สถานการณ์ COVID-19 สำหรับปัจจุบันนี้ก็ถือว่าดีขึ้นตามลำดับ ณ ตอนนี้มีอัตราการเสียชีวิตลงมาเหลือเพียง 10 กว่ารายจากทั่วประเทศ และมีการที่ติดเชื้อต่อวันก็ประมาณ 2000 คนต่อวัน ซึ่งก็ถือได้ว่ารัฐบาลจะมีการผ่อนคลาย และในทางปฏิบัตินั้นเราอาจจะเรียกได้ว่าสามารถเป็นโรคประจำถิ่นได้แล้วในเร็วๆ นี้เราจึงต้องมีการเรียนรู้ และวิธีการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) สำหรับการเปิดเรียนอย่างเป็นทางการ โดย ผศ.ดร.เทพลักษ์ ศิริธนะวุฒิชัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม




นิสิตใหม่ที่จะต้องดูแล และระมัดระวังตนเองให้ไกลจากเชื้อไวรัส สำหรับการเปิดเรียนอย่างเต็มรูปแบบอย่างไร
คงจะเป็นนโยบายเดียวกันทั่วประเทศในการปฏิบัติตนอย่างไรให้ห่างจากเชื้อไวรัส เชื้อโควิด -19 ที่เรียกว่า DMST ก็คือ 
        1.พยายามแยกห่างจากผู้ที่ติดเชื้อเท่าที่ทำได้
        2.สวมหน้ากากอนามัย
        3.ล้างมือบ่อยๆ
        4.สังเกตุอาการ
        5.มีการวัดไข้
        6.พบแพทย์


        
        ซึ่งหลักการเหล่านี้ก็เป็นหลักการโดยทั่วไป ที่ยังมีประโยชน์อยู่มาก อีกส่วนหนึ่งคณะแพทย์มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการประกาศมาตรการเสริม ในการป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 หากทุกคนปฏิบัติตัวเองได้ตามนี้ไม่เพียงเป็นการป้องกันเฉพาะเชื้อไวรัส COVID-19 ได้เพียงเท่านั้น ทุกคนยังจะสามารถป้องกันจากโรคอื่นๆ อีกมากได้เป็นอย่างดี โดยขอให้ทุกคนปฏิบัติตามมารตการเสริม ของคณะแพทยศาสตร์ดังรายละเอียดต่อไปนี้
       1.  ให้นิสิต สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในอาคาร ในขณะที่มีการเรียนการสอน และมีการเว้นระยะห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัส COVID-19 
        2.  ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนรักษามาตรการสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา อย่างเคร่งครัด ใน 6 มาตรการหลักดังต่อไปนี้
มาตรการหลัก (DMHT-HRC)
Distancing         การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร
Mask wearing    การสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ที่อยู่ในสถานศึกษา
Hand washing   ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ และน้ำ นาน 20 วินาที หรือใช้เจลแอลกอฮอล์
Testing              การคัดกรองวัดไข้ สังเกตอาการ ซักประวัติผู้สัมผัสเสี่ยงก่อนเข้าสถานศึกษา
Reducing          การลดการแออัด ลดการเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง หรือพื้นที่ที่มีกลุ่มคนจำนวนมาก
Cleaning           การทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวสัมผัสร่วม อาทิ ที่จับประตู ลูกบิด ราวบันได



