มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขอแสดงความยินดีกับนิสิตซึ่งคว้ารางวัล “The TMYC Merit Award” จากเวทีการแข่งขันเสนอแผนธุรกิจ Thailand MICE Youth Challenge 2021 ..สาร MSU ONLINE จะนำทุกท่านไปรู้จักกับนิสิตคนเก่งของเราซึ่งพวกเขาจะมาบอกเล่าเรื่องราวและประสบการณ์ดีๆ ตั้งแต่เริ่มเตรียมตัวเพื่อเข้าร่วมแข่งขัน ตลอดจนถึงบรรยากาศที่น่าตื่นเต้นในการแข่งขันครั้งนี้ ตามเรามาเลยค่ะ




1.  ชื่อผลงาน  :  INTERNATIONAL VIRTUAL REALITY GAMES FESTIVAL 2023 :
“CREATE THE VR GAMES WORLD TOGETHER”
    รางวัลที่ได้รับ The TMYC Merit Award 
    ในการแข่งขัน Thailand MICE Youth Challenge 2021
    จัดโดย สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) สมาคมส่งเสริมการประชุม นานาชาติ (ไทย) (TICA) และทีมผู้จัดงานวิทยาลัยนาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

2. สมาชิกในทีมและชื่อทีมที่ใช้ในการแข่งขัน
    ชื่อทีม : GeenNaam เป็นชื่อมาจากภาษาดัตช์ แปลว่า NoName หรือไม่มีชื่อ
    สมาชิกในทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน จาก 2 คณะ คือ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรมและคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    - คณะการท่องเที่ยวและโรงแรม นายศิริศักดิ์ ทิพม่อม  นายชนาธิป พิทักษ์เทพสมบัติ  นางสาวพัทธมน นิยมธรรม 
    - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  นางสาวนางสาวศิริลักษณ์ จุทธะสิงห์
    อาจารย์ที่ปรึกษา  ผศ.ดร. ปรีดา ไชยา  
มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 20 ทีมจาก12มหาวิทยาลัยชั้นนำทั้ง 4 ภูมิภาคประเทศไทย

3. ความเป็นมาที่ได้เข้ามาร่วมโครงการนี้ 
    การรวมตัวกันของพวกเรามาจากการเชิญชวนให้เข้าร่วมของ อาจารย์ ปรีดา ไชยา  ท่านได้ส่งข้อมูลในกลุ่มรายวิชาการขายและการตลาดโรงแรมที่ท่านสอนออนไลน์ในเทอมการศึกษานี้ พร้อมข้อมูลให้พวกเราดูทีละคน  พอพวกเราได้ดูและศึกษาข้อมูลมาทั้งหมดที่ทางเพจของ Thailand MICE Youth Challenge จากนั้นก็เกิดการสนใจที่จะเข้าร่วมรายการแข่งขันนี้ โดยมีเหตุผลว่า ผู้ที่ชนะจะได้เป็นตัวแทนในนามประเทศไทยไปแข่งขันต่อที่ต่างประเทศ ทำให้มีกำลังใจในการแข่ง แต่พวกเราก็ไม่หวังที่จะไปถึงจุดนั้น เพราะพวกเราก็พึ่งเคยได้ร่วมรายการนี้เป็นครั้งแรกและเราก็ไม่ได้มีคณะ สาขา หรือโปรแกรมที่สอนด้านไมซ์และอีเวนต์โดยตรง ทำให้ไม่มีประสบการณ์มากนัก โดยอาจารย์ ปรีดา ไชยา ได้เชิญชวนนิสิตจากคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม 3 คน แต่ก็ยังไม่ครบทีมเพื่อเข้าแข่งขันเพราะต้องใช้ทั้งสิ้น 4 คน และก็ได้มีคนเข้าร่วมคนที่ 4 เป็นนิสิตจากคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์โดยได้รับการเชิญชวนจาก ตาล (นิสิตคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม) เมื่อมีนิสิตจากคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์เข้าร่วมทีม อาจารย์ปรีดา ไชยา จึงเห็นว่าเป็นการดีที่จะได้ร่วมมือกันจึงได้ติดต่อ ดร.นุชศรา โชคสวนทรัพย์ ทองแสน รองคณบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตริ์ พร้อมด้วย ดร.อัมพิกา ภัทรพงศานต์ โดยได้ร่วมสนับสนุนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเขียนแผนธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนอาจารย์ปรีดา ไชยา ดูแลเป็นที่ปรึกษาหลักหรือเป็น Coach และ Facilitator ด้านContents หรือเนื้อหาสาระสำคัญของประเด็นการเขียนแผนธุรกิจ การออกแบบ และวางแผนการสร้างงานไมซ์และอีเวนต์อย่างมืออาชีพ โดยทีมเราเลือกเป็นแผนธุรกิจของ Exhibitions หรือ Shows ตาม 6 เกณฑ์การตัดสินของโจทย์ที่ TMYC ให้มา เช่น 1) Relevance to the stated objectives 2) Business Viability 3) Engagement & communication 4) Creativity, consideration of new normal & MICE technology 5) Presentation skills and respond และ 6) Marketing strategy ซึ่งทั้งหมดต้องมีความสอดคล้องและสามารถเป็นแผนธุรกิจที่ต้องนำไปใช้ได้จริงและสามารถสร้าง Economy impacts ให้กับอุตสาหกรรมไมซ์และการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้โดยทุกกระบวนการของแข่งขันเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด



