มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  มีนโยบายส่งเสริม และพัฒนานักวิจัย  โดยมหาวิทยาลัยมีนโยบายพัฒนานักวิจัยเพื่อที่
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เร่งส่งเสริมและเชิดชูเกียรติ บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิและคณาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการ วิชาชีพ และอุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม จนเป็นที่ประจักษ์ว่าได้กอปรกิจอันดีงามให้แก่สังคม ให้แก่มหาวิทยาลัยประเทศชาติ และมหาวิทยาลัยจึงมีการมอบรางวัลเชิดชูเพื่อเป็นขวัญ และกำลังใจในการที่จะพัฒนาต่อยอดร่วมกับสังคมอย่างต่อเนื่องให้เป็นเกียรติกับนักวิจัยดีเด่น รางวัลเชิดชูเกียรตินักประดิษฐ์คิดค้นดีเด่น รางวัลเชิดชูเกียรติพันธกิจสัมพันธ์ และรางวัลมหาวิทยาลัยกับชุมชน (MSU Engagement Thailand) ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลนี้คือผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพรรณ ยั่งยืน 



ความรู้สึกที่ได้รับรางวัลรางวัลมหาวิทยาลัยกับชุมชน (MSU Engagement Thailand)

สำหรับรางวัลนักวิจัยดีเด่นนั้น พันธกิจสัมพันธ์มหาวิยาลัยกับชุมชน รางวัลนี้เนื่องจากตนเองเห็นประกาศจากมหาวิทยาลัย รวมถึงน้องๆ มีการสนับสนุนให้ลองสมัครลองดู และเมื่อเข้าไปดูเงื่อนไขของผู้ที่จะเข้าคัดเลือกรางวัลนี้ค่อนข้างจะยากพอสมควร เพราะรางวัลนี้ต้องทำงานกันเป็นทีม อีกทั้งยังต้องบริการวิชาการร่วมกับชุมชน จนกระทั้ง สองวันสุดท้ายจึงตัดสินใจยื่นใบสมัครเพื่อเข้าคัดเลือก  และลองมาคิดดูว่าตนเองจะมีสิทธิหรือไม่ ณ เวลาการตัดสินในวันนั้นเราบอกตนเองว่า การทำงานวิจัยร่วมกับชุมชนนั้น ไม่รู้ว่าเราจะมีผลงานที่ดี และได้รับการตอบรับเหมือนผลงานในครั้งนี้อีกเมื่อไหร่ เราจึงตัดสินใจสมัครเข้าไปคัดเลือกหนึ่งในรางวัลนี้  ภายใต้ข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย สุดท้ายก็ประกาศผลว่าตนเองได้รางวัลรางวัลมหาวิทยาลัยกับชุมชน (MSU Engagement Thailand)ในครั้งนี้ ก็รู้สึกเป็นเกียรติ และดีใจอย่างมากที่ตนเองได้รับรางวัลในครั้งนี้


อาจารย์นำผลงานอะไรเข้าในการคัดเลือก

ตนเองได้นำเอาผลงาน ชื่อว่า เครื่องเร่งกระบวนการแช่ และเพาะงอก เพราะว่าโครงการบริการวิชาการ เราได้งบประมาณมาด้วยงบที่จำกัด เราจึงต้องแบ่งส่วนหนึ่งให้กับสิ่งที่เราอ่านงานวิจัยหลายๆงานมานั้น ขยายขอบเขตสำหรับปริญญานิพลในปริญญาตรี และร่วมมือช่วยกันทำผลงานออกมา มองว่าค่อนข้างมั่นใจ 80 % แน่นอนที่จะขยายเป็นต้นแบบ และด้วยที่รับปากกับชุมชนแล้วว่าเราจะนำเครื่องมือตัวนี้มาช่วยทำให้กระบวนการแช่ และเพาะงอกเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง นำสู่ชุมชน ซึ่งเป็นการลดความเมื่อยล้าของชุมชน ซึ่งไม่ต้องมาล้างข้าวเองซึ่งในกระบวนดารล้างข้าวแบบเดิมจะใช้แรงคนและใช้เวลามาก พอเรามาสร้างเครื่องเร่งกระบวนการแช่ และเพาะงอกเสร็จแล้วนั้น ในสัปดาห์แรกชุมชนตื่นเต้นมาก เพราะเนื่องจากว่าเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน และชุมชนก็มีการออกงานข้ามจังหวัดหลายๆ ที่ รวมถึงมีคนมาศึกษาดูงานนั้น มีกระแสตอบรับเข้ามาอย่างรวดเร็วมาก พอกระแสการตอบรับเข้ามาอย่างรวดเร็วแล้วนั้น ทาง วช (สำนักการวิจัยแห่งชาติ) ได้ให้งบประมาณมาเสริมในการผลิตเครื่องเร่งกระบวนการแช่ และเพาะงอก ให้ได้มาตรฐานอย่างรวดเร็วต่อไป
มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการสนับสนุนด้านใดบ้าง


