มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เดินหน้าดำเนินการฉีดวัคซีน COVID-19 อย่างต่อเนื่อง เพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในเบื้องต้น สำหรับสถานการณ์ที่มีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 ตามมาตรการ การเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์เทพลักษ์ ศิริธนะวุฒิชัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



กล่าวถึงภาพรวม เรื่องการฉีดวัคซีน
วัคซีน COVID-19  จริงๆ แล้วที่ใช้กันมากในปัจจุบันโดยมีการแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้
- กลุ่มที่ 1 ที่เรียกกันว่าวัคซีนเชื้อตาย คือ ซิโนแวค กับซิโนฟาร์ม
- กลุ่มที่ 2 วัคซีนที่เรียกกันว่า ไวรัสเวคเตอร์ (virus vector) คือการเอาเชื้อไปใส่ลงในไวรัส และเอาไวรัสนั้นมาฉีดให้เรา นั่นก็คือ แอสตร้าเซนเนก้า สปุตนิก และจอร์นสันแอนด์จอร์นสัน
-.กลุ่มที่ 3 ที่เรียกกันว่าวัคซีนทางเลือก mRNA เช่น  ไฟเซอร์กับโมเดอร์นา 
ความจริงวัคซีนมี 4 กลุ่ม แต่ที่ อย.รับรองว่าสามารถที่จะขึ้นทะเบียนกับเราได้นั้น มีเพียง 3 กลุ่มใหญ่เท่านั้น ณ ปัจจุบัน



กล่าวถึงคุณสมบัติของวัคซีนแต่ละชนิด
         วัคซีนกลุ่มเชื้อตาย ที่มียี่ห้อว่าซิโนแวค หรือซิโนฟาร์ม เป็นเทคโนโลยีที่เราคุ้นเคยใช้กันมานานมากแล้ว ฉะนั้นเราจึงพอจะทราบถึงข้อดี หรือข้อเสียของวัคซีนฯ เป็นอย่างดี เพราะเนื่องจากว่าเป็นของเก่าแก่ที่เราใช้กันมานานมาก และข้อดีของวัคซีนกลุ่มนี้ คือมีปฏิกิริยาในการแพ้ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากว่ามันเป็นเชื้อที่ตาย และผลเสียต่างๆ นั้นเรารู้จักเป็นอย่างดีแล้ว 
          ส่วนข้อเสียของซิโนแวค ซิโนฟาร์ม คือมีราคาสูง เพราะเนื่องจากมีกระบวรการผลิตได้ช้า แต่ข้อเสียที่เราไม่ชอบมากที่สุดในตอนนี้ คือความสามารถในการสู้กับวัคซีนที่กลายพันธ์ุ จะไม่ค่อยดีมาก เราเปรียบเทียบให้เห็นถึงความชัดเจน อย่างเช่น วัคซีนซิโนแวค ซิโนฟาร์ม เปรียบง่ายๆ เหมือนคนที่เคยฝึกมวยสากลมาก่อนถ้าคู่ต่อสู้เป็นมวยสากลด้วยกันก็จะสู้ได้เลย แต่ถ้ามาในรูปแบบของ มวยไทย กังฟู หรือคาราเต้ เราก็อาจจะสู้ได้ไม่ดี แต่อย่างน้อยก็มีพิ้นฐานการต่อสู้มาก็ยังดีกว่าคนที่ไม่เคยฝึกมาก่อน นั่นคือข้อเสียของซิโนแวค ซิโนฟาร์ม