4. มีการเตรียมตัวและแนวคิดในการจัดทำผลงานชิ้นนี้เพื่อส่งเข้าประกวดอย่างไรบ้าง
    แนวคิดของการสร้างผลงานมาจากโจทย์การแข่งขันที่ให้เป็นการนำเสนอแผนธุรกิจ (Business Plan) ในอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE Industry) หรือการจัดงานอีเวนต์ที่เกี่ยวกับ การประชุมองค์กร (Meetings) การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (Incentives) การประชุมนานาชาติ (Conventions) หรือ การจัดนิทรรศการ (Exhibitions) ของประเทศไทยที่สามารถจัดได้จริง ทีมเรามีการนัดคุยงานกันตัดสินใจกันว่าจะเอาเรื่องไหนมาทำส่งเข้าประกวดจึงได้ข้อสรุปเป็นรูปแบบ Exhibitions หรือ Shows ในชื่องาน International Virtual Reality Game  โดยเรามองเห็นถึงเทคโนโลยี VR ที่จะเข้ามามีบทบาทความสำคัญในอนาคตที่จะถึงโดยเราจะเน้นไปในทาง VR Game ซึ่งอุตสาหกรรมเกมเป็นอุตสาหกรรมที่ทุกเพศทุกวัยของคนทั่วโลกกำลังเป็นที่นิยมและสามารถเล่นได้และเกือบทุกคนที่สามารถเข้าถึงเกมได้ ซึ่งแผนธุรกิจนี้มีแผนจะจัดขึ้นที่ภูเก็ต ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 9-11 เมษายน ปี พ.ศ. 2566 ด้วยงบประมาณในการจัดงาน 65 ล้านบาท ในรูปแบบงาน Hybrid Event ที่จะมีทั้งการแสดงสินค้า VR Games การจับคู่ธุรกิจ (B2B) และเปิดให้สาธารณะเข้าชมงาน (B2C) ที่จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ Economy Impacts ให้กับอุตสาหกรรมไมซ์และการท่องเที่ยวของประเทศไทย      
    ในส่วนเรื่องของการจัดเตรียมผลงานเพื่อให้ทันกับการแข่งขันโดยเราต้องแข่งกับเวลาเพราะในการจัดทำผลงานขึ้นเรามีเวลาเตรียมตัวกันเพียงแค่ 7 วันซึ่งเป็นเวลาที่น้อยมากในช่วง 7 วันนี้เราต้องมีการแบ่งงานกันทำโดยแบ่งหน้าที่กันโดยแต่ละคนจะมีหน้าที่รับผิดชอบทำงานในส่วนของตัวเองโดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยกำกับดูแล
    แนวคิดในการจัดทำผลงานนี้เนื่องจากเราจะเห็นว่าเกมสมัยใหม่ที่ออกมานั่นหรือเกม Re-make   นั่นจะมีการนำเอาการนำเสนอเกมในรูปแบบ VR แนบเข้าไปด้วยเพื่อให้ผู้เล่นได้รับประสบการณ์แบบใหม่ที่ไม่เคยได้สัมผัสมาก่อนมันฟังดูแล้วก็น่าตื่นเต้นดีใช่ไหมละครับการที่เล่นเกมโดยเปรียบสะเหมือนเราเข้าไปอยู่ในเกมได้สัมผัสบรรยากาศแบบใหม่ที่ตื่นเต้นขึ้นกว่าเก่า
การนำเสนองานนี้โดยทุกคนนั่นมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบแต่ละส่วนอยู่แล้วซึ่งเลยแบ่งตามที่หน้าใครได้หน้าที่ใหนก็รับผิดชอบหน้าที่ส่วนของตัวเองในการนำเสนอ การนำเสนองานก็เป็นไปราบลื่นโดยเรานำเสนองานไม่เกิน 10 นาทีก็โชคดีครับที่เรามีนักศึกษาจากคณะมนุษศาสตร์มาร่วมทีมเลยช่วยได้เยอะในเรื่องภาษาโดยในการนำเสนองานทุกคนมีส่วนร่วมกับการนำเสนอทุกคน
    ในการทำงาน 7 วันของเรานี้เราแทบจะเจออาจารย์ที่ปรึกษาทุกวันเลยละอาจารย์ก็จะคอยเป็นคนช่วยแนะนำเราแต่หลักๆแล้วจะให้เราทำอย่างอิสระแต่คอยช่วยดูงานทำให้งานมันดูราบรื่นขึ้น



