นักวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ยังคงเดินหน้ามุ่งทำหน้าที่สนับสนุน หรือสร้างผู้ประกอบการทางสังคม 
(Social Entrepreneurship) และเพื่อสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยปรับตัวเองสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างผู้ประกอบการ สร้างสรรค์งานวิจัย และนวัตกรรมที่สามารถต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ท่ามกลางการการถูก Disruption ของธุรกิจหลาย ๆ ธุรกิจ โดยร่วมมือกับสหภาพยุโรป พัฒนา สร้าง ผู้ประกอบการทางสังคม (Social Entrepreneurship) สมุนไพรไทย และสร้างมูลค่าเพิ่มกับผลผลิตทางการเกษตร ภายใต้การนำของ รศ.ดร.ชลธี โพธิ์ทอง


แน่นอนว่าประเทศไทยเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยนานาพืชสมุนไพร ที่มีคุณประโยชน์นานาประการ ที่สามารถนำมาเป็นยารักษาโรคต่างๆ และยังสามารถนำมาใช้แปรรูปได้อีกหลายชนิด  อีกทั้งเป็นที่จับตามองของประเทศเพื่อนบ้าน และขิงก็เป็นพืชสมุนไพรเศรษฐกิจอีกหนึ่งชนิดที่กำลังเป็นที่นิยมของทุกคนในปัจจุบัน และอีกหนึ่งผลผลิต และผลิตภัณฑ์จากขิงที่ปลูกได้คุณภาพของไร่สดใสของอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม


ชื่อโครงการ และผู้รับผิดชอบ
Project : Strengthening innovative social entrepreneurship practices for disruptive business settings in Thailand and Myanmar

กล่าวถึงที่มาของโครงการ
โครงการ STEP uP เป็นโครงการที่ร่วมมือกันระหว่างประเทศที่อยู่ในสหภาพยุโรป (ได้แก่ 
     ออสเตรีย โปร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์) และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ได้แก่ ประเทศไทย และประเทศ  พม่า) ซึ่งประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมทั้งสิ้น 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยบูรพา โครงการ STEP uP มีระยะเวลาในการดำเนินการรวมทั้งสิ้น 3 ปี โดยตลอดระยะ 3 ปี จะมีการดำเนินกิจกรรมหลัก ๆ คือ 
1. ฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในโครงการ ให้มีศักยภาพและความพร้อมในการให้คำปรึกษา และ
    ดำเนินงานเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการเพื่อสังคม
2. ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประการเพื่อสังคมในท้องถิ่น โดยการลงพื้นที่จริง เก็บรวบรวมข้อมูล    
    และวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหาให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อสังคม
3. จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ (Social Entrepreneurship Knowledge Hub: SEKH) เพื่อให้ 
    คำปรึกษา และสนับสนุนผู้ประกอบการอย่างยั่งยืนซึ่งทั้ง 3 กิจกรรมดังกล่าวข้างต้นแบ่งออกเป็น กิจกรรมย่อย ๆ ได้ทั้งหมด 7 WorkPackages



วัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการ
       เพื่อเพิ่มศักยภาพการบุคลากร อาจารย์ นักวิจัยในมหาวิทยาลัยที่ทำหน้าที่สนับสนุน หรือสร้าง
ผู้ประกอบการทางสังคม (Social Entrepreneurship) และเพื่อสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยปรับตัวเองสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างผู้ประกอบการ สร้างสรรค์งานวิจัย และนวัตกรรมที่สามารถต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ท่ามกลางการการถูก Disruption ของธุรกิจหลาย ๆ ธุรกิจ นอกจากนี้แล้วโครงการ STEP uP ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ (SEKH) ขึ้นภายในมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นศูนย์การถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อยกระดับและสร้างขีดความสามารถการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการในท้องถิ่น โดยเฉพาะผู้ประกอบการเพื่อสังคม



