คะน้า คงไม่มีใครไม่รู้จัก และเป็นผักที่หาซื้อได้ง่ายและมีประโยชน์มากมาย ใบเขียวของคะน้า เป็นแหล่งรวมแร่ธาตุ วิตามิน หลายชนิดที่สำคัญ คือ เบต้า-แคโรทีน ซึ่งเป็นสารช่วยยับยั้งความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และยังมีวิตามินซีช่วยต้านทานอนุมูลอิสระ และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีแคลเซี่ยมช่วยเสริมสร้างกระดูก จากงานวิจัยศึกษาการดูดซึมของแคลเซียมของร่างกาย พบว่าร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากคะน้าได้ไม่น้อยหน้าแคลเซียมจากนมแม่เลยทีเดียว


          นักวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สร้างผลงานเด่น ปลูกผักคะน้าต้นอ่อนเสริมธาตุซีลีเนียม ที่ร่างกายของมนุษย์ต้องการในปริมาณน้อย แต่มีความจำเป็นต่อร่างกายในแต่ละวัน ซึ่งโดยปกติแล้วคนเราต้องรับประทานธาตุซีลีเนียมในปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละวัน เนื่องจากคะน้าเป็นพืชที่สามารถดูดซึมแร่ธาตุผ่านราก เมื่อไปอยู่ในลำต้น และใบ ก็จะมีการเปลี่ยนในรูปของแร่ธาตุ ในรูปที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดี นั่นก็คือ แอลตี้แคนเซอร์ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านมะเร็งได้ด้วย โดย รองศาสตราจารย์ ปิยะเนตร จันทร์ถิระติกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมทีมวิจัย



ที่มาของการทำงานวิจัยชิ้นนี้ว่าทำไมถึงทำงานวิจัยชิ้นนี้ 
          โดยส่วนตัว สนใจศึกษาวิจัย ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ในช่วงที่เรียนได้ศึกษามีการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ หลังจากที่ตีพิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว งานวิจัยที่นั้นก็หายไป ผลงานก็จะอยู่ในรูปแบบงานวิจัยเป็นส่วนใหญ่ แต่พอมาทำงานแล้ว ก็อยากทำงานวิจัยที่ได้ผลงานที่สามารถตีพิมพ์ได้ และหากมีผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้จะยิ่งมีประโยชน์ เลยนึกถึงธาตุอาหารบางชนิด ที่โดยปกติแล้วคนเราต้องรับประทานเข้าไป พบว่าธาตุซีลีเนียม เป็นธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่มีความต้องการในปริมาณน้อย หากร่างกายได้รับสารธาตุซีลีเนียม ในปริมาณมากเกินไป ปรากฏว่าอาจจะเป็นพิษได้ แต่ถ้าขาดธาตุซีลีเนียม ก็จะมีลักษณะอาการของการก่อโรคขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นถามว่าธาตุซิลิเนียมมีความจำเป็นมั้ยนั้น ตอบเลยว่ามีความจำเป็นร่างกาย เมื่อมาสืบค้นงานวิจัยที่พัฒนา พบว่าธาตุซีลีเนียมเป็นธาตุที่มีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบที่ร่างกายนำไปใช้ได้ดีจะเป็นซีลีเนียมอินทรีย์ และพบว่าพืชบางชนิดสามารถ เป็นซีลีเนียมในรูปแบบที่นำไปใช้ได้ยาก เป็นรูปแบบที่มีประโยชน์ได้ พอลองทำการทดลองกับพืชหลายชนิด ก็พบว่า คะน้า เป็นผักที่มีศักยภาพสูงในการเปลี่ยนเป็นซีลีเนียมอินทรีย์ได้



เราทำยังไงเราถึงจะรู้ว่าธาตุซีลีเนียมพอเหมาะกับร่างกายของเรา 
       โดยปกติแล้วหากมีการศึกษาดูตามงานวิจัย มีการเสริมธาตุซีลีเนียม ลงไปในยีสต์ แล้วก็การพัฒนายีสต์ซีลีเนียมสูง ที่ผลิตกันอย่างแพร่หลาย แล้วเขาก็ทำออกมาเป็นเชิงทางการค้า ยีสต์ซีลีเนียมสูงนิยมนำเอามาใช้สำหรับผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์  เพราะฉะนั้นสัตว์ที่กินซีลีเนี่ยมเข้าไปแล้ว ก็จะมีประโยชน์ต่อสัตว์เช่นเพิ่มผลผลิต  หรือ ช่วยพัฒนามูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์จากสัตว์นั้น เช่น ไข่ซีลีเนียมสูงที่มีราคาสูงกว่าไข่ทั่วไปในการวิจัยพบว่า เมื่อเสริมซีลีเนียมในยีสต์ และพืชจะมีการผลิตซีลีเนียมอินทรีย์ต่างชนิดกัน การนำไปใช้ประโยชน์จะต่างกันด้วย ซึ่งพบว่าคะน้าสามารถผลิต Se-methyl-Selenocysteine ซึ่งมีประโยชน์ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และต้านมะร็งได้ด้วย ซึ่งทีมงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้มีการตีพิมพ์เป็นที่เรียบร้อย



