อาจารย์เก่ง โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) รับ 3 รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ กับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม ด้านนวัตกรรม การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล โดยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาการเรีบนการสอน  รางวัลที่ 2 ครูผู้สอนดีเด่นของคุรุสภา ประจำปี 2564 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย(ระดับจังหวัด) และรางวัลที่ 3รางวัลอาจารย์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2564  ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์วันวิสา ประมวล อาจารย์ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฝ่ายมัธยม มหาวิทยาลัยมหาสารคารม


      โดยการคิดค้นพัฒนารูปแบบ และแนวทางในการจัดการเรียนการสอน เพื่อยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการวิเคราะห์วิจัยแนวทางของการนิเทศ และติดตามผล การบริหารการจัดการศึกษา เพื่อยกรดับคุณภาพการศึกษา มาสรุปหลอมรวมใช้ในการวางแผนในการพัฒนาการศึกษา และหน่วยงานทางการศึกษา เพื่อสร้าง และพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือของบุคลากรในทุกภาคส่วนมาร่วมกัน และร่วมพัฒนานวัตกรรมการศึกษา กระบวนการจัดการเรียนการสอน และกระบวนการนิเทศการศึกษา ให้ประจักษ์แก่สาธารณชน โดยบุคลากรมีการพัฒนาตนเองในด้านการประกอบวิชาชีพครูได้เต็มตามศักยภาพ  ได้สร้างนวัตกรรมที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนได้จริง อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน เพื่อยกระดับคุณภาพของผู้เรียนในด้านทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิต 

ชื่อโครงการ จัดการประกวด
โครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 โดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม
1.ชื่อผลงานที่เข้าร่วมในโครงการ ระบบ E-school
ผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต ชูกำแพง ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย มหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)
นายอธิวัฒน์  หงษ์ใหญ่ นักวิชาการคอมพิวเตอร์และ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารองค์กร
2.ชื่อผลงานที่เข้าร่วมในโครงการ นวัตกรรมด้านการนิเทศติดตามและประเมินผล โดยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
 

    ผู้รับผิดชอบ 
อ.ดร.วุฒิศักดิ์ บุญแน่น รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและวิจัย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย มหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)
อาจารย์วันวิสา ประมวล อาจารย์ชำนาญการพิเศษกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย มหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)
ที่มาของการร่วมโครงการ
โครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นโครงการต่อเนื่องของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย มหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ได้เข้าร่วมในโครงการ โดยนำผลการวิเคราะห์วิจัย การพัฒนารูปแบบและแนวทางในการจัดการเรียนการสอน เพื่อยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการวิเคราะห์วิจัยแนวทางการนิเทศและติดตามผล การบริหารการจัดการศึกษา จากโครงการ TFE (Teams For Education) และโครงการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2563 มาสรุปหลอมรวมใช้ในการวางแผนในการพัฒนาการศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษา เพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือของบุคลากรในทุกภาคส่วนมาร่วมกันสร้างและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา กระบวนการจัดการเรียนการสอน และกระบวนการนิเทศการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพของผู้เรียนในด้านทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพและทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21



วัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อให้มีศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา และการวิจัยกระบวนการจัดการเรียนรู้ในระดับจังหวัด เป็นการส่งเสริมการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบ/แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้  วิเคราะห์/วิจัยแนวทางการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล การบริหารการจัดการศึกษาในระดับจังหวัด และเพื่อส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาให้สถานศึกษามีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น

กลุ่มเป้าหมายของการดำเนินการ
เป้าหมายเชิงปริมาณ
1) มีศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา และการวิจัยกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในระดับจังหวัดและในระดับภูมิภาค
2) มีรูปแบบ/แนวทางในการพัฒนานักเรียน หรือแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้  
3) มีรูปแบบ/แนวทางการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษา นวัตกรรมการนิเทศ
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1) สถานศึกษามีศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา และการวิจัยกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในระดับจังหวัดและในระดับภูมิภาค
2) สถานศึกษามีรูปแบบพัฒนาการจัดการเรียนรู้  /แนวทางในการพัฒนานักเรียน/การวิจัย /การนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษา นวัตกรรมการนิเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
3) สถานศึกษามีร้อยละของนักเรียนที่คะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานแต่ละวิชาผ่านกว่าเกณฑ์เพิ่มมากขึ้น

