นักวิจัย มมส เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชวงขิงชนิดใหม่ของโลก
นักวิจัย มมส เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชวงขิงชนิดใหม่ของโลก เป็นงานวิจัยพืชวงขิงที่มีการคัดเลือกพืชชนิดที่หายาก หรือเป็นพืชเฉพาะถิ่น หรือเป็นพืชที่มีแนวโน้มที่ใกล้จะศูนย์พันธุ์ นำกลับมาขยายาพันธุ์ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยใช้ตาเง้า เป็นตัวเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้มีการเจริญเติมโตด้วยดีแม้นอกฤดูการ โดย รศ.ดร.ปิยะพร แสนสุข ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



ที่มาของการทำงานวิจัย
สำหรับที่มาของงานวิจัยหลักๆ เป็นงานวิจัยของพืชวงขิง มีการคัดเลือกพืชชนิดที่หายาก หรือพืชเฉพาะถิ่น ซึ่งเป็นพืชที่มีแนวโน้มที่ใกล้จะศูนย์พันธุ์ ก็จะเอามาขยายาพันธุ์ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หลักๆ ของงานวิจัยจะใช้เง้า หากไม่มีตาเง้าเราจะใช้หน่อย่อย หรืออาจจะใช้เมล็ดบ้าง ขึ้นอยู่ว่า เราได้อวัยวะส่วนไหนมาพอได้ทำงานวิจัยได้ เรามีการปลูกไว้ที่เรือนเพาะชำส่วนหนึ่ง และส่วนไหนที่เราสามารถนำมาทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้เราก็นำมาทำการเพาะเลี้ยงที่ห้องแลป

ความแตกต่างของการปลูกธรรมชาติ กับการเพาะเนื้อเยื่อ
สำหรับความแตกต่างของการทำงานวิจัย ซึ่งการปลูกพืชชนิดนี้โดยวิธรรมชาติ กับการเพาะเนื้อเยื่อนั้น หากเง้าขิงปลูกแบบวิธีธรรมชาติ เราจะสังเกตว่าตรงเง้าของขิง หรือเรียกอีกอย่างหนี่งว่าลำต้นใต้ดิน แต่ทั่วไปมักเรียบกว่าเง้า ที่เรียกลำต้นใต้ดินเพราะว่าจะมีข้อ มีปล่อง มีตา ซึ่งเป็นลักษณะลำต้นที่อยู่ใต้ดินที่เรามองเห็นมันเป็นลำต้นเทียมที่เกิดจากกากใบที่หุ้มซ้อนกันขึ้นมา เวลาขยายพันธุ์ขิงส่วนใหญ่จะขายาพันธุ์ด้วยตาเง้า 1 เง้าจะมีไม่กี่ตา เพราะฉะนั้นจะสามารถขยายพันธุ์ได้แต่จะได้น้อย และพืชวงขิงบางชนิดมีข้อจำกัดคือ จะเห็นได้ว่าในช่วงฤดูฝนขิงจะมีการเจริญเติบโตได้ดี แต่พอหน้าหนาวพืชวงขิงเขาจะลงหัว หรือที่เรียกว่ามีการพักการเจริญเติบโต โดยจะมีการทิ้งใบเหลือเพียงหัว ดูเหมือนพืชจะตายแต่พืชไม่ตาย จริงๆ แล้วพืชวงขิงไม่ตายเขาแค่มีการพักการเจริญเติบโตเท่านั้น เพราะว่าขิงมีการสะสมสารต่างๆ เพื่อให้พืชมีการเจริญเติบโตไว้ที่เง้า พอถึงฤดูฝนอีกครั้ง ชิงจะมีการเจริญเติบโตงอกงามออกมาอีกครั้งอยู่อย่างนี้



ข้อดีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคือ
เราสามารถนำชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งของพืชวงขิง เช่น ตาเง้าที่งอกใหม่ๆ ในแต่ละปี หรือว่าหน่อย่อยนำมาฆ่าเชื้อที่ติดมากับผิดเนื้อเยื่อของพืช โดยใช้สารเคมี เราทำการเพาะเลี้ยงขึ้นมาให้มีชีวิตขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งภายในขวดอาหารสังเคราะห์ โดยอาหารที่เราให้เป็นธาตุอาหาร เรียนแบบอาหารที่พืชได้รับตามธรรมชาติ มีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง มีวิตามิน มีโฮโมนใส่ลงไปในขวด และที่สำคัญสำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคือสามารถเพิ่มจำนวนได้จำนวนมาก และไม่มีการลงหัวของพืช ซึ่งสามารถทำการขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปีอีกทั้งมีการเพิ่มปริมาณได้มากโดยการเพาะและย้ายเนื้อเยื่อไปอย่างต่อเนื่องทุก 4-6 สัปดาห์