-กลุ่มที่ 2 ที่เรากำลังเริ่มฉีดคือแอสตร้าเซนเนก้า หลักการคือ เอาเชื้อใส่เข้าไปในไวรัส(ที่ไม่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์) และนำไวรัสมาฉีดใส่ในตัวเรานั้น ข้อเสียของวัคซีนตัวนี้คือ มักจะมีปฏิกิริยาต่อต้านที่แรงกว่า จะมีอาการมีไข้เกิดขึ้นบ้าง หรือผลข้างเคียงนั้นมากกว่า เทคโนโลยีนี้มีการนำมาใช้แล้วหลายสิบปีเช่นเดียวกัน เราจึงพอจะทราบว่าค่อนข้างจะปลอดภัย เพราะเนื่องจากว่ามีการใช้กันมาในระดับหนึ่ง ถึงแม้จะไม่เท่ากับตัวแรก ข้อดีของพวกนี้คือ ออกฤทธิ์ในเข็มแรกจะได้ผล 80-90 % ส่วนเข็มที่ 2 จะทิ้งช่วงนานกว่า จะได้ผลเต็มที่มากกว่า ข้อดีอีกประการคือมีการผลิตได้เร็ว ราคาที่ถูกกว่า และวัคซีนเหล่านี้หลักการคือจะต้องฉีด 2 เข็มเหมือนกัน
แต่ถ้าเป็นจอร์นสันแอนด์จอร์นสันนั้น มีข้อมูลว่ามีการฉีดครั้งเดียวนั้น เนื่องจากว่าตัวไวรัสที่ฉีดเข้าไปสามารถแบ่งตัวได้อีกต่อไป จึงสามารถฉีดได้ 1 เข็ม



-กลุ่มที่ 3 คือ mRNA ที่เรากำลังพูดว่าวัคซีนทางเลือก เช่นยี่ห้อ ไฟเซอร์ โมเดอร์นานั้น อันนี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ซึ่งไม่เคยมีการใช้มาก่อนในโลกนี้ วัคซีน COVID-19  นั้น เป็นวัคซีนแรกที่มีการใช้เทคโนโลยีนี้ คือเทคโนโลยีนี้มีการศึกษามานานมากแล้ว แต่ด้วยความเป็นของใหม่ และการที่จะทดลองใช้ของใหม่จริงๆ จะต้องใช้ระยะเวลาที่นานมาก แต่เนื่องจาก COVID-19  เป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงมีคนที่ยอมใช้ ซึ่งข้อดีของวัคซีนตัวนี้มีราคาถูก มีการผลิตออกมาได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้นประเทศที่พบปัญหามากๆ อย่างสหรัฐอเมริกา จึงมีการอนุมัติให้ใช้เป็นกรณีฉุกเฉิน เพราะหากมีการคอย ตามหลักของการวิจัย ตรวจสอบให้เรียบร้อยแล้วนั้น จะต้องคอยเป็นระยะ 3-4 ปีขึ้นไป ถึงจะทราบว่าปลอดภัยมากน้อยเพียงใด ฉะนั้นประเทศที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมากในช่วงแรกก็อาจจะใช้ไฟเซอร์ และมาดอนน่าค่อนข้างจำนวนมาก ผลข้างเคียงพบมากเช่นกัน แต่ข้อเสียที่พบ คือเป็นของใหม่ ซึ่งเราไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร เพราะของบางอย่าง 10 ปี ถึงจะรู้ว่ามันเป็นอะไร หลายคนจึงไม่ต้องการที่จะฉีดวัคซีน ชนิดนี้  แต่หลายประเทศบอกว่าอย่างไรแล้วยังคงต้องการลองฉีดวัคซีนชนิด mRNA เพราะตามทฤษฎี น่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าวัคซีนชนิดอิ่นๆ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งคือวัคซีนชนิดนี้ต้องเก็บในที่อุณหภูมิต่ำมาก ใช้ตู้เย็นลบ 70 องศา 
ความจำเป็นของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน บางคนอาจมีความเสี่ยงต่อโรค COVID-19  สูง วัคซีนอะไรมาก็ต้องเอาไว้ก่อน ส่วนคนที่มีความเสี่ยงต่ำก็จะคอยวัคซีนที่อาจจะมีผลข้างเคียงที่น้อยหน่อยเป็นต้น



สถานที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ของ โรงพยาบาลสุทธาเวชฯ
โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับการอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัย ในการเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 – มมส. เป็นศูนย์บริการฉีดวัคซีน COVID-19  