        แน่นอนว่าการบริการวิชาการนั้น สำหรับเครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกนั้น ถ้าไม่มีงบประมาณจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยแล้วนั้น การที่ตนเองจะสร้าง และทำงานวิจัยนั้นยังอยู่ในกระบวนการความคิดของตนเองอยู่อย่างแน่นอน ซึ่งตนเองมีโอกาสอ่านผลงานวิจัยมาจำนวนมาก และทำให้เรารู้ว่าเราจะทำงานชิ้นนี้ แต่พอมีงบประมาณเข้ามา การตัดสินใจที่จะสร้างต้นแบบของชิ้นงานขึ้นมานั้นจะต้องมีการใช้งบประมาณมากพอสมควร มันทำให้เราตัดสินได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ภายใต้การพิสูจน์ในห้องปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยสนับสนุนการให้งบประมาณในการตั้งต้นแบบในการผลิต และตนเองได้ของบประมารจากโครงการบริการวิชาการ 2 ช่วง คือช่วงแรกเป็นการสร้างต้นแบบ ช่วงที่สองนั้นได้นำไปขยายลงสู่ชุมชนอื่นๆ จำนวน 5 ชุมชน ฉะนั้นภายใต้แบรนตัวนี้ถือได้ว่าเป็นข้าวฮางงอกแบรน มมส 
คติในการทำงาน



ปกติในการทำงานของตนเองนั้น ส่วนมากจะ รู้เขา รู้เรา ความหมายรู้เขารู้เราคือ อย่างเช่นตนเองลงชุมชนในแต่ละครั้งเราจะทำอย่างไรที่แต่ละชุมจะมีความเป็นตัวตนอย่างไร รวมถึง รู้เขาในที่นี้คือ ประเด็นปัญหาที่ชุมชนประสบอยู่คืออะไร เขาต้องการอะไรเป็นหลัก เช่น ก่อนหน้านี้คือปัญหาการลดความชื่น เราก็สามารถแก้ได้สำเร็จ ระหว่างทางเราไม่ได้ทิ้งชุมชน เรารู้เขาอยู่ตลอดเวลา เพราะชุมชนเจอปัญหาเรื่องการแช่ การงอก ข้าวต่อ พอมารู้เรา เรา ณ เวลานี้ เรามีความรู้ที่จะไปเสริมชุมชนมากน้อยเพียงใด ถ้าเรารู้ไม่พอ เราก็จะต้องหาข้อมูลไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยด้วยกัน เครือข่ายนักวิจัยด้วยกัน รวมถึงการหาแหล่งข้อมูล ที่สำคัญคือ เราสร้างเครื่องจักรงบประมาณจะมาจากส่วนไหน นี่คือส่วนหนึ่ง นี่คือที่มาของการรู้เขารู้เรา
ในอนาคตข้างหน้าจะมีแนวทางในการพัฒนาผลงานวิจัยอย่างไร



          ในแน่ของงานวิจัย และสายงานการวิจัยของอาจารย์คือเครื่องจักกลเกษตร งานวิจัยของอาจารย์มาจากประเด็นหลักๆ จะมาจากชุมชนเป็นหลัก และต่อไปจะมีการพัฒนาวิจัยอีกหลายตัวมาก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องกะเทาะเม็ด เครื่องทำความสะอาดเมล็ดพันธ์ เครื่องสกัดน้ำขิงและอื่นๆ อีกมากมาย ถ้าในส่วนของการพัฒนาการแปลรูปข้าวที่จะส่งผลกระทบสูงของประเทศนั้น ถ้าเป็นส่วนของข้าวฮางนั้น ชุมชนยังมองประเด็นว่า ต้องการจะช่วยในเรื่องของการนึ่งข้าว เพราะตอนนี้ยังใช้หลักการนึ่งข้าวทั่วไปอยู่ เราจะช่วยคิดต่อไปว่าถ้าจะนึ่งข้าวให้เสร็จเร็วขึ้นนั้นจะต้องทำอย่างไร วิธีการไหน ซึ่งได้บอกอยู่ว่า การนึ่งข้าวมันขึ้นอยู่กับการสมดลของการผลิต และต้นทุน ณ เวลานี้จึงอยากจะมาช่วยในการสร้างชุดนึ่งข้าวที่ประหยัดพลังงาน และสามารถนึ่งข้าวฮางงอกได้เร็วมากยิ่งขึ้น
ฝากอะไรถึงนักวิจัยรุ่นใหม่



           ในเรื่องของการทำงานวิจัย มันขึ้นอยู่กับประเด็นวิจัยด้วยส่วนหนึ่ง ประเด็นวิจัยมันอยู่ในความต้องการของผู้ใช้งานหรือไม่ และเราในฐานะนักวิจัย เราต้องรวมองค์ความรู้ไม่ว่าจะเกิดจากงานวิจัยของไทย หรือต่างประเทศ รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต และโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วที่จะทำให้งานวิจัยก่อเกิดเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีต่อไป ค่อยๆ จะทำ และพัฒนาผลงานวิจัยของตนเองไปอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายผู้ใช้มีการตอบรับผลงานเรา ถือได้ว่าเราประสบความสำเร็จอีกขั้น แต่เราก็จะต้องมีการพัฒนาต่อยอดเพื่อที่จะช่วยชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไปเรื่อยๆ 

Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล

Related Posts