มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) เล็งเห็นถึงความสำคัญของการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน การสร้าง
รายได้ การยกระดับการแข่งขันของสินค้าชุมชนเข้าสู่ระดับสากล ให้เกิดการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืนในโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้การดูแลของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม ประธาน “โครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (SocialInnovation Driving Unit) หรือ SID-ESAN”



ชื่อโครงการ 
          การยกระดับผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม 
ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

     Improvement of products and marketing value added of local community 
enterprise in Maha Sarakham province based on science, technology and innovation for sustainable development



วัตถุประสงค์ในการจัดทำสิ่งประดิษฐ์
1. เพื่อยกระดับการปลูกสลัดแบบเกษตรอินทรีย์ของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม
2. เพื่อศึกษา และสังเคราะห์แนวทางการปลูกพืชผักสลัดแบบเกษตรอินทรีย์ โดยใช้อาหารเสริมพืชสูตรซุปเปอร์ (SuperPlant Supplement) และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เพื่อทุกสรรพสิ่งมาประยุกต์ใช้งาน
3. เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มเกษตรอินทรีย์อัจฉริยะในการปลูกผักสลัด
4. เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาการปลูกพืชผักสลัดแบบเกษตรอินทรีย์ โดยใช้อาหารเสริมพืชสูตรซุปเปอร์(SuperPlant Supplement) และเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเพื่อทุกสรรพสิ่งมาประยุกต์ใช้งาน
5. เพื่อเพิ่มและขยายช่องทางในการจัดจำหน่ายพืชผักสลัดแบบเกษตรอินทรีย์
    เพื่อเสนอรูปแบบนวัตกรรมสังคม ที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง 12 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครพนม บึงกาฬ มุกดาหาร เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี สร้างนวัตกรรมด้านสังคมผ่านการบ่มเพาะ และให้คำปรึกษา ภายใต้ระบบพี่เลี้ยง เพื่อไปช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและชุมชน ด้วยการนำนวัตกรรมไปแก้ปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาแนวคิดสู่ต้นแบบหรือโครงการนำร่องเป็นผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่สร้างผลกระทบเชิงสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรมในกลุ่มจังหวัดภายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ตลอดจนสร้างหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม และเครือข่ายนวัตกรรมเพื่อสังคมให้สามารถทำงานเชิงบูรณาการ สร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่เอื้อต่อการเติบโตของนวัตกรรมอย่างยั่งยืน และสร้างผลกระทบเชิงสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม 



จุดเด่นของโครงการ
จุดเด่นของโครงการที่นำเสนอจะเป็นการนำเอาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อทุกสรรพสิ่งหรือ IoT มาประยุกต์ใช้งานในหลากหลายด้าน ได้ดังนี้
       1. ด้านการบริหารจัดการเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลด้านการปลูกเพื่อใช้ในการสร้างแนวทางและปรับปรุงเกี่ยวกับการเพาะปลูกซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บประกอบไปด้วยข้อมูลด้านสภาพแวดล้อม ข้อมูลคุณภาพของดินที่ใช้สำหรับปลูก ข้อมูลค่าความชื้นในดิน เป็นต้น
       2. ด้านการตรวจสอบและควบคุมสั่งการ เกษตรกรสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ และสามารถควบคุมสั่งการการทำงานผ่านทางแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือจากที่ไหนก็ได้ เช่น ตรวจสอบข้อมูลสภาพแวดล้อมโดยรอบแปลงปลูก ตรวจสอบค่าความเป็นกรด เป็นด่างของดิน และควบคุมสั่งการการรดน้ำผ่านทางแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
       3. ด้านพลังงานทดแทน โครงการที่เสนอจะนำเอาระบบพลังงานจากแสงอาทิตย์ หรือระบบพลังงานโซล่าเซลล์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นทรัพยากรจากธรรมชาติที่ใช้ไม่มีวันหมด มาประยุกต์ใช้งาน ใช้สำหรับเป็นพลังงานหลักในการขับเคลื่อนระบบ ใช้ในระบบสูบน้ำ ทำให้เกษตรกรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในพื้นที่ไร่ สวน ที่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงได้
       4. ด้านการแก้ปัญหาสังคม เกิดความร่วมมือภายในชุมชน เป็นการสร้างโอกาส และสร้างรายได้ให้กับชุมชน
สุขภาพกาย สุขภาพจิตใจของเกษตรกรภายในชุมชนดีขึ้น เพราะการปลูกพืชจะเน้นการใช้งานเทคโนโลยีร่วมกับการปลูกพืชผักแบบอินทรีย์
       5. ด้านสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่มีสารเคมีตกค้างเพราะการปลูกจะเน้นการปลูกพืชแบบอินทรย์ลดปริมาณขยะที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ที่ใช้จะเน้นการใช้งานจากวัสดุที่มาจากธรรมชาติ
       6. ประโยชน์ในการใช้งาน วิสาหกิจชุมและเกษตรได้ระบบสำหรับบริหารจัดการ ในการปลูกพืชผักและการทำเกษตรอินทรีย์



ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน
- หากไฟฟ้าตก ไฟฟ้ากระชาก หรือไฟฟ้าดับบ่อย ให้จัดหาระบบสำรองไฟ ระบบแบตเตอรี่สำรองไฟเพียงพอ 
- การสร้างกลุ่มผู้ผลิตให้มากขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนวัตถุดิบกล้วยให้ทันตลาด

งบประมาณในการจัดทำโครงการ
สำหรับเรื่องการงบประมาณทั้งหมดในการดำเนินโครงการ กว่า 2,000,000 บาท จากทุน บพท.63
ทุนสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA



มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการสนับสนุนอย่างไร
ได้รับทุนสนับสนุนผ่านมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กองทุน บพท.63

มีแผนการนำองค์ความรู้ลงสู่ชุมชนอย่างไร
สำหรับแผนการดำเนินการจัดโครงการของเรานั้น เรามีการประชุมวางแผนการปฏิบัติงานลงสู่ชุมชน โดยมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อยกระดับการปลูกสลัดแบบเกษตรอินทรีย์ของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม
       -การลงพื้นที่สำรวจและจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 เพื่อสำรวจความต้องการและความสามารถในการเรียนรู้เทคโนโลยีและความต้องการของเกษตรกร ศึกษา และสังเคราะห์แนวทางการปลูกพืชผักสลัดแบบเกษตรอินทรีย์ โดยใช้อาหารเสริมพืชสูตรซุปเปอร์ (Super Plant Supplement) และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อทุกสรรพสิ่งมาประยุกต์ใช้
      -จัดหาเทคโนโลยีสำหรับใช้ในการสนับสนุนการทำงานด้านการเกษตร
      -เลือกพื้นที่ตัวอย่างในการศึกษาและติดตั้งระบบ
      -จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 อบรมการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อทุกสรรพสิ่งในด้านการเกษตร
      -ติดตั้งระบบเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อทุกสรรพสิ่งสำหรับใช้ในการเกษตร
      -สร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน IoT (IoT Infrastructure) และคลาวด์ (clouds) รวมถึงการแสดงผลข้อมูลผ่านมือถือหรือแท็บเล็ต
      -การเก็บข้อมูลเบื้องต้นเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน IoT (IoT Infrastructure )
      -จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 3 เพื่อการประเมินความพึงพอใจ การแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะ
      -วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานระบบ
      -จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 4 เพื่อตรวจเครื่องมือ ติดตาม ประเมินทั้งโครงการเพื่อแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะ
      -ประมวลข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลหลังเก็บข้อมูลครั้งที่ 4
      -ประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพ
      -จัดทำตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ และสร้าง  แบรนด์เพื่อจำหน่ายในตลาดออนไลน์
      -นำตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ นำเสนอต่อวิสาหกิจชุมชนเพื่อเลือกบรรจุภัณฑ์ และแบรนด์ที่ใช่และทดลองขายออนไลน์
      -การสรุปผล รายงาน เสนอข้อมูลด้านนโยบายและแผนยุทธศาสตร์จังหวัดในการมุ่งสู่การพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ เพื่อให้เกษตรกรรมพัฒนาอย่างยั่งยืน