โรงพยาบาลสุทธาเวชฯ เริ่มมีการฉีดวัคซีนจนถึงเมื่อไหร่
        โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้เริ่มทำการฉีดวัคซีนมา   
ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ณ ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีการการดำเนินการฉีดวัคซีน COVID-19   ไปจนกว่าจะครบตามจำนวนผู้ที่ลงทะเบียนรับการฉีดวัคซีน COVID-19   อีกทั้งทางโรงพยาบาลยังต้องการฉีดวัคซีนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะตามทฤษฎีเชื่อว่า ถ้ามีการฉีดวัคซีนให้ประชากรครอบคลุมไห้ครบ 70 % จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ทั้งนี้เรามีความต้องการจะฉีดวัคซีน COVID-19  ให้กับบุคลากร และนิสิตของมหาวิทยาลัยมหาสารคามทุกคน 



หลังจากฉีดวัคซีน COVID-19  ให้ผู้ป่วยแล้ว พบผู้ป่วยที่มีอาการข้างเคียง หรือไม่
      หลังจากที่ โรงพยาบาลสุทธาเวชฯ มีการฉีดวัคซีน COVID-19  ที่ผ่านมาแล้ว เราพบผู้ป่วยที่มีอาการข้างเคียงที่น้อยมาก คือเรามีการฉีดวัคซีน COVID-19  ไปกว่า 2000 คน ซึ่งก่อนหน้าเมื่อเดือน มิถุนายน เรามีการฉีดวัคซีน COVID-19  ให้บุคลากรทางการแพทย์ไปก่อนล่วงหน้า ซึ่งเราฉีดวัคซีนซิโนแวคทั้งหมด และหลังจากนั้นเราเริ่มฉีดวัคซีนให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง สำหรับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกรณีที่ฉีดวัคซีน COVID-19  ไปนั้น พบโดยประมาณ กว่า 30 คน เท่านั้น จากที่ทำการฉีดไปแล้ว กว่า 2000 คน ซึ่งจะมีอาการปวดเมื่อยที่แขนบ้าง อาจจะมีไข้เล็กน้อยบ้าง วิงเวียนศีรษะบ้าง อาจจะมีความดันขึ้นสูงบ้าง หรืออาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนบ้าง ซึ่งเมื่อท่านใดที่เกิดอาการดังกล่าว สามารถที่จะกลับมาหาเราได้ตลอดเวลา 



เมื่อพบผู้ป่วยหลังจากมีการฉีดวัคซีน COVID-19  ที่มีอาการข้างเคียง เรามีการเตรียมการอย่างไร
        เรามีการเตรียมความพร้อมสำหรับกรณีพบผู้ป่วยที่มีผลข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีน COVID-19   ซึ่งเรามีการเตรียมห้องปฐมพยาบาลที่อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งเรามีการเก็บข้อมูลสำหรับผู้ที่เกิดผลข้างเคียงหลังจากการฉีดวัคซีน COVID-19  ได้โดยประมาณ แค่กว่า 30 คน ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรง ปกติตามมาตรฐานของการฉีดวัคซีน COVID-19  จะต้องมีการสังเกตอาการหลังฉีดวัคซีน COVID-19   ประมาณ 30 นาที ทุกคน หลังจากครึ่งชั่วโมงหากพบผู้ที่มีอาการข้างเคียง เรามีทีมแพทย์ และห้องปฐมพยาบาลเตรียมไว้อย่างทันท่วงที หรือหากพบผู้ที่มีอาการข้างเคียงที่รุนแรง หรืออาจจะมีความดันขึ้นสูง เราสามารถนำผู้ป่วยส่งไปยังห้องฉุกเฉินที่ โรงพยาบาลสุทธาเวชฯ โดยใช้เวลาในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้ไม่เกิน 5 นาที



ในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ชุดปฏิบัติการฉีดวัคซีน COVID-19   มีการสับเปลี่ยนอย่างไร
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้บริการ การฉีดวัคซีน COVID-19  ในแต่ละวันนั้น เราได้รับความร่วมมือ และการสนับสนุนจากบุคลากรของคณะพยาบาลศาสตร์ ในการมาช่วยฉีกวัคซีน COVID-19  ซึ่งการบริการฉีดวัคซีน COVID-19   ถือได้ว่าเป็นงานที่หนักในระดับหนึ่งมากทีเดียว 