6 มาตรการเสริม (SSET-CQ)
        S   ที่ 1 คือ   SSET-CQ มาจาก Self-care 
        S   ที่ 2 คือ   Spoon การใช้ช้อนส่วนตัว หรือช้อนกลางทุกครั้งเมื่อต้องรับประทานอาหารร่วมกัน
        E   คือ         Eating การกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ กรณีอาหารเก็บเกิน 2 ชั่วโมง ควรนำมาอุ่นให้ร้อนก่อนนำไปรับประทาน
        T   คือ         Track การลงทะเบียนการเข้าออกสถานศึกษา หรือลงทะเบียนด้วย Application ไทยชนะ
        C   คือ         Check การสำรวจตรวจสอบบุคคล หรือกลุ่มเสี่ยง เพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง
        O   คือ         Ouarantine การแยกพื้นที่กับผู้อื่นหลังเข้าไปสัมผัส หรืออยู่พื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดของโรค COVID-19
        กรณีนิสิต อาจารย์ และบุคลากร ที่มีประวัติสัมผัสเสี่ยงสูง (หมายถึง ไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย และใกล้ชิดพูดคุยกับผู้ติดเชื้อในระยะ 2 เมตร นานกว่า 5 นาที ผู้ที่ติดเชื้อไอจามใส่ตั้งแต่ 3 วัน ก่อนมีอาการ หรือขณะมีอาการ อยู่ในสถานที่ปิด มีอากาศถ่ายเทไม่ดี กับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสฯ นานกว่า 30 นาที) สามารถมาทำงาน หรือเข้าเรียนได้ตามปกติ โดยมีการแยกพื้นที่กับบุคคลอื่น และใช้มาตรการป้องกันตัวเองสูงสุด มีการงดทำกิจกรรมร่วมกับคนหมู่มาก สังเกตอาการตนเอง จำนวน 10 วัน และมีการตรวจ ATK เมื่อมีอาการผิดปกติที่เข้ากับอาการเริ่มแรกของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)


       
       กรณีนิสิต อาจารย์ และบุคลากร มีอาการผิดปกติที่เข้าได้กับอาการเริ่มแรกของโรคไวรัสโคโรน่า (COVID-19) (เช่น มีไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส มีการหายใจเหนื่อยหอบ หรือมีการหายใจลำบาก ตาแดง ผื่น ถ่ายเหลว)  กรณีเหล่านี้ ไม่ว่าจะมีประวัติการสัมผัสเสี่ยง หรือไม่ก็ตาม ให้ทุกคนรีบทำการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ด้วยตัวเองโดยทันที โดยใช้ชุดตรวจ ATK หากผลการตรวจออกมาเป็นบวก ให้ปฏิบัติตามข้อที่ 5. หากผลการตรวจเป็นลบ แต่ยังมีอาการต้องสงสัย ให้มีการกักตัวเองอยู่ในที่พัก เพื่อสังเกตอาการ แล้วจึงมีการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ด้วย ATK ซ้ำอีกครั้งอีกใน 1-2 วัน หากผลตรวจ ATK ยังคงเป็นลบอยู่อีกนั้น แต่ยังมีอาการต้องสงสัย ให้ติดต่อเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ ที่คลินิกโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ (ARI clinic) ณ โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
        ทั้งนี้ในระว่างการกักตัว ให้นิสิตโทรศัพท์ไปแจ้งอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา อาจารย์ผู้สอน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการโดยเร็ว เพื่อทำเรื่องขอลาเรียน และอาจารย์จะได้มีการเตรียมรูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์แทน (ดำเนินการทางโทรศัพท์เท่านั้น) หลังจากนั้นให้มีการติดต่อขอเข้ารับบริการ “เจอ แจก จบ” ที่คลินิกโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ (ARI clinic) ณ โรงพยาบาล
        ให้นิสิตรักษาตัวอยู่ในที่พักเป็นเวลา 7 วัน โดยให้แยกใช้ของส่วนตัว หากจำเป็นที่จะใช้ห้องน้ำร่วมกัน ให้ทิ้งระยะเวลาในการที่จะเข้าใช้ห้องน้ำร่วมกัน และสวมหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาที่อยู่ร่วมกันเมื่อครบ 7 วัน แล้วสามารถเดินทางมาเรียนได้ โดยแยกพื้นที่กับคนอื่น และใช้มาตรการป้องกันตนเองสูงสุด งดทำกิจกรรมกับคนหมู่มาก ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 3 วัน (กรณีที่นิสิตยังรู้สึกไม่สบาย เช่น มีไข้ มีการไอ มีการเหนื่อยเพลีย ให้รักษาตัวอยู่ในที่พักจนครบ 10 วัน) เมื่อครบ 10 วันหลังจากตรวจพบผลบวกแล้วนั้น ให้เดินทางมาเรียนได้ตามปกติ และให้ยึดแนวปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 4 ต่อไป