5.บรรยากาศในวันที่แข่งขัน  
    การแข่งขันนั้นแบ่งออกเป็นหลายช่วงมาก ช่วงที่1คือการสมัครเข้าแข่งขัน เป็นช่วงเวลาที่ไม่ใช่แค่การสมัครอย่างเดียว ก่อนการสมัคร 3 ชม.นั้น พวกเราได้มานั่งพบปะกันแล้ววางแผนพูดคุยถึงการทำงานที่จะทำเมื่อสมัครไปแล้ว พูดคร่าวก็คือ นั่งวางแผนการทำงานกัน โดยพวกเรานั้นต้องหาหัวข้อที่จะต้องทำ พวกเราคิดกันหลายหัวข้อเป็นอย่างมาก เป็นช่วงเวลาที่นั่งพูดคุยและใช้เวลานาน โดยพวกเราใช้เวลาในการคิดหัวข้อที่จะทำกันไป 2 ชม. เต็มๆ  เหลือเวลาอีก1ชม.ก่อนการสมัครพวกเราต้องมาคิดชื่อทีมกับชื่อหัวข้อกัน และสุดท้ายก็ได้ชื่อทีมว่า GEEN NAAM ซึ่งเป็นภาษาดัชส์ ที่ แวน (นิสิตคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม) ได้เสนอมาซึ่งแปลได้ว่า No Name หรือ ไม่มีชื่อ พร้อมกับได้ชื่อหัวข้อว่า International Virtual Reality Games Festival 2023 เป็นนิทรรศการที่เกี่ยวกับการนำ VR Games จากทั่วมุมโลกว่าไว้ในงานนี้ เข้าช่วงที่ 2  คือการส่งข้อมูล การนำเสนอ รูปแบบการนำเสนอของพวกเรา เป็นช่วงเวลาที่ต้องขอบอกเลยว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากที่สุด เพราะต้องใช้เวลาทำอย่างจำกัด มีเวลาที่ทำคือ 7 วัน พวกเราทุกคนไม่มีประสบการณ์มาก่อนและไม่รู้วิธีในการทำงานแต่โชคดีที่ท่านอาจารย์ปรีดา ไชยา ได้ช่วยเป็นทั้งที่ปรึกษาและCoach พร้อมให้กำลังใจตลอดเวลา ทำให้ได้ศึกษาวิธีการทำงาน การออกแบบการใช้ Event Canvas เพื่อสร้างเป็น Experience Journey ซึ่งพวกเราไม่เคยมีความรู้และทราบมากก่อนว่าคืออะไร บวกกับต้องใช้เวลาที่เหลือสร้างสรรค์งานออกมาด้วย พวกเราทุกคนได้ทำงานในส่วนของใครของมัน ที่ได้แบ่งกันไว้ ทั้งส่วนของสถานที่ที่จะใช้จัดงาน รายละเอียดของงาน จำนวนผู้เข้าร่วม ประโยชน์ที่จะได้ สปอนเซอร์ กิจกรรมต่างๆภายในงาน จำนวนเงินทุนที่จะใช้จัดงานและกำไรที่ได้จากงานพวกเราต้องคิดมันออกมาแล้วจัดรูปแบบของการนำเสนอ พวกเราต้องใช้เวลาทำทุกวัน เพื่อให้งานออกมาดีและเป็นที่ประทับใจของกรรมการ จึงได้ทุ่มเทอย่างสุดฝีมือ และได้ส่งผลงานเข้าไปแข่งขันกับตัวแทนของแต่ละมหาวิทยาลัย มี 20 ทีมจาก11 กว่ามหาวิทยาลัยทั้ง 4 ภูมิภาค ที่เป็นท็อปของประเทศทั้งนั้น ทำให้กังวลและกดดันตัวเองเป็นอย่างมากว่างานจะออกมาไม่ดีพอ หลังจากผ่านไปได้ สัปดาห์กว่าๆ ทาง Thailand MICE Youth Challenge ก็ได้ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบสัมภาษณ์ทั้งหมด 12 ทีม ปรากฎว่าก็มีชื่อทีมของพวกเราได้ผ่านเข้ารอบด้วย ซึ่งตอนแรกก็ดีใจและก็ตกใจเป็นอย่างมาก คุ้มค่ากับที่พวกเราทุ่มเทมาทั้งหมด รอบต่อไปก็จะเป็นรอบสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นรอบที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะต้องแข่งสัมภาษณ์เพื่อเข้าสู้รอบ  6 ทีม  การสัมภาษณ์ก็จะเป็นการสัมภาษณ์แบบออนไลน์เป็นภาษาอังกฤษ ในวันนั้นทีมพวกเราได้สัมภาษณ์เกือบท้ายๆ ทำให้มีเวลาเตรียมระบบต่างๆอยู่มาก พอถึงเวลาแข่ง กรรมการก็ยิงเข้าถามเข้ามาเลย โดยคำถามแรกที่จำได้เลยคือ คำถามเกี่ยวกับ Sponsors การทำการตลาด กลุ่มเป้าหมาย และงบประมาณทั้งหมดของงานที่จะทำนี้ ด้วยความที่พวกเรายังใหม่และไม่คุ้นเคยกับเวทีใหญ่จึงคิดว่าไม่ได้เตรียมมาดีพอแม้จะมีการซักซ้อมแบ่งหน้าที่ในการตอบคำถามมาแล้วก็ตาม และรู้สึกตื่นเต้นมากๆ ทำให้ตอบกรรมการช้าไปนิดนึง จนถึงการสัมภาษณ์คำถามสุดท้าย ซึ่งจับใจความได้ว่า งานนี้ต้องการที่จะดึงลูกค้าจากที่ไหนเป็นหลัก ทำให้พวกเราชะงักเพราะคิดมากเกินไป พอได้คำตอบที่จะตอบเวลาก็หมดไปแล้ว ทำให้รู้สึกเสียดายมากๆเพราะพวกเราตั้งใจทุ่มเทกับงานนี้มากๆ พวกเราได้ทำเต็มที่มากๆแล้วและทีมของเรานั้นไม่มีประสบการณ์มาก่อนรวมถึงเวลาที่เตรียมตัวนั้นมีจำกัด พวกเราได้ทำเต็มที่และดีใจที่ได้เข้าร่วมรายการนี้ ถือว่าเป็นรายการแข่งขันที่ดีมากๆรายการนึง  จนมาถึงเวลาประกาศรางวัล พวกเราก็นั่งดูพร้อมหน้ากัน  ปรากฏว่า ทันทีที่ทีมของพวกเรา ได้ถูกประกาศได้รับรางวัล Merit Award ว่าเป็นทีม Geen Naam จากมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้รับรางวัลนี้ ซึ่งก็ทำให้ตกใจอย่างมากเพราะว่าไม่ได้คิดว่าจะมีรางวัล ขอแค่ได้เข้าร่วมก็มากพอแล้ว ซี่งทางคณะกรรมการในภาคอุตสาหกรรมไมซ์ไทยไม่เพียงแต่ได้ทำการคัดเลือกผลงาน แต่ยังรู้สึกประทับใจในระหว่างการแข่งขันรอบรองชนะเลิศ ที่นิสิต มมส ได้แสดงถึงความก้าวหน้าอย่างน่ายกย่อง จึงสามารถคว้ารางวัล TMYC Merit Award ในครั้งนี้ และภายหลังประกาศผลการตัดสิน คุณสุเมธ สุทัศน์ ณ อยุธยา นายกสมาคม ส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) และ คุณศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล TMYC Merit Award 2021  ก็ขอขอบคุณ Thailand MICE Youth Challenge เป็นอย่างมากที่มอบรางวัลนี้ให้ ทำให้พวกเรามีกำลังใจ และได้พวกคุณเป็นแรงผลักดันให้เราในอนาคต