ปัญหาที่พบในการทำงานคือ
สำหรับปัญหาที่พบในการฉีดวัคซีน COVID-19  ที่ผ่านมานั้น พบว่ามีผู้ที่ต้องการรับการฉีดวัคซีน COVID-19  จำนวนมาก เราได้รับการจัดสรรวัคซีน COVID-19  มา ในจำนวนจำกัด จึงจะพบปัญหาในส่วนนี้มาก เพราะทีมบุคลากรทางการแพทย์ต้องเหนื่อยในการอธิบาย เรื่องของจำนวนของวัคซีน COVID-19  ที่มีการฉีดในแต่ละวันกับผู้ที่ต้องการได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19  ซึ่งทำให้เกิดความไม่พึงพอใจ สำหรับเรื่องการฉีดวัคซีน COVID-19  ในแต่ละวัน 
วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า จะไม่เหมือนซิโนแวค เพราะซิโนแวคจะเป็นsingle dose คือ 1 amp ต่อหนึ่งคน  แต่แอสตร้าเซนเนก้า มาตรฐานคือหนึ่งamp สามารถฉีดได้ 10 คน แต่ในทางปฏิบัติจริงๆ นั้น เราสามารถฉีดได้ถึง 12 คน เพราะ 1 amp จะมีวัคซีน อยู่ที่ 6.5 cc. แต่ใน 1 คนจะใช้วัคซีนอยู่ที่ 0.5 ต่อ 1 คน และในการดูดยา เราจะมีเข็มชนิดพิเศษที่จะไม่ทำให้มีการค้างท่อของวัคซีน ฉะนั้นพยาบาลของเราได้รับการฝึกฝนการดูดยา และฉีดยามาเป็นอย่างดีเยี่ยม บวกกับที่เราได้เข็มชนิดพิเศษมาใช้สำหรับการดูดวัคซีน จึงมีความแม่นยำสำหรับการแบ่งฉีดวัคซีน แอสตร้าเซเนก้า ได้ถึง 12 คน ปัญหาที่พบอีกประการ เมื่อมีการเปิดวัคซีน แอสตร้าเซเนก้า 1 ขวด ซึ่งจะฉีดได้ 12 คน แต่วันนั้นอาจมีผู้มาฉีดวัคซีน แอสตร้าเซเนก้า  ไม่ครบตามจำนวน อาจจะเหลือเศษ 2-5 คน หากจะทิ้งวัคซีนไปก็เสียดาย ทั้งนี้ในทุกๆ วันจะมีรายชื่อสำรองไว้กรณีวัคซีนเหลือ  ซึ่งจะทราบว่ามีเหลือเท่าไรก็ต้องเป็นช่วงบ่าย ดังนั้น ในแต่ละวัน เราก็จะมีการให้ลงทะเบียนไว้สำหรับผู้ที่สามารถมาฉีดวัคซีนได้ภายใน 30 นาที เมื่อทราบจำนวนวัคซีนที่เหลือแต่ละวันเจ้าหน้าที่จะทำการโทรศัพท์ตามให้มาฉีดวัคซืน ดังนั้นจึงเกิดความไม่เข้าใจว่าทำไมบางคนได้ฉีดวัคซีนก่อนตนเอง



โรงพยาบาลตั้งเป้าสำหรับการฉีดวัคซีน COVID-19  ไว้อย่างไร
สำหรับการฉีดวัคซีน COVID-19  ของโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นั้น เรามีความต้องการที่จะฉีดให้ได้จำนวนที่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  แต่ ณ ปัจจุบันเราได้รับการจัดสรรวัคซีน COVID-19  มาในจำนวนจำกัด เราเลยต้องฉีดตามที่ได้รับจัดสรรมาเต็มตามจำนวนให้ได้มากที่สุด