ในอนาคตจะมีการพัฒนาองค์ความรู้สู่ชุมชนอย่างไรบ้าง
       อนาคตได้ขยายพื้นที่ลงวิสาหกิจชุมชนมากขึ้น และมีการขอทุนสนับสนุนมากขึ้น มีการปรับโปรแกรมและเทคโนโลยีเพิ่มการออกรายงาน Data analytics เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่แม่นยำมากขึ้น



ฝากอะไรถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ต่อสังคม และชุมชน
       ต้องสร้างงานวิจัยจากความต้องการชุมชนเป็นหลักและข้อแรกที่จะทำงานวิจัย ไม่ได้แค่เพียงวิจัยจากตัวความเชี่ยวชาญของนักวิจัยเท่านั้น



คติในการทำงาน
“จงอย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว แต่จงทำตัวเป็นดั่งน้ำครึ่งแก้วอยู่เสมอ”

รายชื่อบุคลากรในโครงการ
6.1 หัวหน้าโครงการ
    ชื่อ-สกุล                              ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม
    หน่วยงานที่สังกัด                      คณะการบัญชีและการจัดการ
    ตำแหน่งในโครงการ              หัวหน้าโครงการ
    สัดส่วนการดำเนินโครงการวิจัย     25%
6.2 นักวิจัย
    ชื่อ-สกุล                              อาจารย์ ดร. นิพจน์พัทธ์ เมืองโคตร
    หน่วยงานที่สังกัด                      คณะการบัญชีและการจัดการ
    ตำแหน่งในโครงการ              ผู้ร่วมวิจัย
    สัดส่วนการดำเนินโครงการวิจัย     10%
6.3 นักวิจัย
    ชื่อ-สกุล                              อาจารย์ ณัฐอาภา  สัจจวาที
    หน่วยงานที่สังกัด                      คณะการบัญชีและการจัดการ
    ตำแหน่งในโครงการ              ผู้ร่วมวิจัย
    สัดส่วนการดำเนินโครงการวิจัย     10%
6.4 นักวิจัย
    ชื่อ-สกุล                              อาจารย์ สมโภช ทองน้ำเที่ยง
    หน่วยงานที่สังกัด                      คณะการบัญชีและการจัดการ
    ตำแหน่งในโครงการ              ผู้ร่วมวิจัย
    สัดส่วนการดำเนินโครงการวิจัย     10%
6.5 นักวิจัย
    ชื่อ-สกุล                              ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพคุณ  ภักดีณรงค์
    หน่วยงานที่สังกัด                      คณะวิทยาศาสตร์
    ตำแหน่งในโครงการ              ผู้ร่วมวิจัย
    สัดส่วนการดำเนินโครงการวิจัย     10%
6.6 นักวิจัย
    ชื่อ-สกุล                              ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะเนตร  จันทร์ถิระติกุล
    หน่วยงานที่สังกัด                      คณะวิทยาศาสตร์
    ตำแหน่งในโครงการ              ผู้ร่วมวิจัย
    สัดส่วนการดำเนินโครงการวิจัย     5%
6.7 นักวิจัย
    ชื่อ-สกุล                              ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ สุทธิสา
    หน่วยงานที่สังกัด                      คณะวิทยาศาสตร์
    ตำแหน่งในโครงการ              ผู้ร่วมวิจัย
    สัดส่วนการดำเนินโครงการวิจัย     10%
6.8 นักวิจัย
    ชื่อ-สกุล                              อาจารย์ ดร.สุรศักดิ์ ขันคำ
    หน่วยงานที่สังกัด                      คณะวิทยาศาสตร์
    ตำแหน่งในโครงการ              ผู้ร่วมวิจัย
    สัดส่วนการดำเนินโครงการวิจัย     5%
6.9 นักวิจัย
    ชื่อ-สกุล                             ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา ศรีประภาคาร
    หน่วยงานที่สังกัด                     คณะวิทยาศาสตร์
    ตำแหน่งในโครงการ             ผู้ร่วมวิจัย
    สัดส่วนการดำเนินโครงการวิจัย    10%
6.10 นักวิจัย
    ชื่อ-สกุล                             ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยภัทร  บุษบาบดินทร์
    หน่วยงานที่สังกัด                     คณะวิทยาศาสตร์
    ตำแหน่งในโครงการ             ผู้ร่วมวิจัย
    สัดส่วนการดำเนินโครงการวิจัย    5%

Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล

Related Posts