6.ประสบการณ์ดีๆที่ได้รับจากการประกวดครั้งนี้
    หลังจากได้เข้าร่วมรายการแข่งขัน Thailand MICE Youth Challenge ในครั้งนี้ ก็ได้ประสบการณ์หลายๆอย่างมากมาย ทั้งการที่ได้ คิดรูปแบบการจัดงาน รายละเอียดต่างๆของงาน ต้องทำออกมาให้ได้แบบ Professional การนำเสนอชิ้นงาน การทำงานร่วมกัน ความคิดความเข้าใจในทีม  วิธีการสัมภาษณ์และความรู้จากอาจารย์ที่ปรึกษาของทีม อาจารย์ ปรีดา ไชยา ที่สอนวิธีการทำงานอะไรให้หลายๆอย่าง ทั้งการทำงานเป็นมืออาชีพ ข้อมูลที่เอามาต้องสมบูรณ์ครบถ้วน ห้ามมีการคาดเดาที่เกิดขึ้นโดยไม่พิจารณาจากข้อมูลวิจัยหรือจากข้อเท็จจริง หรือข้อมูลต้องเป็นข้อมูลที่เป็นจริง และหลายๆอย่างที่ท่านสอน ทั้งทางด้าน Thailand MICE Youth Challenge ก็ได้ให้อะไรมามากมาย ได้สัมภาษณ์กับกรรมการชื่อดัง ได้เป็นส่วนหนึ่งของ TICA  TCEB และ ผู้สนับสนุนอีกมากมายที่ได้จัดการแข่งขันที่ดีนี้ขึ้น ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่อย่างนึกในชีวิตมหาลัย