เรามีช่องทางเพิ่มเติมกรณีบุคคลที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนการฉีดวัคซีน COVID-19   และต้องการฉีดวัคซีน COVID-19  อย่างไร
        สำหรับช่องทางในการลงทะเบียนเพิ่ม กรณีท่านใดที่กำลังตัดสินใจ หรือยังไม่ได้ลงทะเบียนไปนั้นทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขมีการเปลี่ยนระบบลงทะเบียนใหม่ คือระบบเก่า หมอพร้อมนั้น พบปัญหามากพอสมควร เดิมใครที่ลงทะเบียนเสร็จแล้วจะออกวันนัดฉีดวัคซีน COVID-19  ให้เลย ณ ปัจจุบันทางกระทรวงสาธารณสุขมีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการลงทะเบียนใหม่ คืออาจจะให้ผู้ที่ลงทะเบียนแล้ว ระบบจะออกบัตรคิวให้ไว้ก่อนตามลำดับ และเมื่อวัคซีน COVID-19  มาก็จะมีการเรียกฉีดวัคซีนตามบัตรคิวของกระทรวงฯ ที่แจ้งในระบบ ให้คอยระยะเวลาในการลงทะเบียนอีกสักระยะ ขอให้เราได้ดำเนินการฉีดวัคซีน COVID-19  สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนในรอบแรกให้ครบตามจำนวนที่ลงทะเบียนไว้ให้เรียบร้อยก่อน หลังจากนั้น เมื่อระบบของกระทรวงสาธารณสุขเสร็จสมบูรณ์แล้ว เราจะทำการเปิดให้ทุกท่านที่ต้องการจะฉีดวัคซีน COVID-19  ได้ลงทะเบียนอย่างเป็นทางการอีกครั้ง



ฝากอะไรถึงบุคคลที่กำลังตัดสินใจสำหรับการฉีดวัคซีน COVID-19  อยู่ขณะนี้
ก่อนหน้านี้เรามีการรณรงค์ในเรื่องของการฉีดวัคซีน COVID-19  ในช่วงแรกไปอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนั้น คือการฉีดวัคซีนช่วยชาติ ณ ปัจจุบันนี้ สถานการณ์โรค COVID-19  ทำให้ระบบสาธารณสุขเริ่มที่จะดูแลไม่ไหว หากเราไม่ฉีดวัคซีน COVID-19  แล้ว หากเราเกิดป่วยติดเชื้อไวรัส COVID-19  ขึ้นมา จะทำให้กระทบกับทุกฝ่าย ฉะนั้นการฉีดวัคซีน COVID-19  ณ ปัจจุบันนี้ ตนเองคิดว่าอะไรที่มีอยู่ ถ้าฉีดได้นั้น เราก็ควรจะรีบฉีดให้เร็วที่สุด อย่างน้อยๆ กันได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่เมื่อคุณติดเชื้อไวรัส COVID-19  ขั้นมานั้น ก็จะมีอาการป่วยที่ไม่รุนแรง ดีกว่าคนที่ไม่ฉีด สำหรับผลข้างเคียงนั้นจริงๆ แล้ววัคซีนทุกอย่างมีผลข้างเคียงทั้งหมด ปกติเราจะมีการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่กันทุกปี เราก็จะพบผู้ที่มีปัญหากับวัคซีนเชื้อหวัดใหญ่ทุกปี จริงๆ แล้ววัคซีนพิษสุนัขบ้านั้น มีผลข้างเคียงมากกว่ามาก และก็พบว่าใครที่โดนสุนัขกัด ทุกคนก็จะมีการฉีดวัคซีนป้องกันทั้งนั้น เพราะเรากลัวเชื้อพิษสุนัขบ้า ซึ่งทุกคนจะเห็นว่าน่ากลัวมากแค่ไหน อาจถึงเสียชีวิตได้ เพราะสถิติในการเสียชีวิตต่อปีของพิษสุนัขบ้ามีจำนวนมาก
เพราะฉะนั้นถ้าทุกคนกลัวผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน COVID-19  ก็อาจจะเลือกวัคซีนที่มีประสิทธิภาพที่ต่ำลงมาเล็กน้อย พวกเชื้อที่ตาย หรือไวรัสแวกเตอร์ และหากท่านใดต้องการวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงๆ คงต้องคอยไปก่อน แต่อย่างไรก็ตามสำหรับการฉีดวัคซีน COVID-19  นั้น ฉีดก็ดีกว่าไม่ฉีด


Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล/กราฟิก:คุณปิยะฉัตร ธนภัทรธุวานันท์

Related Posts