ทำไมถึงเลือกลงสู่ชุมชนที่อำเภอนี้
        จากการวิเคราะห์ SWOT ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนของจังหวัดมหาสารคาม รวมถึงการวิเคราะห์เชิงภูมิศาสตร์ (ภายในขอบเขตจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์) ทำให้ทราบจุดแข็งของจังหวัดมหาสารคามคือ เป็นจังหวัดทีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็น ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย และอื่นๆ นอกจากนี้แล้วจังหวัดมหาสารคามยังมีนโยบายที่จะผลักดันให้จังหวัดมีความโดดเด่นด้านสมุนไพร เป็นเมืองแห่งสมุนไพร ดังกล่าวข้างต้น เพื่อใช้ประโยชน์จากความโดดเด่น หรือความได้เปรียบด้านการเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่พร้อมด้วยเรื่องของงานวิจัย นวัตกรรม และองค์ความรู้ พัฒนาให้สอดคล้องกับนโยบายของจังหวัด ทำให้คณะผู้ดำเนินเนินโครงการ STEP uP (MSU) ได้ข้อสรุปตกลงที่จะดำเนินโครงการ และจัดตั้ง MSU SEKH โดยมุ่งเน้นเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อสังคมด้านสมุนไพร และด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร 
          โครงการ STEP uP เป็นโครงการที่ร่วมมือกันของหน่วยงานภายใน 2 หน่วยงาน คือ คณะ
วิศวกรรมศาสตร์ และศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งศูนย์ความร่วมมือ ฯ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นภายในมหาวิทยาลัยมามากกว่า 10 ปี ทำหน้าที่สนับสนุนและบ่มเพาะผู้ประกอบการในท้องถิ่น ซึ่งมีผู้ประกอบการที่อยู่ภายใต้การบ่มเพาะอยู่มากมาย จากการพิจารณาคุณสมบัติ และศักยภาพของผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการไร่สดใส (คุณดวงเดือน ปติตังโข หัวหน้าวิสาหกิจแปรรูปสมุนไพร ไร่สดใส) ตั้งอยู่ที่ อ.วาปีปทุม จ.มหาสาคาม ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ทำเกี่ยวกับสมุนไพรแปรรูป โดยเน้นที่สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น คือ ขมิ้น ไพร ขิง ข่า ตะไคร้ เป็นต้น  มีสมาชิกที่ดำเนินงานร่วมกันในรูปแบบวิสาหกิจชุมชนไม่น้อยกว่า 50 ผู้ประกอบการ โดยส่วนใหญ่ทำการแปรรูปสมุนไพร (เช่น ผงขมิ้น แคปซูลสมุนไพร เป็นต้น) และส่งจำหน่ายให้แก่โรงพยาบาลในจังหวัดมหาสารคาม



จุดเด่นสมุนไพรชนิดนี้เป็นอย่างไร
       จุดเด่นของสมุนไพรไร่สดใส คือ สมุนไพรที่ปลูกจากไร่สดใส ได้การรับรองจากหน่วยงานของรัฐว่าสมุนไพรที่ปลูกจากแปลงที่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้แล้ว อีกจุดเด่นของไร่สดใสคือ เป็นการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการแปรรูปสมุนไพรที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งจุดนี้จะสามารถสร้างความได้เปรียบ และมีอำนาจในการต่อรองกับลูกค้า และเป็นแหล่งแปรรูปสมุนไพรที่ใหญ่ คงไว้ซึ่งมาตรฐานการแปรรูปสมุนไพร อีกทั้งยังเป็นผู้ประกอบการ เพื่อสังคมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสมุนไพรในท้องถิ่น

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน
        สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานนั้น อย่างที่กล่าวข้างต้น โครงการ STEP uP เป็นโครงการที่ร่วมมือกันระหว่างสหภาพยุโรป และ 2 ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นในการติดต่อเพื่อประสานงานจะใช้ภาษากลาง (ภาษาอังกฤษ) เป็นหลักในการสื่อสาร ซึ่งส่งผลให้มีปัญหาในการสื่อสารบ้างในบางครั้ง นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของกฎเกณฑ์และเงื่อนไขของแต่ละประเทศ แต่ล่ะสถาบันอุดมศึกษาที่แตกต่างกันออกไป ทำให้การดำเนินงานถูกกรอบด้วยกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไข ซึ่งเป็นอุปสรรคและปัญหาในเรื่องของการส่งรายงาน ส่งเอกสาร รวมถึงการบริหารและจัดการเรื่องของงบประมาณ



กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มใด
         เนื่องจาก MSU SEKH ภายใต้โครงการ STEP uP จะมุ่งเน้นเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ และพัฒนาส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการ เพื่อสังคมในท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ประกอบการในท้องถิ่น (ร้อยแก่นสารสินธุ์) ที่ประกอบการเกี่ยวกับเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงการแปรรูปด้านสมุนไพร เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดมหาสารคาม ดังกล่าวข้างต้น ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ประกอบการด้านสังคมและมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ หากสนใจจะเข้าร่วมโครงการ STEP uP ก็สามารถติดต่อมาที่คณะผู้ดำเนินโครงการ STEP uP ได้ตามที่อยู่ด้านล่าง



