อาจารย์นักวิจัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เล็งเห็นความสำคัญของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อการขยายพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงเป็นส่วนหนึ่งที่มีการให้บริการในเรื่องของการถ่ายทอดองค์ความรู้ จัดอบรมความรู้ให้กับชุมชน หรือประชาชนผู้ที่สนใจการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อการขยายพันธุ์พืชอย่างมีคุณภาพ ภายใต้การดำเนินการของ อาจารย์ ดร.อริสราภรณ์ สมบุญวัฒนกุล ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะ
 

ชื่องานวิจัย
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อการขยายพันธุ์

มีการเจาะจงเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชชนิดไหนเป็นพิเศษ หรือไม่ 
จริงๆ แล้ว ย้อนไปงานที่เราอบรมไป ก็คือเราอบรมกับคุณเคน โดยเป็นการจัดอบรมออนไลน์ จัดเต็มมากช่วงเดือนพฤศจิกายน ช่วงนั้นก็คือเทรนด์ไม้ด่างกำลังเป็นที่นิยม เราก็จะมีไม้ด่างที่คุณเคนส่งมาส่วนหนึ่งให้เรานำมาขยายพันธุ์ต่อยอด เช่นกล้วยแดงอินโด ขณะนี้มีกล้วยแดงอินโดจำนวนมาก และมีพวกบอนสีต่าง ๆ จำนวนมาก ขณะนี้เราก็มองในส่วนของความต้องการของตลาดว่ามีความต้องการอะไรในตอนนี้ ผลคือกล้วยแดงอินโด เพราะกำลังอยู่ในกระแส และเป็นที่นิยม



วัตถุประสงค์
เพื่อตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ต้องการคณะ หน่วยงาน มีการจัดหารายได้ขึ้นมาเสริม

ความพิเศษการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อการขยายพันธุ์
       การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อการขยายพันธุ์มีความพิเศษคือ เรามีต้นแม่พันธุ์มา 2 คือเราจะได้ลักษณะต้นพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สมมติว่าเรามีแค่ 1 เมล็ด เรานำมาเพาะต้องใช้เวลามาก แต่หาก 1 เมล็ดปกติเราก็จะได้ 1 ต้น แล้ว 1 ต้นกว่าจะได้เป็นร้อยต้นก็จะใช้เวลานาน แต่นี่เราใช้วิธีการเพาะเนื้อยเยื่อ เราจึงใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนถึงสองเดือน เราก็จะได้เป็นพันต้น เป็นหมื่นต้นเลย ก็คือเราใช้เวลาที่น้อยและเร็วมากในการเพาะเนื้อเยื่อแล้วได้ผลลัพธ์ที่มากมาย สมมติว่าเขามีต้นแม่พันธุ์ สมมติว่าอย่างไทคอนต้นละ 3,000 บางต้นมีราคาถึง 10,000 บาท ซึ่งช่วงนี้จะนิยมบอนสี บอนกระดาษ บอนช้าง มีราคาต้นละ 15,000 บาท สมมติว่าต้นละ 15,000  บาท กว่าเราจะได้มาจะใช้เวลาที่นาน พอนำมาเพาะเนื้อเยื่อ เราจะใช้เวลาทำประมาณเดือน หรือสองเดือนก็ได้ต้นเนื้อเยื่อกว่าร้อยต้น 



เรามีการนำเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้เพิ่มผลผลิตมากขึ้นอย่างไร
ข้อดีอีกหนึ่งอย่างคือ หากเรานำต้นเนื้อเยื่อมาจากต้นแม่พันธุ์ เราก็จะได้ต้นเนื้อเยื่อพันธุ์แท้ ที่จะไม่กลายพันธุ์ หลังจาดนั้นกระบวนการช่วงแรก อาจจะใช้ระยะเวลาบ้าง ในการที่จะดูแล ประคบประโหงม ทำให้เขารอด ให้เขาขยายและแตกตัว แต่พอผ่านระยะตั้งต้นไปแล้วก็จะรู้สึกว่าเวลาเร็วมาก เพียงแต่ว่าองค์ความรู้ตรงนี้จะต้องผ่านผู้ที่มีความรู้ ที่ได้ทำการศึกษาว่าสูตรไหนเหมาะสม สภาวะไหนเหมาะสม พอได้องค์วามรู้เสร็จแล้ว ก็มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคนที่สนใจจะมี 2 ประเด็นก็คือ ในเรื่องของถ่ายทอด จัดอบรม และก็จำหน่าย 

