&..." /> นิสิต มมส คว้ารางวัลเหรียญทอง ประเภทจะเข้ ระดับอุดมศึกษา
    จากการที่ได้ลองเล่นได้สัมผัสดนตรีไทย ทำให้เกิดความหลงใหลในเสน่ห์ของดนตรีไทย   เขาจึงไม่รอช้าที่จะเริ่มศึกษาหาความรู้ใดนตรีไทย  ตั้งใจฝึกซ้อม ฝึกฝน มุ่งมั่น ทุ่มเทในสิ่งที่รัก และผลจากความพากเพียร  เขาประสบความสำเร็จ โดยคว้ารางวัลเหรียญทอง อันดับที่  2 ประเภทจะเข้  ระดับอุดมศึกษา ในการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยและขับร้องระดับชาติ “เสริมประสบการณ์ สืบสานสังคีตศิลป์ไทย” ในโครงการ ๕๐ ปี ดนตรีบ้านสมเด็จฯ งานวันคล้ายวันพิราลัยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๔  MSU ONLINE จะพาทุกท่านไปรู้จักกับ  อนุรักษ์ ศรีแก่นจันทร์  นิสิตคนเก่งเรา ตามเรามาเลยค่ะ



แนะนำตัวเอง
    นายอนุรักษ์ ศรีแก่นจันทร์ ชั้นปีที่ 4 สาขาดุริยางคศิลป์ไทย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ทำไมเลือกเรียนในสาขาดุริยางคศิลป์ไทย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
    เหตุผลที่เลือกเรียนดนตรีไทย ผมเริ่มสนใจในการเล่นดนตรีไทยตั้งแต่มัธยมต้นครับ/ การได้ลองเล่นได้สัมผัสดนตรีไทยมันช่างมีเสน่ห์เหลือล้น จึงทำให้ผมชอบและหลงไหลในเสียงดนตรีไทยครับ ผมได้รู้จักชมรมดนตรีไทยตั้งแต่เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และได้เข้าไปสู่การฝึกซ้อมแบบค่ายพักแรมเข้าสู่ครอบครัวดนตรีไทยเป็นครั้งแรกแล้วรู้สึกประทับใจ
และรักที่จะเรียนดนตรีไทยตลอดมา ผมอยากมาต่อยอดและเรียนรู้ พัฒนาฝีมือตนเองให้มีศักยภาพที่ดีมากกว่าเดิม  และที่นี่มีบุคลากรที่เปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถด้านจะเข้โดยตรง นั่นคือ รองศาสตราจารย์พิภัช สอนใย และท่านได้ให้ความเมตตาผม มอบทุนการศึกษาในทุกๆเทอมจนจบหลักสูตรปริญญาตรี ครับ



"จะเข้" เลือกเรียนเพราะใจรัก
    ทำไมเลือกเรียน “จะเข้”นั้น ต้องท้าวความว่าก่อนที่ผมจะได้เล่น"จะเข้"ตามที่ใจชอบนั้น ผมได้ลองเล่นเครื่องดนตรีหลายหลายเครื่องเครื่องแรกที่ผมฝึกเล่นนั้น คือ "ขลุ่ยหลิบ" ซึ่งไม่ประสบผลสำเร็จ ผมจึงได้เลือกมาเล่นระนาดเอก ซึ่งก็ถือว่าเข้ากันได้ดีและประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง  แต่จะเข้เป็นเครื่องดนตรีที่อยากเล่นมานานแล้วแต่ไม่มีโอกาสได้เล่น เมื่อผมกำลังจะสมัครเข้าสอบเรียนต่อปริญญาตรี  ผมจึงได้ฝึกเล่นและได้มาปรับฟื้นฐานกับครูพิภัช สอนใย ก่อนที่จะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามครับ 
    ผมมีไอดอล ในการเล่น จะเข้ คือครูระตี (วิเศษสุรการ) จุลพล ครูระตีได้ชื่อว่า เป็นนักจะเข้ฝีมือยอดเยี่ยมในระดับแนวหน้าคนหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ที่ยากจะหาผู้ใดเหมือน ท่านดีดแรง ทั้งไหว ทั้งเรียบ และชัดเจนแจ่มแจ้งทุกตัวโน้ต เคยบันทึกเสียงเพลงเดี่ยวต่าง ๆ ไว้มาก  นับเป็นนักดนตรีที่มีผู้นิยมชมชื่นในฝีมือมากที่สุดคนหนึ่ง เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในการเดี่ยวจะเข้  เมื่อมีการประกวดทางสถานีวิทยุสื่อสาร ผู้ชื่นชในความความสามารถของท่านมากครับ ท่านจึงเปรียบเป็นไอดอลของผมเสมอมาครับ



การประกวดในครั้งนี้และรางวัลที่ได้รับ
    รางวัลที่ผมได้รับนั้นเป็นรางวัล เหรียญทอง อันดับที่ 2 ประเภทจะเข้  ระดับอุดมซึกษา  ในการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยและขับร้องระดับชาติ “เสริมประสบการณ์ สืบสานสังคีตศิลป์ไทย” กลุ่มซอด้วง ซออู้ ซอสามสาย จะเข้ ขิม 7 หย่อง ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็ก ในโครงการ ๕๐ ปี ดนตรีบ้านสมเด็จฯ งานวันคล้ายวันพิราลั สมเด็จเจ้า
พระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ และวาระครบรอบ ๕๐ ปี ดนตรีบ้านสมเด็จฯ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาครับ

