มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มอบรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยดีเด่น ให้บุคลากรประจำปี 2564 ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับแวดวงการวิจัย และสังคมวิชาการทั่วไป ตลอดจนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีการส่งเสริม และสนับสนุนบุคลากร คิดสร้างสรรค์ผลงานงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อชุมชน สังคมจำนวนมาก มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการการพิจารณา คัดเลือก และมีมติมอบรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยดีเด่น แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร หาญสูงเนิน อาจารย์สาขาวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



ประวัติการศึกษา
สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ เกียรตินิยมอันดับ 2 จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
         อีกทั้งยังได้รับทุนศึกษาต่อสาขาขาดแคลน เพื่อศึกษาต่อภายในประเทศ ระดับปริญญาโท และปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ความรู้สึกที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้
       ทันทีเมื่อทราบว่ามหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีประกาศอย่างเป็นทางการว่าตนเองได้รับรางวัลเชิญชูเกียรตินักวิจัยดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี พุทธศักราช 2564 ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ความรู้สึกแรก ณ เวลานั้น เป็นความรู้สึกที่หลากหลายอธิบายไม่ถูก ทั้งดีใจ สุขใจ ซาบซึ้งใจ ไปในเวลาเดียวกัน กับความสับสน มึนงง วนเวียนอยู่ในหัวของตัวเองเช่นกันครับ พอเวลาผ่านไปสักพักความรู้สึกภาคภูมิใจ และอิ่มเอมใจก็เกิดขึ้น พร้อมๆ กับภาพของทุกๆ คน ที่มีพระคุณ คอยสนับสนุนอยู่เบื้องหลังก็ค่อย ๆ พรั่งพรูเข้ามาอยู่ในความรู้สึกขณะนั้น รู้สึกเป็นเกียรติที่สุด ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตของตนเองได้มีโอกาสรับรางวัลอันทรงคุณค่านี้ และขอใช้โอกาสนี้แสดงความขอบคุณบุพการี ผู้ให้กำเนิดชีวิต ขอบคุณครู และอาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชา ขอบคุณมหาวิทยาลัย และคณะผู้บริหารที่ให้โอกาส ให้ความเมตตา และมองเห็นศักยภาพของอาจารย์ที่ประสบการณ์น้อยคนหนึ่ง ขอบคุณลูกศิษย์ และเพื่อนพ้องน้องพี่ทั้งที่ทำงานร่วมกัน และไม่ได้ทำงานร่วมกัน ที่คอยเป็นกำลังใจ และเป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกันเสมอมา และสุดท้ายขอขอบคุณครอบครัวที่คอยเป็นกำลังใจ และให้การสนับสนุนในทุกๆ เรื่อง ทุกการตัดสินใจที่ผ่านมา 



มุมมองของนักวิจัยมีข้อจำกัดอะไรบ้างในการทำงานวิจัย
         ในมุมมองของตนเองนั้น  อุปสรรคใหญ่ในการทำงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย คือแรงบันดาลใจของท่านอาจารย์ครับ หากย้อนไปทบทวนถึงประสบการณ์ของตนเองในเรื่องของการวิจัย ยากที่สุดคือการเริ่มต้นการทำวิจัย เพราะงานวิจัยต้องใช้แรงบันดาลใจมากระดับหนึ่งเช่นกัน ถึงจะมีความมุ่งมั่น และสามารถลงมือทำงานวิจัยอย่างจริงจังได้ เมื่อมีแรงบันดาลใจแล้วตนเองติดว่ายังไม่เพียงพอครับ เราจะต้องเอาชนะข้อจำกัดต่างๆ เพื่อให้สามารถทำงานวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังจากเริ่มต้นทำวิจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลา สถานที่ อุปกรณ์ และเครื่องมือ งบประมาณ ครอบครัว สุขภาพ และอื่นๆ ที่นักวิจัยจะต้องบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลให้ได้  หลังจากทำงานวิจัยจนได้ผลการวิจัยในระดับหนึ่งแล้ว จะต้องมีการเขียนงานวิจัย เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ ที่ค้นพบทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล ซึ่งก็เป็นอีกอุปสรรคอย่างหนึ่งของนักวิจัยหลายท่าน ที่ไม่ชอบ หรือไม่ถนัดในการเขียนบทความวิจัย ซึ่งก็เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งที่ตนเองประสบมากับตัวเองเช่นกัน 