7. ความรู้สึกในการเข้าร่วมแข่งขันในครั้งนี้
    เดิมทีการแข่งขันนี้จะมีการคัดเลือกรอบแรกจากการพิจารณาแผนธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษประมาณ 12-50 หน้า ใน 6 ประเด็นสำคัญคือ   และการนำเสนอ“รูปแบบของการแข่งขันเป็นแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ ZOOM โดยมีคณะกรรมการจากทาง Thailand MICE Youth คอยถามคำถามเกี่ยวกับธุรกิจ MICE ที่พวกเรานำเสนอค่ะ ก่อนวันแข่งขันพวกเราทุกคนรู้สึกตื่นเต้นมากๆค่ะ เพราะสำหรับพวกเราแล้วแทบจะไม่มีความรู้เรื่องธุรกิจ MICE มาก่อนเลย และไม่ทราบเลยว่าคำถามของคณะกรรมการจะไปในทิศทางไหน อีกทั้งในเรื่องอุปสรรค์ของภาษา แต่ด้วยความอนุเคราะห์จากท่านอาจารย์ปรีดา ไชยยาที่คอยให้คำปรึกษาและชี้แนะแนวทางแก่พวกเรามาโดยตลอด ทำให้พวกเราสามารถก้าวผ่านความตื่นเต้นระหว่างการแข่งขันได้ โดยการตอบคำถามจากคณะกรรมการ พวกเราทุกคนพยายามอย่างมากเพื่ออธิบายและนำเสนอถึงธุรกิจ MICE ที่พวกเราจัดสร้างขึ้น ช่วยกันตอบช่วยกันนำเสนอ จนการแข่งขันในวันนั้นสามารถผ่านไปได้ด้วยดีค่ะ”



8.วางเป้าหมายต่อไปไว้อย่างไรบ้าง
    พวกเราอยากจะนำประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำโปรเจคชิ้นนี้ไปพัฒนาสำหรับการทำงานในอนาคตค่ะ นอกจากทักษะการทำงานร่วมกันแบบ teamwork  การทำงานอย่างมีแบบแผน การแข่งกับเวลา เรายังได้เรียนรู้วิธีการถ่ายถอดไอเดียแบบ abstract ให้ออกมาเป็นแบบ concrete ด้วยค่ะ พวกเราก็หวังว่าโปรเจคที่พวกเราได้ทำนั้นจะสามารถพัฒนาให้เป็นจริงได้สักวันหนึ่ง เพื่อจะช่วยสื่อถึงความคิดสร้างสรรค์และศักยภาพของเยาวชนรุ่นใหม่ค่ะ 

9.ข้อคิดดีๆ ในการทำงานเป็นทีมเพื่อให้ประสบความสำเร็จ
    การทำงานเป็นทีมไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก สิ่งที่สมาชิกในทีมควรจะมีคือ การมี passion ในสิ่งที่ทำ การคิดนอกกรอบ การวางแผนจัดการอย่างเป็นระบบ และสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากก็คือการเปิดกว้างทางด้านความคิดค่ะ แน่นอนว่าแต่ละคนก็จะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป แต่เมื่อไหร่ที่เราตัดสินใจที่จะทำงานร่วมกันเราต้องรับฟังความคิดที่แตกต่างเหล่านั้น เพื่อที่จะนำมา discuss และทำมันออกมาให้ดีที่สุดค่ะ 





Author

ผู้เรียบเรียง : จุฑามาศ ภิญโญศรี
Email : jutamas.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0942915414

Related Posts