รับทราบข่าวการประกวดได้อย่างไร? 
    ผมได้รับการชักชวนจากครูพิภัช สอนใย ให้เข้าร่วมประกวด ซึ่งผมคิดว่าเป็นเป็นโอกาสดีสำหรับผม เพราะเป็นการฝึกซ้อมทบทวนเพลงไปด้วย  และยังได้ฝึกการออกแสดงออกผ่านกล้องด้วย  ผมทำอย่างเต็มที่ถึงแม้จะได้รางวัลหรือไม่ก็ตามครับ 

มีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
    เมื่อผมได้ตัดสินใจว่าผมจะเข้าร่วมประกวดผมก็ได้มีการทบทวนเพลงคนเดียวจนแม่นเพลงเสียก่อน จึงได้นัดปรับเพลงกับครูอีกครั้งพร้อมเข้าฉิ่งเข้ากลอง เป็นเวลา 7 วัน และบันทึกวิดีโอส่งประกวด  1 วัน   ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณท่านรองศาสตราจารย์พิภัช สอนใย ที่ช่วยควบคุมดูแลการฝึกซ้อมตลอดจนถึงการอัดคลิปส่งประกวดครับ  และขอบคุณทางวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ที่สนับสนุน และอำนวยความสะดวกสถานที่ในการฝึกซ้อมและสถานที่ในการบันทึกวิดีโอครับ



เล่าบรรยากาศในการแข่งขัน/มีผู้เข้าร่วมแข่งขันจำนวนเท่าไหร่? 
    ผมรู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งเวลาที่จะแสดงจริงๆ แม้ว่าจะเป็นการแสดงผ่านทางวิดีโอก็ตาม ความคิดผมเหมือนมีคนรอชมต่อหน้าเราจำนวนมาก ผมได้บันทึกหลายรอบมากๆ  ผิดนิดผิดหน่อยก็ไม่ให้ผ่านไป  เราบันทึกกันหลายครั้งมากครับ จนได้ไฟล์วีดีโอที่ดีที่สุดจำนวน  2  ไฟล์  ผมดีใจมากที่กาบันทึกวีดีโอนั้นสำเร็จไปด้วยดี แต่ผมมีเวลาที่จะส่งให้ทันการปิดทำการของไปรษณีย์เพียงนิดเดียวเท่านั้น  แต่ก็ยังได้ส่งทันพอดีครับ  ผมโล่งใจมากครับที่นำส่งทันเวลา  จำนวนผู้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศทั้งหมด 10 คนทั่วประเทศ ผมไม่ทราบตัวเลขที่แน่ชัดว่าจำนวนผู้ที่ร่วมเข้าประกวดเท่าไหร่ครับ แต่คิดว่าคงจะมากพอสมควรเพราะเป็นการข่งขันในระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศครับ

บอกเล่าความรู้สึกวินาทีที่ได้รับรางวัล  /ความภาคภูมิใจกับความสำเร็จในครั้งนี้ 
    ในวันนั้นผมไม่ได้เข้าไปดูผลด้วยตัวเอง ต้องขอขอบคุณท่าน ดร.พิษณุ บุญศรีอนันต์ ด้วยนะครับที่ท่านได้แจ้งผลการประกวดและแสดงความยินดีกับผมครับ ผมรู้สึกดีใจมากจนบอกไม่สามารถบรรยายความรู้สึกนั้นได้  ดีใจมากกับผลของการทุ่มเทเต็มความสามรถของผมในครั้งนี้  เพราะผมไม่ได้คาดหวังว่าผมจะได้รางวัล  มันเป็นรางวัลที่พิเศษมากๆครับสำหรับผม ในการประกวดครั้งสุดท้ายก่อนจบปริญญาตรี ในสถาบันที่รักแห่งนี้ครับ

จุดมุ่งหมายสำหรับมองอนาคต
ผมอยากที่จะนำความรู้ความสามารถด้านดนตรีทั้งหมดที่ผมมี  ไปสอนเพื่อสืบทอดให้กับเด็กรุ่นหลังต่อไปครับ



ข้อคิดดีๆ  ถึงเพื่อนพ้องน้องพี่ 
จงลงมือทำในสิ่งที่เรารัก  สักวันสิ่งที่เรารักจะรักเรา

เชิญชวนน้องๆ ที่สนใจเข้ามาเรียนในสาขาดุริยางคศิลป์ไทย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
    ขอเชิญชวนน้องๆที่รักในเสียงดนตรีไม่ว่าจะเป็นสาขาดนตรีตะวันตก สาขาดนตรีพื้นบ้าน และสาขาดนตรีไทย เข้ามาเรียนมาสัมผัสกับครอบครัวดุริยางคศิลป์ ครอบครัวดนตรีตะวันตก ครอบครัวศิลป์อีสาน ครอบครัวตักสิลาวาฑิต ทุกครอบครัวล้วนแต่มีความรักให้กันและกัน พวกเราดูแลกันแบบพี่น้องรักใคร่ปองดองกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพราะในวิทยาลัยดุริยางคศิลป์แห่งนี้  น้องๆจะได้เรียนรู้กับดนตรีที่หลากหลาย มุมมองใหม่ๆ มุมมองที่ใหญ่กว่าเดิม ขอบคุณครับ



Author

ผู้เรียบเรียง : จุฑามาศ ภิญโญศรี
Email : jutamas.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0942915414

Related Posts