อีกหนึ่งทางเลือกของการเรียนนวดแผนไทยนั้น ที่นักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ให้
ความสำคัญ โดยทำการวิจัยชุดทดสอบการกดจุดสัญญาณสำหรับหัตถเวชกรรมไทยที่ทำหน้าที่นวดกดจุด
ตามตำแหน่งจุดสัญญาณต่างๆ ของร่างกายไปพร้อมกับการแต่งรสมือ หน่วง - เน้น - นิ่ง เพื่อให้ได้ขนาดของ
แรงกดนวดและระยะเวลาในการนวดตามที่ศึกษาในภาคทฤษฎี โดยดร.ปริญญ์ ชุปวา อาจารย์สาขาวิศวกรรม
เมคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และทีมวิจัย 



ชื่อผลงาน : ชุดทดสอบการกดจุดสัญญาณสำหรับหัตถเวชกรรมไทย
ผู้รับผิดชอบ : 1) อ.ดร.ปริญญ์ ชุปวา 2) รศ.ดร.เกียรติสิน กาญจนวนิชกุล 3) อ.ดร.ปิยาภรณ์ แสนศิลา
        กล่าวถึงที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมาและทำไมถึงต้องเลือกทำชุดทดสอบการกดจุดสัญญาณสำหรับการนวดแผนไทยการเรียนนวดแผนไทยนั้น ผู้เรียนจะต้องสอบภาคปฏิบัติ โดยจะต้องทำการนวดกดจุดตามตำแหน่งจุดสัญญาณต่างๆ ของร่างกายไปพร้อมกับการแต่งรสมือ หน่วง - เน้น - นิ่ง เพื่อให้ได้ขนาดของแรงกดนวดและระยะเวลาในการนวดตามที่ศึกษาในภาคทฤษฎี ซึ่งอาจารย์ผู้สอนจะประเมินผลจากการสังเกตโดยอาศัยประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ดังนั้น จึงได้ศึกษาและออกแบบชุดทดสอบการกดจุดสัญญาณสำหรับหัตถเวชกรรมไทยนี้ขึ้น เพื่อเป็นนวัตกรรมที่ช่วยประเมินผลการทดสอบนวดแผนไทยภาคปฏิบัติให้มีความชัดเจนมากขึ้นและเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยนำเอาเซนเซอร์มาใช้ตรวจวัดแรงกดแล้วส่งข้อมูลแรงกดไปยังชุดประมวลผล เพื่อแสดงข้อมูลบนหน้าจอแสดงผลในรูปแบบของกราฟแรงกดเทียบกับเวลา เพื่อให้ผู้ประเมินได้ทราบถึงการแต่งรสมือ ของผู้ทดสอบที่ทำการกดนวดจุดสัญญาณ ณ ตำแหน่งนั้น

กระบวนการทำงานของชุดทดสอบฯ มีกระบวนการทำงานอย่างไร



ชุดทดสอบการกดจุดสัญญาณสำหรับหัตถเวชกรรมไทย มีองค์ประกอบในการทำงานอยู่ 2 ส่วนหลัก คือ 
  1) โหนดเชนเชอร์ ประกอบด้วย เซนเซอร์ตรวจวัดแรงกดและตัวประมวลผล ซึ่งข้อมูลการนวดจากเซนเซอร์จะถูกส่งเข้าไปยังตัวประมวลผล เพื่อส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สายไปยังชุดสถานีฐาน โดยเซนเซอร์จะผ่านการหล่อหุ้มด้วยยางพาราและวัสดุเสริมความเหนียว เพื่อเพิ่มอายุการใช้งาน 
เมื่อต้องการใช้ให้นำโหนดเชนเชอร์ไปติดตั้งบริเวณหน้านิ้วหรือข้อนิ้วหัวแม่มือของผู้ใช้งาน จากนั้นสวมถุงนิ้วทับอีกหนึ่งชั้น เพื่อไม่ให้หน้าสัมผัสของเซนเซอร์เคลื่อนที่จากตำแหน่งของนิ้ว
2) ชุดสถานีฐาน ประกอบด้วย ตัวรับข้อมูล ตัวประมวลผลกลาง และหน้าจอแสดงผล จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลการนวด ณ ขณะนั้น และแสดงผลในโปรแกรมที่สร้างขึ้น หลังจากที่ได้รับข้อมูลจากโหนดเซนเซอร์ผ่านเครือข่ายไร้สาย โดยมีการแบ่งฟังก์ชันการทำงาน ดังนี้
o ฟังก์ชันการบันทึกขนาดแรงกดนวดในแต่ละตำแหน่งจุดสัญญาณของอาจารย์ผู้สอน  
o ฟังก์ชันการเลือกตำแหน่งจุดสัญญาณที่ถูกบันทึกจากอาจารย์ผู้สอนในฟังก์ชันก่อนหน้านี้ 
o ฟังก์ชันของกราฟ ได้แก่ การเริ่มพล็อตกราฟ, การหยุดพล็อตกราฟ, การบันทึกกราฟเป็นไฟล์รูปภาพ และการลบล้างกราฟ  
o ฟังก์ชันการแสดงผลจากการนวด ได้แก่ ขนาดแรงกดนวด และระยะเวลาการนวดรูปแบบของกราฟ ตัวเลข และไฟสถานะ
กระบวนการทำงาน มีดังต่อไปนี้
1) เปิดโปรแกรมของชุดสถานีฐาน, และเปิดใช้งานโหนดเชนเชอร์
2) อาจารย์ผู้สอนติดตั้งเซนเซอร์ และนวดกดจุดสัญญาณตำแหน่งที่จะทดสอบภาคปฏิบัติ
3) กดปุ่ม Signal เพื่อบันทึกขนาดแรงกดนวด
4) อาจารย์ผู้สอนบันทึกขนาดแรงกดนวดให้ครบทุกตำแหน่งที่จะทดสอบภาคปฏิบัติ
5) ผู้เรียนติดตั้งเซนเซอร์ และนวดกดจุดสัญญาณตามตำแหน่งที่อาจารย์ผู้สอนกำหนดไว้
6) หลังจากการนวดกดจุดสัญญาณของผู้เรียน อาจารย์ผู้สอนวิเคราะห์ขนาดแรงกดนวด และระยะเวลาการนวดจากกราฟ และบันทึกกราฟ เพื่อสำรองข้อมูลไว้ตรวจสอบภายหลัง
7) ผู้เรียนคนต่อไป ทำการทดสอบการนวดกดจุดสัญญาณ และดำเนินตามขั้นตอนที่ 5 – 6 ตามลำดับ 
8) ปิดโปรแกรมของชุดสถานีฐาน, และปิดใช้งานโหนดเชนเชอร์