งบประมาณในการจัดทำโครงการ
         สำหรับผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่เข้าร่วมโครงการ STEP uP จะได้รับงบประมาณในการสนับสนุนทั้งหมด 35,000 บาทต่อราย โดยงบประมาณดังกล่าวเป็นงบประมาณครอบคลุมการดำเนินงานทั้งหมดเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการนั้น ๆ 



มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการสนับสนุนอย่างไร
         มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สนับสนุนในส่วนของสถานที่ดำเนินงานโครงการ STEP uP พื้นที่ที่จะจัดตั้งเป็นศูนย์ MSU SEKH รวมถึงสนับสนุนด้านการใช้ประโยชน์ของงานวิจัย การถ่ายทอดองค์ความรู้ และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการบ่มเพาะ ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการในอนาคตจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายอีกต่อไปอย่างไรบ้าง
         สำหรับผู้ประกอบการไร่สดใส จากการสอบถามเบื้องต้นทำให้ทราบว่า ผู้ประกอบการมีแผนในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์แปรรูปผลสมุนไพร เพื่อออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ดังนั้นในอนาคตผู้ประกอบการไร่สดใสกำลังวางแผนเพื่อดำเนินการด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านมาตรฐานการผลิต ด้านกำลังการผลิต ด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้เป็นที่ยอมรับ และสามารถส่งออกระหว่างประเทศได้



มีแผนการจัดทำโครงการเช่นนี้ลงสู่ชุมชนอื่นอีกหรือไม่ อย่างไร
สำหรับชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการคือ ชุมชนที่เป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม และเป็นผู้ประกอบการที่ประกอบการเกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งจากการพิจารณาร่วมกับศูนย์ความร่วมมือ ฯ (UIC) มีผู้ประกอบการที่น่าสนใจอยู่มากกว่า 2 ราย อาทิเช่น วิสาหกิจผู้ผลิตมันสำปะหลัง จังหวัดมหาสารคาม วิสาหกิจข้าวอินทรีย์บ้านดอนยานาง จังหวัดร้อยเอ็ด  เป็นต้น เนื่องจากเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม และเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ MSU SEKH มุ่งเน้นเพื่อพัฒนาศักยภาพ



ฝากอะไรถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ กับการทำวิจัยเพื่อประโยชน์สู่ชุมชน และสังคม
     อยากจะฝากถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ว่า “ในยุค Thailand 4.0 คือยุคที่ต้องอาศัยเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนประเทศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิต ซึ่งกุญแจสำคัญคือนักวิจัยรุ่นใหม่ ที่เป็นอนาคต และกำลังสำคัญของประเทศ ทั้งยังเป็นวัยที่มีความรู้ และเข้าใจเทคโนโลยี สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเนื่อวจากเราอยู่ร่วมกันในสังคม หากเราก้าวไปข้างหน้าเพียงคนเดียว ก้าวนั้นคงไม่ใหญ่ และไม่ยั่งยืนมาก แต่หากเราก้าวไปด้วยกัน เติบโตไปพร้อมกัน นั่นคือที่สุดของการพัฒนาแบบยั่งยืน เพราะฉะนั้นมาร่มกันเป็นสวนหนึ่งของการพัฒนา และชุมชนด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้วยกัน”


คติในการทำงาน
 “ทำแล้วมีความสุข  สร้างรายได้ให้กับครอบครัว”

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ไหน
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับโครงการ STEP up ได้ที่
    1. รศ.ดร.ชลธี โพธิ์ทอง สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม TEL: 095-6623633
    2. ดร.สริญญา ศาลางาม สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม TEL: 098-7489983
ผู้ประกอบการไร่สดใส
นางดวงเดือน  ปติตังโข
ที่อยู่: หมู่  6  บ.เขวาค้อ  ต.แคน  อ.วาปีปทุม  จ.มหาสารคาม  
เบอร์โทร: 082-8466834




Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล/กราฟิก:คุณปิยะฉัตร ธนภัทรธุวานันท์

Related Posts