มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขอแสดงความยินดีกับวง "Baleine saxophone quetat " นิสิตวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ที่ได้รับรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ความสามารถระดับเหรียญทอง จากรายการ WAMSB World Championship วันนี้ MSU ONLINE เราจะพาไปรู้จักกับพวกเขา วง Baleine saxophone quetat และเบื้องหลังความสำเร็จนั้นได้มาอย่างไร ตามเรามาดูกันเลยค่ะ
แนะนำสมาชิกในวง
สวัสดีครับพวกเราวง Baleine saxophone quetat นิสิตสาขาดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามครับ มีสมาชิกในวงทั้งหมด 4 คน คือ
1.นายรณฤทธิ์ ชาวบ้านกล่าง ปี4 เอกแซกโซโฟน ตำแหน่ง Baritone saxophone
2.นายเทพทัต จังอินทร์ เต้ยเต้ย ปี3 เอกแซกโซโฟน ตำแหน่งsoprano saxophone
3.นางสาวปาริตา ไวว่อง ปิงปอง ปี2 เอกแซกโซโฟน สาขาดนตรีศึกษา ตำแหน่ง tenor saxophone
4.นางสาว นภสร พรหมสาขา ณ สกลนคร ปี2 เอกแซกโซโฟน ตำแหน่ง Alto saxophone ครับ
รางวัลที่ได้รับในครั้งนี้
สำหรับรางวัลที่ได้รับ ก็คือ รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ความสามารถระดับเหรียญทอง จากรายการ จากรายการ WAMSB World Championship 2022 ประเภท Woowind Ensemble แข่งขันเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 จัดโดยสมาคมดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทสากล ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ครับ
รับทราบข่าวการประกวดจากที่ไหน
รับทราบข่าวการประกวดจากอาจารย์ประจำเครื่องมือเอก อาจารย์ท่านได้แนะนำมา และพวกผมก็ลองค้นหาข้อมูลใบประกาศในเพจและศึกษากติกากฎการแข่งขันเพิ่มเติมจากที่ได้ข่าวมาครับ
การรวมตัวของวง “Baleine Saxophone Quartet”
การรวมตัวร่วมกันเริ่มเมื่อสมาชิกในวงสนใจ ชื่นชอบ Saxophone quartet โดยก่อตั้งวงนี้ขึ้นมาในช่วงปลายปี พ.ศ.2564 โดยนิสิตเอกแซกโซโฟนของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ โดยมีอาจารย์กิตติคุณ จันทร์เกษ เป็นผู้ควบคุมวง ซึ่งท่านอาจารย์คอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำมาโดยตลอดจนทำให้วง Baleine Saxophone Quartet มาถึงจุดสำเร็จในทุกวันนี้ครับ
ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการฝึกซ้อม
การฝึกซ้อมใช้เวลาปรับเพลงร่วมเกือบเดือน ซึ่งพวกเราใช้เวลาว่างจากการเรียนมานัดรวมกันซ้อมโดยมี อ.กิตติคุณ เป็นผู้ควบคุมดูแลการซ้อมของพวกเรา และระหว่างการฝึกซ้อมก็มีปัญหาเล็กน้อยคือเวลาว่างของพวกเราค่อนข้างไม่ตรงกัน นัดเวลามาซ้อมค่อนข้างลำบากและปัญหาใหญ่เลยก็คือสมาชิกในวงในตำแหน่ง tenor saxophones ติดเชื้อโควิด19 ก่อนเดินทางไปแข่งขัน 4 วัน ทำให้ไม่สามารถไปร่วมแข่งขันครั้งนี้ได้ แต่ทางวงได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์กิตติคุณ มาเล่นแทนในตำแหน่ง tenor saxophone เลยยังทำให้วงสามารถที่จะไปแข่งต่อได้ครับ
ความรู้สึกที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันในครั้งนี้
ความรู้สึกแรกที่ได้ไปเยือนเวทีการแข่งขันเป็นอะไรที่ประทับใจมากครับ ทั้งสถานที่และผู้คน ก่อนทำการแข่งขันมีอาการประหม่ามากครับแต่พอขึ้นเวทีจริง เป็นอะไรที่สนุกและมีความสุขมากครับ
และเมื่อวินาทีที่ชื่อวงของเราได้ถูกประกาศขึ้นรู้สึกตกใจและดีใจในเวลาเดียวกันเลยครับ และรางวัลนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ครับ ถ้าหากขาดการสนับสนุนจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ที่เป็นทุกอย่างให้ทั้งค่าที่พัก ค่าเดินทาง และอาจารย์กิตติคุณ จันทร์เกษที่ปลุกปั้นวงนี้ขึ้นมาและคอยควบคุมการฝึกสอนทั้งหมด ทั้งยังช่วยประสานงานกับทางวิชาการให้ และคณาจารย์ เพื่อนพี่น้องทุกๆ คนที่ส่งแรงเชียร์แรงใจมาให้พวกเรา ทางวงของเราขอขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ
ประสบการณ์ที่ได้รับจากการแข่งขันในครั้งนี้ จากประสบการณ์ที่ได้จากการแข่งขันในครั้งนี้ ก็ถือว่าประสบการณ์ที่ดีมาก ๆ ครับ พวกเราได้เจอสังคมดนตรีที่กว้างมาก ได้ฟังเสียงดนตรีที่ไพเราะและสถานที่เป็นที่น่าจดจำ แหละนั่นก็คือศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งเป็นประสบการณ์ของพวกเราที่ไม่มีวันลืมได้เลยครับ
เป้าหมายมีไว้พุ่งชน มองอนาคตข้างหน้าอย่างไรบ้าง
อนาคตข้างหน้าก็อยากจะทำให้ดีและเต็มที่กว่าเดิม อยากลงแข่งในหลาย ๆทัวร์ที่จะเกิดขึ้นภายในภาคหน้าและอยากให้มีการแข่งขันดนตรีที่มหาสารคามของพวกเราครับ
เชิญชวนน้องๆ มาเรียนที่วิทยาลัยดุริยางค์ศิลป์
อยากจะเชิญชวนน้อง ๆ ที่สนใจในดนตรีไม่ว่าจะเป็นภาคดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้าน หรือดนตรีสากลนะครับ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีสำหรับหรับผู้ที่สนใจหรือมีความสามารถทางด้านดนตรี ในทางวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ของเราก็มีอุปกรณ์การเรียนที่เพียบพร้อม มาเป็นหนึ่งในสมาชิกของพวกเราด้วยกันนะครับ