จุดเด่น และความพิเศษของชุดทดสอบฯ เป็นอย่างไร
สามารถใช้ทดสอบกดจุดสัญญาณต่างๆ บนร่างกาย (ที่ใช้นิ้วมือในการกด) ในตำแหน่งที่อาจารย์ผู้สอนกำหนดไว้ได้
สามารถนำผลการประเมินที่บันทึกไว้มาเปรียบเทียบเพื่อประเมินความแตกต่างแต่ละครั้งได้
น้ำหนักเบา กะทัดรัด เคลื่อนย้ายสะดวก
5.งบประมาณการทำชุดทดสอบฯ
25,000 บาท

กลุ่มเป้าหมายของชุดทดสอบฯ คือกลุ่มใด
ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน/การผลิต : สถาบันการศึกษา/ มหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยและการนวดไทย (หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต, การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต, การนวดไทย 330, 372, 800 ชั่วโมง) ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน โรงเรียนสอนการนวดไทยเอกชน เป็นต้น

มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการสนับสนุนอย่างไร
นวัตกรรมนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม งบประมาณเงินรายได้ประจำปี 2559

แผนการนำผลงานวิจัย ชุดทดสอบฯ นี้ลงสู่ชุมชนอย่างไร
เผยแพร่ผลงานให้กับแพทย์แผนไทย นิสิต และผู้ที่สนใจด้านการนวดไทยร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำเสนอและเผยแพร่ผลงานในงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ปีที่ 10 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เผยแพร่ผลงานในงานมหกรรม
วิจัยแห่งชาติ (วช.) และเผยแพร่ผลงานระดับชาติในวารสารกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 
ปีที่ 15 ฉบับที่ 2



ในอนาคตจะมีการพัฒนาผลงานวิจัย ชุดทดสอบฯ อย่างไรบ้าง
มีการต่อยอดปรับปรุงประสิทธิภาพของนวัตกรรมให้ใกล้เคียงกับเครื่องมือวัดแรงกดมาตรฐาน เก็บข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างเพิ่มขึ้นเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน และพัฒนานวัตกรรมให้มีความสะดวกต่อการใช้งานและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น 

ฝากอะไรถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ และงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อสังคม และชุมชน
อยากให้พัฒนาและต่อยอดภูมิปัญญาในท้องถิ่นและชุมชนของเรา ทั้งเพื่อการอนุรักษ์ สืบสาน และให้สามารถต่อยอดสู่สากลได้ ซึ่งปัจจุบันการนวดไทยก็ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจากองค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2562 แล้ว หากมีนักวิจัยรุ่นใหม่มาช่วยคิดค้นสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อต่อยอดและพัฒนาการเรียนการสอนด้านการนวดไทย  ก็จะช่วยพัฒนาทั้งผู้เรียนและการนวดไทยให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น มีหลักฐานเชิงประจักษ์ และเป็นที่ยอมรับต่อไป เพราะการนวดไทยนอกจากจะมีประโยชน์ในด้านสุขภาพแล้ว ยังสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับคนในชาติให้มั่นคงในเชิงเศรษฐกิจได้ต่อไปด้วย



คติในการทำงาน
ความสำเร็จมักเริ่มต้นจากการลงมือทำ

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ไหน
สามารถติดต่อได้ที่ อาจารย์ ดร.ปริญญ์ ชุปวา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (prarin.c@msu.ac.th)

Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล/กราฟิก:คุณปิยะฉัตร ธนภัทรธุวานันท์

Related Posts