     
           เมื่อก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆ จนสามารถเขียนบทความวิจัยได้แล้ว อุปสรรคหนึ่งที่ต้องพบ คือความผิดหวัง ความเหนื่อยล้า และความท้อแท้ หลังจากบทความวิจัยที่ส่งไปไม่ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ พร้อมกับความคิดเห็นต่างๆ นานาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งอ่านแล้วบั่นทอนจิตใจ (เป็นเรื่องปกติของนักวิจัยที่จะพบชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเก่งกาจสามารถในการทำวิจัยมามากมายขนาดไหน) จนทำให้นักวิจัยหลายท่านถอดใจ และทิ้งงานวิจัยไป ซึ่งจริงๆ แล้วยังมีอีกหลายมุมมอง และหลาย แง่มุมที่ส่งผลทำเกิดข้อจำกัดต่างๆ ในการทำงานวิจัยของนักวิจัย  ซึ่งตนเองขอกล่าวถึงเป็นการเบื้องต้นเท่านี้ก่อนครับ และขอใช้โอกาสนี้เป็นกำลังใจเล็กๆ ให้กับนักวิจัยทุกๆ ท่านที่ต้องสอน และทำวิจัยควบคู่ไปด้วยกัน “รู้ว่าเหนื่อย...รู้ว่าหนักครับ” เป็นกำลังใจให้ทุกๆ ท่านครับ  



อาจารย์มีแนวทางอย่างไรที่จะผลักดันการสร้างผลงานวิจัยดี ๆ ออกสู่สังคม และก้าวผ่านอุปสรรค
       สำหรับงานวิจัยที่ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ และทดสอบตามหลักการ และทฤษฎีที่ถูกต้องในแต่ละแขนงวิชา เป็นงานวิจัยที่ดีทั้งหมดครับ หากแต่จะเกิดผลกระทบต่อสังคมมาก หรือน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับจังหวะ โอกาส และบริบทของสังคมในขณะนั้น ที่จะหยิบยกเอางานวิจัยในแต่ละชิ้นไปใช้ประโยชน์ หากเป็นงานวิจัยที่ตนเองชอบและรู้สึกว่าเป็นงานวิจัยที่ดีเป็นพิเศษจะเป็นงานวิจัยที่มีความลุ่มลึก และมีการบูรณาการศาสตร์ที่หลากหลายร่วมกันอย่างกว้าง ซึ่งจะสามารถค้นพบองค์ความรู้ และมุมมองใหม่ๆ ที่จะนำไปสู่การค้นพบผลการทดลอง ประสบการณ์ และความคิดนอกกรอบที่สร้างสรรค์งานวิจันใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ต่อชุมชน สังคมต่อไป แน่นอนหากเป็นงานวิจัยใหม่และมีประโยชน์ มันจะส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างอย่างแน่นอน


       
         และองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ค้นพบเหล่านี้จะได้รับการตอบรับจากองค์กร หรือสื่อต่างๆ ที่มีชื่อเสียง และน่าเชื่อถือในการนำไองค์ความรู้ออกไปเผยแพร่สู่สังคมในวงกว้างต่อไป แต่การศึกษาวิจัยที่มีความลุ่มลึก และข้ามศาสตร์นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะต้องอาศัยเวลา ประสบการณ์ เครือข่าย แรงบันดาลใจ ความพยายาม ความอดทน ความต่อเนื่อง และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งปัจจุบันตนเองยังไม่สามารถไปถึงในจุดจุดนั้น แต่คิดว่าองค์ประกอบเหล่านี้จะนำพาให้ตนเองและนักวิจัยทุกท่านสามารถก้าวผ่านอุปสรรค และสามารถสร้างสรรค์งานวิจัยที่ดีมีคุณภาพออกสู่สังคมได้อย่างมีคุณภาพสูงสุดต่อไป 



ในฐานนะอาจารย์เป็นนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาจารย์ได้รับการสนับสนุนอย่างไรบ้าง
       ในฐานที่ตนเองเป็นนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นผู้ให้ และมีส่วนสร้างตัวตนของตนเองขึ้นมาเป็นนักวิจัยได้ในวันนี้ มหาวิทยาลัมหาสารคามเป็นสถานที่ ที่ให้กระผมได้เล่าเรียน เป็นสถานที่ ที่ให้กระผมได้ประกอบสัมมาอาชีพ และเป็นสถานที่ ที่ให้ครอบครัวของกระผมได้พักพิงอาศัยในห้วงเวลาของการสร้างเนื้อสร้างตัว ซึ่งตนเองได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยในทุกๆ มิติของชีวิตครับ แต่หากโฟกัสเฉพาะในเรื่องของการวิจัย  มหาวิทยาลัยสนับสนุนตนเองในหลายๆ เรื่องอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกในการวิจัยต่างๆ ให้การสนับสนุนเครื่องมือ และอุปกรณ์ในการวิจัย ให้การสนับสนุนงบประมาณในการวิจัย ช่วยจัดโครงการต่างๆ เพื่อให้ความรู้ และพัฒนาทักษะในการวิจัยอย่างต่อเนื่อง และอื่นๆ อีกมากมายที่ตนเองไม่สามารถกล่าวได้ทั้งหมด ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  และบุคลากรทุกท่านที่มีส่วนในการสนับสนุน และส่งเสริมตนเองที่มีโอกาสรับรางวัลอันทรงเกียรตินี้อี


ขอขอบคุณ
ดร.สุภกร หาญสูงเนิน อาจารย์สาขาวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ภาพจากงานข่าว/งานวิทยุและโทรทัศน์

Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   -

Related Posts