จุดเด่นของงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้
         ผลงาน ระบบ E-school เป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่ คณะผู้จัดทำมีแนวคิดที่จะนำพาโรงเรียนเข้าสู่โรงเรียนอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic School) ที่มีจุดเด่นในด้านการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ICT for Education) จึงได้จัดสร้างระบบที่มีชื่อว่า e-School ขึ้นเพื่อบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนให้เป็นศูนย์รวมเดียว (Data Center) ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เพิ่มสภาพคล่องในการใช้งานข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนให้มีความถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ  เพื่อการตอบสนองการบริการจัดการ ระบบของโรงเรียน ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ด้านการเรียน งานทะเบียน ระบบเอกสาร เกี่ยวกับนักเรียน การวัดผลประเมินผล การจัดการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน งานระบบการเงิน งานหอพัก และการเชื่อมโยงข้อมูล ระหว่างโรงเรียน กับนักเรียนและผู้ปกครอง รวมทั้ง เป็นระบบ สำหรับการประเมิน ภาระงาน (TOR) ของอาจารย์และบุคลากร ในการพิจารณาความดีความชอบเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือน รวมในระบบเดียว 
ผลงานนวัตกรรมด้านการนิเทศติดตามและประเมินผล โดยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) มีแนวคิดว่าการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยการขับเคลื่อนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในสถานศึกษา ที่ได้มุ่งเน้นและสร้างการเปลี่ยนแปลงซึ่งผู้บริหาร และครูต้องเรียนรู้จากการปฏิบัติงานของกลุ่มครู ครูแต่ละคนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่  เพื่อทำงานร่วมกันและสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อนำองค์ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ มาออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนร่วมกัน จนสามารถเผยแพร่ความรู้สู่ภายนอกองค์กร และนำผลที่เกิดจากชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาประยุกต์ใช้ปรับปรุงในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกันวางเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นนวัตกรรมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในกระบวนการนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านกิจกรรมเปิดชั้นเรียน ประกอบด้วยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิ  หัวหน้ากลุ่มสาระและกลุ่มสมาชิก PLC เข้าร่วมสังเกต ชั้นเรียนและสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ เพื่อถอดบทเรียนและสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป

ระยะเวลาในการจัดโครงการ
ตลอดปีงบประมาณปี พ.ศ. 2564

ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินการโครงการ
ปัญหาและอุปสรรคสำคัญ ในการดำเนินโครงการในระยะที่ผ่านมา คือข้อจำกัดในการสอน การนิเทศและติดตามผล การจัดการประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันที่ต้องปรับรูปแบบ ผ่านระบบออนไลน์ทำให้เกิดข้อจำกัด ในการดำเนินกิจกรรม ตามที่ได้กำหนดไว้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังจากการดำเนินการจัดโครงการ
1) สถานศึกษามีศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา มีสภาพคล่องในการใช้งานข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน
        2) สถานศึกษามีรูปแบบพัฒนาการจัดการเรียนรู้  /แนวทางในการพัฒนานักเรียน/การวิจัย /การนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษา นวัตกรรมการนิเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
        3) สถานศึกษามีร้อยละของนักเรียนที่คะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานแต่ละวิชาผ่านกว่าเกณฑ์เพิ่มมากขึ้น
        4) เป็นแบบอย่างที่ดีในการประกอบวิชาชีพครูให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม สร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานแก่อาจารย์ผู้สอน ให้เกิดการพัฒนาตนเองและมีคุณภาพในการจัดการเรียนรู้



จำนวนผู้เข้าร่วมประกวดในครั้งนี้มีกี่ทีม
ในการเข้าร่วมประกวดระดับจังหวัด ได้รับรางวัล (Best Practices) ระดับคุณภาพดีเยี่ยมด้านการบริหารจัดการ (ลำดับที่ 2) จากโรงเรียนในทุกสังกัดในจังหวัดมหาสารคามจำนวน 33 โรงเรียน 
ในการเข้าร่วมประกวดระดับจังหวัด ได้รับรางวัลชนะเลิศ  (Best Practices) ระดับคุณภาพดีเยี่ยม ด้านการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล จากโรงเรียนในทุกสังกัดในจังหวัดมหาสารคามจำนวน 33 โรงเรียน และเป็นตัวแทนจังหวัดเพื่อส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในระดับภูมิภาค
ในการเข้าร่วมประกวดระดับภูมิภาค  ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ระดับดี่เยี่ยม จากผลการคัดเลือกนวัตกรรมที่เป็นเลิศ (Best Practices) ด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล โครงการ Innovation For Education(IFTE) นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษา ร้อยแก่นสารสินธุ์ จากโรงเรียนในทุกสังกัด ประกอบด้วยจังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ รับผิดชอบโดยสำนักงานศึกษาธิการภาค 12

รู้สึกอย่างไรกับรางวัลที่ได้รับในครั้งนี้
ความรู้สึกที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ คือภาคภูมิใจ และเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้สร้างชื่อเสียงของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน บุคลากรพัฒนาตนเองในด้านการประกอบวิชาชีพครูได้เต็มตามศักยภาพ  ได้สร้างนวัตกรรมที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนได้จริง มีประสิทธิภาพ และส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานสอน และพัฒนางานสอนต่อไป การร่วมกันทำงานเป็นทีม และได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเป็นสิ่งที่สำคัญ              กราบขอบพระคุณผู้บริหารที่มอบนโยบาย และมีวิสัยทัศน์ที่ดีในการบริหารจัดการ และการนำโรงเรียนเข้าร่วมโครงการร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในครั้งนี้ 



คติในการทำงาน
“ทำทุกอย่างด้วยใจ ความสำเร็จเริ่มต้นจากการลงมือทำ”

Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล/กราฟิก:คุณปิยะฉัตร ธนภัทรธุวานันท์/พิสูจน์อักษร : นางสาวมลฤดี โคตมูล

Related Posts