โรงพยาบาลมีวิธีการเตรียมความพร้อมจะรับมือกับสถานการณ์เปิดเรียนอย่างเต็มรูปแบบอย่างไรบ้าง
สำหรับการรับมือของสถานการณ์ COVID-19 มหาวิทยาลัยมีการเตรียมรับมือกับสถานการณ์อย่างเต็มที่ เพราะเนื่องจากว่า ณ ปัจจุบันสถานการณ์ทั่วประเทศเป็นเหมือนกันทั้งหมด และให้มีการเรียนการสอนเปิดออนไซต์เหมือนกันทั้งหมดทั่วประเทศ แต่หากมีความจำเป็นหรือมีความเสี่ยงสูงก็ยังสามารถเปิดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้
ในเรื่องของมาตรการ ณ ปัจจุบันนี้นั้นรัฐบาล มีการประกาศการผ่อนปรนในเรื่องของการสวมหน้ากากอนามัย กรณีเช่น เป็นผู้ที่มีกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ สตรีที่ตั้งครรภ์ และคนที่มีโรคประจำตัว หรือเข้าไปในห้องที่ปิดไม่มีอากาศถ่ายเทที่ดี และชุมชนที่มีคนมากมาย เราต้องมีการสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันตัวเองต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)



ความพร้อมของสถานที่คัดแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อฯเป็นอย่างไรบ้าง
ความพร้อมด้านสถานที่ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย เรามีการเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ และรัฐบาลมีนโยบาย หากพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) นั้น ให้เข้ารักษาตามระบบปกติโดยที่ไม่จำเป็นเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ส่วนของโรงพยาบาลสนามของมหาวิทยาลัยของเราได้ปิดไปแล้วนั้น เนื่องจากปัจจุบันเราไม่มีคนไข้ ที่จำเป็นต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลสนาม แต่ถึงอย่างไรเรามีการเตรียมความพร้อมการรับสถานการณ์อย่างเคร่งครัด หากสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) อาจมีการกลายพันธ์ หรือว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลง โรงพยาบาลสนามของโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สามารถพร้อมเปิดใช้ตามสถานการณ์ได้ในทันที
กรณีนิสิตอยู่ในหอพักในมหาวิทยาลัย หากพบว่าติดเชื้อไวรัสจะทำอย่างไร
หากพบว่านิสิตติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) เมื่อมีการตรวจพบเชื้อไวรัส 2 ขีดนั้น เราพยายามจะให้อยู่ที่เดิมไปก่อน ปัจจุบันจะไม่เร่งทำการคัดแยก เช่นเมื่อก่อนแล้วนั้น แต่เราต้องมีการแยกของใช้ส่วนตัวออก และการใช้ห้องน้ำอย่าใช้ร่วมกันในเวลาใกล้เคียงกัน ต้องทิ้งระยะเวลาไว้สักระยะก่อนจะใช้ห้องน้ำร่วมกัน และสวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ และแอลกอฮอล์ ก็คงต้องปฏิบัติเหมือนในอดีตที่เรามีเพื่อนๆ เป็นไข้หวัดใหญ่  ซึ่งอาการของไข้หวัดใหญ่ มีดังต่อไปนี้