จุดเด่นของผลงานวิจัย
สำหรับจุดเด่นของงานวิจัยชิ้นนี้นั้น จะอยู่ที่การปลูกผักคะน้าต้นอ่อน ประมาณ 15 วัน ที่มีธาตุซีลีเนียมอินทรีย์ที่ร่างกายของมนุษย์ต้องการ โดยสามารถช่วยต้านอนุมูลอิสระ และต้านมะเร็ง



มีการนำองค์ความรู้ของงานวิจัยนี้ลงสู่ชุมชนอย่างไร
ในส่วนของชุมชนนั้น เราจะต้องมีการให้ความรู้แก่ชาวบ้านในชุมชนก่อน เพราะเนื่องจากว่าสารที่เราให้นั้น เป็นสารเคมีจึงต้องมีวิธีการใช้อย่างระมัดระวัง และถูกต้อง หากท่านใดที่มีความสนใจในงานวิจัยชิ้นนี้จริงๆ แล้วสามารถเข้ามาเรียนรู้กับเราได้ ถามว่าการปลูกผักคะเสริมธาตุธาตุซีลีเนียม เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายนั้นมีความยุ่งยากซับซ้อนหรือไม่นั้น บอกเลยว่ากระบวนการปลูกคะน้าเสริมธาตุซีลีเนียมนั้นยากมั้ย บอกเลยว่าไม่ยากอย่างที่คิด หากฟาร์มไหนที่ทำไฮโดโปนิกส์ และอยากลองนำไปผลิตเป็นคะน้าซีลีเนียมสูงสามารถนำไปใช้ได้จริง หากชุมชนไหนมีความสนใจเรายินดีที่จะช่วยพัฒนาองค์ความรู้นี้ให้ โดยท่านสามารถติดต่อมายังคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


อนาคตเราจะมีการพัฒนาผลงานวิจัยอย่างไร 
สำหรับการพัฒนาผลงานวิจัยในอนาคตนั้น ก่อนอื่นต้องขอบอกถึงข้อเสียของการทำไฮโดโปนิกส์ก่อนว่า หลังจากที่เรามีการปลูกไปเซ็ตแรกนั้น ผลปรากฏว่าสารละลายธาตุอาหารที่อยู่ในน้ำนั้น ค่อยข้างที่จะมีการกำจัดที่ยากมาก โดยเฉพาะพวกสารเคมีต่างๆ ที่เราเสริมเข้าไป หลังจากนั้นกำลังจะจดสิทธิบัตรอีกหนึ่งชิ้นคือ แทนที่เราจะเอาแร่ธาตุลงไปใส่ในตังไฮโดโปนิกส์ เราจะก็จะทำเป็นสารละลายอาหารให้อยู่ในรูปแบบของสเปรย์ให้กับพืชที่ปลูกในดิน หลังจากนั้นก็จะเป็นการลดระยะในการปลูกพืชได้เป็นอย่างดี จากการปลูก 15 วันลดเหลือเพียง 7 วัน และก็จะได้ผลผลิตที่ดูสวยงามมาก 
ในอนาคต ทีมวิจัยกำลังพัฒนากระบวนการผลิตได้ง่ายในดิน ลดจำนวนวันการผลิต โดยวิจัยลดของเสียจากการใช้สารเคมีของพืช ที่มีศักยภาพสูงชนิดใหม่ ที่ใช้เวลาปลูกลดลง เพื่อเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น



ฝากอะไรถึงนักวิจัยรุ่นใหม่
งานวิจัยสามารถเริ่มจากองค์ความรู้ และความถนัดของเรา หากสามารถพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชนได้ จะทำให้งานวิจัยมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ 
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ที่ตั้ง : ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
โทรศัพท์ : 0-4375-4247-8
โทรสาร : 043-754247
E-mail : science@msu.ac.th
เว็บไซต์ : https://science.msu.ac.th/

Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

Related Posts