติการของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2,520 คน
ในอนาคตจะมีแผนพัฒนา การพัฒนาตัวชี้สัดส่วนร่างกายในการทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง ไปในทิศทางใด
จากการศึกษา แสดงให้เห็นว่าค่าดัชนีรอบลำตัวเป็นตัวชี้สัดส่วนร่างกายที่มีความไว และความจำเพาะในการเป็นตัวทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุงในชุมชนได้ดีที่สุด โดยมีแผนพัฒนาจะนำค่าดัชนีรอบลำตัวมาประยุกต์เป็นตัวบ่งชี้วินิจฉัย (Diagnotic marker) ภาวะอ้วนลงพุงในโรงพยาบาลต่อไป รวมทั้ง"พัฒนาแอฟพลิเคชั่นในการคัดกรองภาวะอ้วนลงพุงด้วยค่าค่าดัชนีรอบลำตัวที่ง่ายและรวดเร็ว"
ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการพัฒนาตัวชี้สัดส่วนร่างกายในการทำนายความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง สามารถติดต่อได้ที่ไหน
ธิดารัตน์ สมดี email: thidarat@msu.ac.th
ฝากอะไรถึงนักวิจัยรุ่นใหม่
นักวิจัยรุ่นใหม่ เมื่อคิดประเด็นใหม่หรือองค์ความรู้ใหม่ได้ให้รีบทำ เพราะถ้าหากช้าองค์ความรู้ที่คิดว่าใหม่ก็อาจจะเก่า เนื่องจากก็จะมีนักวิจัยท่านอื่นนำองค์ความรู้ใหม่นี้ไปศึกษาและตีพิมพ์เผยแพร่ก่อน ทำให้มีโอกาสตีพิมพ์เผยแพร่องค์ความรู้นั้นได้น้อยลง
คติ หรือคำคมในการทำงาน
"ชอบสิ่งไหนทำสิ่งนั้น ชอบทำวิจัยก็ทำวิจัย"