         
       หากมีความจำเป็นจริงๆ ที่มีคนเพื่อนป่วยที่อยู่ในห้องอยู่แล้ว เรามีสถานที่ให้แยกกักตัว และรักษาตัวจากเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) หากเรามีการปฏิบัติตัว และมีการป้องกันที่ดีเช่นนี้ก็จะสามารถดำเนินชีวิตร่วมห้องด้วยกันได้อย่างปลอดภัยในระดับหนึ่ง หากมีความจำเป็นที่ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้จริงๆ หรือหากนิสิตกลุ่มใดที่ไม่สามารถอยู่ร่วมกับเพื่อนที่ป่วยมีโรคประจำตัวอยู่เดิมแล้ว ก็สามารถแจ้งมาที่โรงพยาบาลได้ เรามีการเตรียมพร้อมของสถานที่ไว้สำหรับคนไข้ที่ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)



แนวทางการรักษา
ปัจจุบันเรามีกรณีกลุ่มคนไข้ ที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) บางส่วนที่ทำการนอนรักษาที่โรงพยาบาลอยู่ขณะนี้ สำหรับกลุ่มวัยรุ่นเรามีระบบทำการรักษาของกระทรวง คือการรักษาแบบ Home Isolation สำหรับกลุ่มคนไข้ที่มีความเสี่ยงสูง และมีคนไข้มาขึ้นทะเบียนเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง กรณีตรวจ ATK บวก ให้ขึ้นทะเบียนการรักษา หลังจากนั้นแพทย์มีการตรวจร่างกาย ให้ยากลับไปทานที่บ้าน หลังจาก 48 ชั่วโมงจะมีเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล โทรถามอาการว่าเป็นอย่างไรดีขึ้น หรือไม่ หากรู้สึกว่ายังไม่ดีขึ้น ให้รีบกลับมาเอกซเรย์ปอด หรือให้มาเข้าโครงการ Home Isolation โครงการ Home Isolation หากพบความเสี่ยงเราก็มีการจ่ายยา ให้ปรอทวัดไข้ ให้เครื่องวัดออกซิเจน และมีเจ้าหน้าที่โทรติดตามอาการทุกๆ วัน จนครบ 10 วัน แต่ปัจจุบันหากมีการตรวจหาเชื้อไวรัสด้วย ATK + ก็จะให้มีการกักตัวเพียงแค่ 7 วันเท่านั้น หลังจากนั้นก็สามารถออกมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ



หลังจากที่พบการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)  ต้องมีการเว้นระยะห่างนานเท่าไหร่ในการรับวัคซีนเข้มต่อไป
หลังจากที่มีผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ที่รักษาตัวหายแล้วนั้น เมื่อประสงค์ที่จะรับการฉีดวัคซีนครั้งต่อไปนั้น จะต้องมีการเว้นระยะห่างโดยปกติ 3 เดือน ขึ้นไปจึงจะได้ประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับวัคซีนเข็มต่อไป
เพราะฉะนั้นแล้ว ก่อนที่จะทำการเปิดการเรียนการสอนของนิสิตในภาคเรียนใหม่ เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจร่างกายนิสิตทุกคนก่อนที่จะเข้ามาเรียน เพื่อความสบายของผู้เรียน ผู้สอน และผู้ปกครองเอง สำหรับการตรวจร่างกายของนิสิตใหม่นั้น มหาวิทยาลัยมีการตรวจร่างกายหลายอย่าง เช่น เอกซเรย์ปอด เพราะเนื่องจากว่าหลายคนคงลืมไปแล้วว่าโรคที่สามารถติดต่อไปอย่างรวดเร็วคือโรคปอด ซึ่งเรามีการตรวจพบทุกปีการศึกษาสำหรับนิสิตใหม่

สามารถติดต่อสอบุถาม หรือเข้ารับการรักษาได้ที่
โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ที่ตั้งปัจจุบัน
79/99 ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000
โทรศัพท์ : 043 021021
โทรสาร : 043-722991
เว็บไซต์ : www.med.msu.ac.th
อีเมล : medicine@msu.ac.th

Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล

Related Posts