คณะแพทย์แผนไทยประยุกต์ พร้อมเจ้าหน้าที่ โรงพยาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ออกให้บริการ ทำการตรวจวินิจฉัย รักษาพยาบาล การประคบยาสมุนไพร และการพอกยาสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดเมื่อยในเบื้องต้นของชาวบ้านชุมชนศรีสวัส จังหวัดมหาสาราคาม โดยคลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์มีนโยบายที่จะมุ่งเน้นการออกให้บริการการตรวจรักษาลงชุม อีกทั้งยังส่งเสริมสุขภาพด้วยทฤษฎีแพทย์แผนไทยสู่ชุมชนเพิ่ม จำนวน  6  ชุมชน  

     นำโดยนายปฏิคม พาสว่าง เจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทยประยุกต์รงพยาลสุทธาเวช สังกัดคลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  นำทีมแพทลงชุมชน



ความสำคัญของโครงการ

             ปัจจุบันงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นอกจากเราจะเปิดคลีนิคตั้งรับผู้มาขอรับบริการ เรายังมีบริการเชิงรุก เพื่อให้ประชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้เข้าถึงงานบริการของแพทย์แผนไทยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เราได้ดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่อง และได้รับการตอบรับจากชุมชนเป็นอย่างดีจะเห็นได้ว่าประชาชนทั่วไปในชุมชนสนใจมารับบริการงานแพทย์แผนไทยอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งต่อไปสังคมไทยจะมีวัยผู้สูงอายุมากขึ้นตามลำดับ ปัญหาสุขภาพด้านความเสื่อมโทรมของร่างกายซึ่งเกิดจากพฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำ ทำให้เกิดการเจ็บป่วยมีโรคประจำตัวอันส่งผลให้เกิดความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ องค์ความรู้ด้านแพทย์แผนไทยเป็นอีกศาสตร์ที่สามารถเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพของประชาชนได้ อีกทั้งยังสอดคล้องกับบริบทสังคมคนไทยมาช้านาน งานแพทย์แผนไทยประยุกต์ จึงได้จัดทำโครงการแพทย์แผนไทยใกล้ชุมชน เพื่อให้บริการ ตรวจรักษาด้านการแพทย์แผนไทยแก่ประชนชนในเขตรับผิดชอบ ซึ่งจัดโครงการทุกวันศุกร์ เวลา 08.30 – 12.00 ณ วัดศรีสวัสดิ์ดำเนิน ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 


วัตถุประสงค์ของโครงการ

                 เพื่อให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์กับประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งเป็นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนด้วยการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สร้างทัศนคติด้านการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยประยุกต์ให้ยั่งยืน  และพัฒนางานบริการของงานแพทย์แผนไทยประยุกต์

หน่วยงานที่สนับสนุน  

               ในการดำเนินการจัดโครงการโดยการออกชุมชนแต่ละครั้ง  ได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  วัดศรีสวัสดิ์ดำเนิน 1, 2, 3 อสม.ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ 6 ชุมชน และประชาชนในเขตรับผิดชอบใกล้เคียง 

กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มใด

        กลุ่มเป้าหมายที่มุงเน้น คือประชาชนในชุมชนศรีสวัสดิ์ 1, 2, 3 และประชาชนในเขตรับผิดชอบใกล้เคียง  




งบประมาณ

การดำเนินการจัดโครงการในครั้งนี้ ไม่ได้ใช้งบประมาณในการจัดโครงการ เพราะเนื่องจาก
เป็นโครงการนอกแผนประประจำปีงบประมาณ


ผู้มาใช้บริการในโครงการแต่ละครั้ง

  ผู้ที่มาใช้บริการส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ใช้สิทธิข้าราชการเบิกได้ตามสิทธิ์ ประชาชนในเขตรับผิดชอบส่วนใหญ่จะใช้สิทธิ์บัตรทอง และพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ฟรีค่าบริการ



