เลิกสูบบุหรี่ ด้วยรูปแบบการส่งข้อความผ่านข้อความสั้น (Short Message Service: SMS)
แค่ “เลิกบุหรี่” ด้วยโปรแกรม SMS
         พฤติกรรมการเสพติด “บุหรี่” ในปัจจุบันถือว่าเป็นปัญหาใหญ่อันดับต้นๆ เนื่องจากโทษของการ “สูบบุหรี่” ตลอดจนการสูดดมควันบุหรี่ ส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ได้มากมาย หากคุณคือคนหนึ่งที่เสพติดการสูบบุหรี่ นี่คือสิ่งที่คุณต้องรู้!!
         เป็นที่ทราบกันดีว่าบุหรี่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของผู้สูบโดยตรง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบ ก็มีความเสี่ยงที่ได้รับอันตรายด้วยเช่นกัน เนื่องจากสูดควันบุหรี่ซี่งประกอบไปด้วยสารพิษและสารก่อมะเร็งดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น เรียกว่า การได้รับควันบุหรี่มือสอง (Secondhand smoking) นอกจากนี้ยังมี ควันบุหรี่มือสาม (Thirdhand smoking) ซึ่งเป็นควันบุหรี่ที่ตกค้างอยู่ตามเส้นผม เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ สิ่งของ และวัตถุอื่นๆ ทำให้สารพิษเกาะติดอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อผู้อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น



        การเลิกสูบบุหรี่ ให้ผลดีต่อร่างกายตั้งแต่ 20 นาทีแรกของการเลิก โดยความดันโลหิตจะลดลงสู่ภาวะปกติ และระบบต่างๆ ของร่างกายจะเริ่มฟื้นฟูขึ้นตามลำดับ ซึ่งหากเลิกได้ต่อเนื่อง 5-10 ปี จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หลอดเลือดสมองอุดตัน และมะเร็งหลายๆ ชนิดได้  แต่การเลิกบุหรี่นั้นมีหลากหลายวิธี และที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีนักวิจัยเก่งคิดค้นโปรแกรมช่วยเลิกสูบบุหรี่สำหรับผู้ป่วยไม่ติดต่อเรื้อรัง โดย รศดร.นิรันดร์ อินทรัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับทีมนิสิตปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะศึกศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
        โดยทั่วไป การเลิกบุหรี่ให้ได้ผลสูงสุดนั้นต้องอาศัยหลายๆ แนวทางร่วมกัน โดยเฉพาะการให้คําปรึกษาร่วมกับการเสริมด้วยยาช่วยเลิกบุหรี่ ซึ่งจะช่วยให้การเลิกบุหรี่สําเร็จได้ง่ายขึ้น และผลสําเร็จคงอยู่ได้นานขึ้น โดยเราสามารถแบ่งยาช่วยเลิกบุหรี่



ชื่อผลงาน ชื่อ-สกุล - ตำแหน่ง - สังกัด ผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.นิรันดร์ อินทรัตน์และนายอ๊อด ศักดิ์ศิริ นิสิตปริญญาเอก สาขา วิทยาศาสตร์สุขภาพ

กล่าวถึงที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้
งานวิจัยชิ้นนี้ เป็นงานวิจัยเพื่อทดสอบโปรแกรมส่งเสริมให้คนไข้ที่เป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรัง สามารถเลิกบุหรี่ได้ด้วยตนเอง โดยมีต้นแบบมาจากโปรแกรม mCessation ในประเทศอินเดีย โดยความร่วมมือของ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบหรือ ศจย เมื่อ ปี 2560 โดยเป็นการทดลองในกลุ่มวัยรุ่นรวมไปถึงนิสิตมหาวิทยาลัย จากนั้นในปี 2565 ได้นำข้อความมาปรับปรุง และ รูปแบบการส่งข้อความผ่านข้อความสั้น (Short Message Service: SMS) ทดลองในคนไข้โรคติดต่อไม่เรื้องรัง 



วัตถุประสงค์ในการจัดทำงานวิจัย โปรแกรมช่วยเลิกสูบบุหรี่
เพื่อทดสอบผลของข้อความสั้น ในการเลิกบุหรี่ของอาสาสมัครงานวิจัยที่เป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรัง

จุดเด่นของโปรแกรมช่วยเลิกสูบบุหรี่ มีความพิเศษอย่างไร
สำหรับจุดเด่นของการสร้างโปรแกรม สามารถเข้าถึงง่าย เพื่อแค่มีโทรศัพท์มือถือก็สามารถรับข้อความ SMS ได้ 



คนไข้ที่เข้าคอสนี้จะต้องใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ และจะเกิดอาการข้างเคียงระหว่างเข้าคอสหรือไม่
คนไข้ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับข้อความประมาณ 45 วัน ไม่มีผลข้างเคียงใดๆจากโปรแกรมนี้ 

หลังจากผู้เข้าคอสจบแล้วนั้น มีโอกาสจะกลับมาสูบบุหรี่มากน้อยเพียงใด
จากรายงานวิจัยพบว่าที่ 6 เดือน กลุ่มที่ได้รับข้อความสั้นสามารถเลิกการสูบบุหรี่ได้ 15.5%



ผลของการใช้โปรแกรมเลิกสูบบุหรี่ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง
จากการทดลองใช้ในอาสาสมัครงานวิจัยพบว่าได้ผลดี 

ข้อกำหนดผู้ที่ต้องการจะเข้าคอสโปรแกรมนี้เป็นอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายหรือไม่
ไม่มีข้อกำหนดใดๆ และฟรีสามารถเข้าร่วมโครงการได้ 



เกิดปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำโปรแกรมเลิกสูบบุหรี่บ้างหรือไม่
ปัญหาอุปสรรค เนื่องจากปัจจุบันการรับข้อความสั้นทางระบบ SMS ค่อนข้างเป็นที่ล่อแหลมต่อการถูกล่อลวง และจะไม่ได้รับความนิยมมากนักสำหรับในอนาคต

โรงพยาบาลเปิดทดลองการใช้โปรแกรมเลิกสูบบุหรี่ฯ ขึ้นเมื่อไหร่
ณ ปัจจุบัน ทางโรงพยาบาลไม่ได้เปิดใช้บริการนี้ 



ในอนาคตจะมีแผนพัฒนางานวิจัยชิ้นนี้ไปในทิศทางใด
จากปัญหาอุปสรรคดังกล่าว ทีมนักวิจัยมีแนวทางจะส่งข้อความ รวมทั้งรูปภาพ infographic ผ่านทางช่องทางอื่นเช่น Line application

ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับโปรแกรม ช่วยเลิกสูบบุหรี่ สามารถติดต่อได้ที่ไหน
สามารถติดต่อได้ที่ทีมวิจัย รศ.ดร นิรันดร์ อินทรัตน์ nirun.i@msu.ac.th



Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล/กราฟิก:คุณปิยะฉัตร ธนภัทรธุวานันท์

Related Posts