เรามีวิธีการถ่ายทอดลงสู่ชุมชนด้วยการนำเอาผลงานวิชาการนี้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ อย่างไร
เราจะใช้วิธีการวิธีการที่ง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนจำนวนมาก จริงๆ แล้วเราจะทำการจัดอบรมบริการวิชาการมามากกว่า 10 ปีแล้ว สมัยที่ไม่มีโควิดเราจะมีการออกให้บริการวิชากร ถ่านทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน เช่น โรงเรียน อย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ วิธีการ เทคนิค ให้กับผู้ที่สนใจมรการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อฯ โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมได้ 



ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
สำหรับปัญหาและอุปสรรค ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ที่ผ่านมานั้นจะมีเรื่องงบประมาณ งานวิจัยนี้อาจจะขาดในเรื่องของงบประมาณสนับสนุน ซึ่งงานวิจัยจะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องอุปกรณ์ วัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งต้นพันธุ์

งบประมาณที่เราทำเราใช้งบประมาณสนับสนุน หรือของภาคของอะไรยังไง
งบประมาณ ต้องขอขอบคุณภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เดิมที่สนับสนุนเราในเรื่องของการใช้งบประมาณที่มีอยู่แล้วของภาควิชาก่อน 



มหาวิทยาลัย หรือคณะมีส่วนสนับสนุนในด้านไหนบ้าง
ต้อขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะเทคโนโลยี และภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ที่สนับสนุนให้ทุน ให้ใช้พื้นที่ในการวิจัย ทดลอง จริงๆ ถามว่าเราเอาทุนมาจากที่ไหน ส่วนหนึ่งจะนำมาจากงานวิจัยของตัวเอง ทำเมื่อเสร็จก็มีการแบ่งส่วนให้ทางภาควิชา ทางคณะ ก็นำส่งที่มีอยู่แล้วเอามาให้เราทำก่อนเพื่อที่จะให้ดำเนินการต่อไปได้ ส่วนเรื่องเวลาที่เราจัดอบรมที่ผ่านมา  คณะก็เสริมในเรื่องของการจัดอบรมออนไลน์ ซึ่งการจัดทำระบบค่อนข้างมีความซับซ้อนมากพอสมควร เจ้าหน้าที่ใช้หลายคนมาก ใช้คนทั้งหมดประมาณ 15 คน ในการออนไลน์ แล้วก็เชื่อมต่อกับโคโฮดที่เป็นทีมคัดกรองของคุณเคนซึ่งที่ผ่านมาเราได้รับความอนุเคราะห์จากคุณเคนในการเป็นวิทยากรให้ความรู้กับเราปละผู้เข้าร่วมอบรมอย่างมาก 



มีแผนการนำองค์ความรู้ลงสู่ชุมชนอย่างไรในอนาคต
เรามีแผนในการถ่ายทอดองค์ความรู้ลงสู่ชุมชน โดยมีการวางแผนอีก 2 – 3 เดือน เราจะนำองค์ความรู้ออกไปถ่ายทอด ให้ชุมชน โรงเรียน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ว่าเรามีหน่วยงานที่ทำถ่ายถ่ายทอดองค์ความรู้นี้สู่ชุมชน เพื่อเป็นการสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ใหชุมชน ให้บุคลที่สนใจ อีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับชุมชน

การอบรม หรือการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนี้มีค่าใช้จ่ายหรือไม่ 
ในเบื้องต้นก็จะมีงบประมาณของคณะจัดสรรให้



มีอะไรอยากจะฝากถึงผู้ที่สนใจการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออย่างไรบ้าง
ท่านใดที่มีความสนใจในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สนใจที่จะเข้ารับการอบรมวีธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือสนใจที่จะขอซื้อพันธ์ุเนื้อเยื่อที่เราทำการเพาะเลี้ยงไว้ สามารถติดต่อเข้ามาที่คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เลยค่ะ 

ช่องทางติดต่อสื่อสาร
โทรศัพท์ 043754085
อีเมลล์ faculty.techno@msu.ac.th

Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล/กราฟิก:คุณปิยะฉัตร ธนภัทรธุวานันท์/พิสูจน์อักษร : นางสาวมลฤดี โคตมูล

Related Posts