มีการตอบสนองของผู้มาใช้บริการเป็นอย่างไร

               การตอบรับจากผู้เข้าร่วมโครงการ  ผู้ที่มาใช้บริการส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ มักจะมีความคุ้นเคยกับการใช้สมุนไพรเป็นอย่างดี เพราะเคยมีประสบการณ์การใช้ยากลางบ้าน รู้จักหมอพื้นบ้าน ยาสมุนไพรจึงเป็นที่นิยม และได้รับการยอมรับง่าย ส่วนการนวดบำบัด การประคบสมุนไพร หรือการอบสมุนไพรนั้น ก็เป็นเสนห์ของการแพทย์แผนไทยอีกอย่างหนึ่งที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในอดีต ใช้บรรเทาความปวดเมื่อยล้าจากการทำงานหนัก ถือได้ว่าแพทย์แผนไทยใกล้ชุมชนได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้มาใช้บริการเป็นอย่างดี



ปัญหาและอุปสรรค  

        สถานที่การจัดโครงการยังไม่เหมาะสม  ซึ่งปัจจุบันสถานที่การจัดโครงการเป็นศาลาเอนกประสงค์ของวัด สำหรับการนวด ประคบ และอบสมุนไพรอาจดูเปิดเผยเกินไป


ในอนาคตข้างหน้าต้องการจะจัดโครงการแพทย์แผนไทยลงชุมชนอย่างไร

                มีอีกหลายชุมชนที่เรายังไม่สามารถเข้าถึงชุมชน เช่น ชุมชนธัญญาวาส และชุมชนตักสิลา งานแพทย์แผนไทย  โรงพยาบาลสุทธาเวชมีวัตถุประสงค์จะมีการบริการเชิงรุกเพิ่มมากขึ้น เพื่อกระจายการเข้าถึงงานบริการด้านการแพทย์แผนไทย อันจะเป็นการป้องกัน สร้างเสริม รักษา และฟื้นฟูสุขภาวะด้านสุขภาพของประชาชนในเขตรับผิดชอบต่อไป โครงการนี้จึงควรมีการดำเนินติดต่อเนื่อง เพื่อความต่อเนื่องการออกให้บริการที่ใกล้ชิดชุมชนมากขึ้น เราจะได้เรียนรู้ชุมชน เข้าใจชุมชนและเป็นที่พึ่งพาของชุมชนได้ ท้ายนี้ขอฝากโครงการแพทย์แผนไทยใกล้ชุมชนของ โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถ้าหากว่าท่านใดสนใจการใช้ศาสตร์การดูแลสุขภาพแบบภูมิปัญญาไทยในการดูแลสุขภาพภาพของท่านแล้วล่ะก็สามารถเข้าไปรับบริการได้ในวัน เวลาและสถานที่กล่าวข้างต้น หวังว่าภูมิปัญญาแบบไทยๆจะช่วยให้ท่านมาสุขภาพที่ดีขึ้นและสามารถนำคำแนะนำไปปฏิบัติในการดูแลตนเองและคนใกล้ชิดได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ



ผู้ที่รับผิดชอบโครงการในครั้งนี้  

ประกอบด้วยอาจารย์ประจำหลักสูตรแพทย์แผนไทยประยุกต์ จำนวน 1 คน เจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทยประยุกต์ จำนวน 5 คน นิสิตแพทย์แผนไทยประยุกต์ 
1.นางสาวนงนุช วีระวงค์  ตำแหน่งหัวหน้างานแพทย์แผนไทยประยุกต์
2.นางสาวสุพรรณิการ์ วงษ์วิลา ตำแหน่งแพทย์แผนไทย
3.นางสาววิรา นิลดำ  ตำแหน่งแพทย์แผนไทย
4.นายศรีอรุณ โพธิ์เกตุ  ตำแหน่งแพทย์แผนไทย
5.นายปฏิคม พาสว่าง  ตำแหน่งแพทย์แผนไทยประยุกต์
6.นางสาวนันทิกานต์ พรมดี  ตำแหน่งเจาหน้าที่แพทย์แผนไทยประยุกต์
7.นางสาวพัชริน ภูผาลินิน  ตำแหน่งแพทย์แผนไทยประยุกต์




Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล

Related Posts