ทำไมถึงเลือกทำงานวิจัยชิ้นนี้
ลำดับแรก เพื่อเป็นการเพิ่ม และอนุลักษณ์พันธุกรรมของพืชวงขิง เพราะเนื่องจากว่าเมื่อประชากรพืชวงขิงมีน้อยลง หากเราไม่ปลูก หรือขยายพันธุ์เพิ่มเติมได้นั้น โอกาสที่เขาจะศูนย์พันธุ์ก็จะสูง จริงๆ แล้วการปลูกในป่าธรรมชาติ ก็เป็นการอนุรักษ์พันธุกรรมแบบเดิม แต่จะต้องมีการใช้พื้นที่ปลูกจำนวนมาก และก็ต้องเป็นอุทยาน หรือวนอุดทยานจริงๆ พืชถึงจะอยู่รอดได้ พืชวงขิงส่วนใหญ่จะมีกลิ่นหอม ชาวบ้านก็ไปใช้ประโยชน์มากมาย ใบอ่อนของขิงก็สามารถนำไปประกอบอาหาร หรือรับประทานสดคู่กับน้ำพริกได้ เป็นการเอาใบมาใช้ประโยชน์ หากมีเง้าก็จะขุดเง้ามา แล้วไม่มีการปลูกทดแทนใหม่ ก็ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้



ความพิเศษของงานวิจัยการเพาะเนื้อเยื่อพืชวงขิงเป็นอย่างไร
สำหรับความพิเศษของการเพาะเนื้อเยื่อ จะแตกต่างจากการปลูกธรรมคือ การเพาะเนื้อเยื่อก่อนนำไปปลูกมีขั้นตอนการปรับสภาพ คือเราจะนำพืชที่ทำการเพาะเอาไว้มาปรับสภาพก่อนนำลงปลูก 2 สัปดาห์ เพื่อให้พืชได้รับแสง ได้รับอุณหภูมิที่แตกต่างจากห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพราะในห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะมีการควบคุมอุณหภูมิที่ 25 องค์ษา  มีการให้แสง 16 ชั่วโมง เลียนแบบแสงธรรมชาติ หลังจากนั้นเมื่อจะทำการปลูกพืชลงดิน เราก็จะต้องเลือกต้นที่แข็งแรงลงปลูกในลำดับต่อไป แต่เราต้องเรียรู้ด้วยว่าพืชชอบ หรือเหมาะกับวัสดุปลูกแบบไหน โดยเราจะมีการเรียนแบบธรรมชาติให้มากที่สุด แล้วพืชมีอัตราการรอดกว่า 90 %

มีนโยบายนำผลงานลงสู่ชุมชนอย่างไร
สำหรับนโยบายที่จะนำผลงานวิจัยลงสู่ชุมชนนั้น เรามีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเนื้อเยื่อให้นักเรียนระดับชั้นมัธยม และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมอบรมอย่างเนื่อง ก็เป็นการนำองค์ความรู้ลงสู่ชุมชนในระดับหนึ่ง อีกทั้งคณะวิทยาศาสตร์มีการถ่ายทอดองค์ความรู้หลายอย่างไม่ใช่เพียงแต่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพียงอย่างเดียว



ในอนาคตเรามีการพัฒนาผลงานวิจัยอย่างไร
ในเบื้องต้นเนื่องจากเราเพิ่งเริ่มทำการวิจัยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชวงขิง และศึกษาสารต่างๆ ที่อยู่ในพืชขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อทำการวิจัยเปรียบเทียบกันระหว่างพืชที่อยู่ในห้องทดลอง กับพืชที่เจริญในธรรมชาติ เรามีข้อมูลเบื้องต้นแต่ยังไม่มากพอ เพราะเราเพิ่งเริ่มทำงานวิจัยมาระยะหนึ่ง เราจะทราบว่าพืชตระกูลไหนที่เราทำการวิจัยอยู่นั้น มีแนวโน้มสารคุณภาพดี เป็นสารที่มีประโยชน์ เราจะนำข้อมูลไปประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ในอนาคต ณ ปัจจุบัน เหมือนเราทำการสำรวจในเบื้องต้น ให้เรารู้ว่า พืชชนิดนี้ที่อยู่ในธรรมชาติ หรือในหลอทดลอง อวัยวะไหนมีสารชนิดใดมาก สารชนิดใดน้อย หลังจากนั้นค่อยมาดูข้อมูลว่า สารชนิดนั้นๆ มีประโยชน์ด้านไหนบ้าง สามารถที่จะแปรรูปนำไปเป็นผลิตภัณฑ์ หรือว่าเกิดประโยชน์ด้านไหนได้บ้าง

ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานวิจัย
สำหรับปัญหา และอุปสรรคในการทำงานนั้น จะพบมากตั้งแต่ทำการเก็บตัวอย่างของพืชเป็นต้นไป แต่เราก็มีการสำรวจอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้พืชเพิ่มมากขึ้นทุกปี เพื่อนำมาทำงานวิจัย และงานวิจัยค่อนข้างใช้เวลานานต่างกันกว่าจะทำการเพาะเลี้ยงได้



อยากจะฝากอะไรถึงนักวิจัยรุ่นใหม่
อยากจะให้ทุกคนมีความพยายาม อย่าท้อ เพราะบางครั้งการทำงานวิจัยทุกอย่างนั้นก็มักจะเกิดปัญหา และอุปสรรคได้ ขอเพียงเรามีความมุ่งมั่น ทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ทุกอย่างก็จะเกิดผล และผ่านไปได้ด้วยดี

สำหรับผู้ที่สนใจการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
สามารถติดต่อผ่านมายังคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ในวัน เวลาราชการ
เบอร์ติดต่อ 043 754247-8




Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล/กราฟิก:คุณปิยะฉัตร ธนภัทรธุวานันท์ / ณัฐพงศ์ พลมะสี นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

Related Posts