นิสิตสาขาสถาปัตยกรรมภายใน คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง  จากการประกวดแบบในโครงการ “PGD  INTERIOR  DESIGN  COMPETITION  ในหัวข้อ ห้องตรวจแพทย์และห้องพักผู้ป่วยสมัยใหม่” ของบริษัท Paul group  รับรางวัล 15,000  บาท


แนะนำตัว


นายกวินท์ อุ่นแก้ว และ นางสาวจิตเจียรไนย สุภาพิมพ์


นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์


รางวัลที่ได้รับ : รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1


การประกวดแบบ PGD  2019 ในหัวข้อ "ห้องตรวจแพทย์และห้องพักผู้ป่วยสมัยใหม่"  


ชื่อผลงาน : On vacation time


จัดโดย บริษัท : Paul group design 

อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.นิพัทธา หรรนภา



ทราบข่าวการประกวดจากที่ไหน?

ได้รับทราบข่าวจากการประกวดจากอาจารย์ซึ่งโพสต์ไว้ในกลุ่มค่ะ  พวกเราเลยลองเข้าไปอ่านดู  เขาบอกว่าถ้าแบบเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย จะได้เงินรางวัลทีมละ 1,500 บาท  ด้วยความที่ตอนนั้นทั้งคู่ไม่มีเงินน่ะค่ะ  กำลังช็อต 5555 เราเลยคิดว่า ลองดูก็ไม่เสียหาย ก็ฝึกงานอยู่ที่กรุงเทพฯกันอยู่แล้ว อีกอย่างตอนนั้นพวกเราก็ไม่ได้มีงานยุ่งอะไรกันมากขนาดนั้น  เลยตกลงกันว่าจะส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้  ซึ่งถ้าเข้ารอบก็จะได้เงินไปกินชาบูกัน แล้วก็อาจจะได้ไปฟังคำแนะนำดีๆ จากที่ๆ เขาออกแบบโรงพยาบาลกันจริงๆ ด้วยว่ามันต้องทำยังไง ต้องมีอะไรบ้าง ก่อนจะได้เรียนตอนปี 5 ด้วย




มีการเตรียมตัว  วางแผนอย่างไรบ้างง?

พวกเราเริ่มจากการอ่านโจทย์ให้เข้าใจก่อนค่ะ ว่าเขาต้องการเห็นอะไรในงานบ้าง ในงานนี้พวกเราเข้าใจว่า เขาอยากเห็นความใหม่ในโรงพยาบาลค่ะ ก็เลยมาคุยกัน ว่าไอ้ความใหม่ที่ว่านี้มันมีอะไรได้บ้าง ก็เริ่มแบ่งหน้าที่กันตามความถนัดของแต่ละคน  ไมเนอร์เป็นคนไม่ค่อยชอบอ่านเยอะๆ เลยจะเป็นคนดู case study ทั้งในและนอกประเทศว่าเขามีอะไรไปถึงไหนแล้ว แล้วก็จะ sketch plan ,function อะไรแบบนั้นไว้ก่อน  โบนัสเป็นคนตาเอียง sketch ไม่สวย เลยจะเป็นคนหาข้อมูล ว่าในห้องพักกับห้องตรวจในโรงพยาบาลจะต้องมีอะไรบ้าง  ลิสต์เอาไว้  ด้วยความที่พวกเราไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย เลยงมอยู่กับตรงนี้กันค่อนข้างนาน พอโบนัสได้ข้อมูลก็มาเขียนเป็นแบบ plan คร่าวๆให้มีความต้องการที่ครบตามที่หาข้อมูลมา แล้วไมเนอร์ก็จะเอาตรงนี้ไปปรับแก้ให้มีความใหม่และมี function ใช้งานที่ดีขึ้น และเราก็มาถึงทางตัน คือเรื่อง concept งาน จริงๆเราทั้งคู่จะชอบคิด concept งานก่อนอยู่แล้ว และค่อยคิดแต่ละอย่างเพิ่มเติมให้ไปในทางเดียวกันกับ concept แต่ด้วยความที่ครั้งนี้เรามองไปที่ ความใหม่ ที่โรงพยาบาลจะมี เลยเห็นตรงกันว่าโรงพยาบาลที่มีความใหม่มันคือโรงพยาบาลที่มี function ที่ดีขึ้น ที่ตอบสนองความต้องการให้กับคนป่วย ญาติ และบุคลากรในโรงพยาบาล เพราะงั้นเลยไม่ได้คิด design ที่อยากจะให้เห็นมาก่อน จริงๆมันควรมาพร้อมกันนะ ไม่ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง5555 ก็คิดไม่ออกกัน ที่คิดออกก็จะเป็น concept บ้าน หรือ โรงแรม แต่ก็คิดว่าใครๆก็คงอยากให้เป็นแบบนั้น ถ้าเอาอันใดอันนึงไป ต้องซ้าแน่ๆ เลยไม่อยากใช้ concept นั้น จนกระทั่งพี่ที่ฝึกงานลาป่วย เรารู้เลยว่าพี่อาจจะต้องไปโรงพยาบาล แต่ถ้าการไปโรงพยาบาลครั้งนี้มันเหมือนการได้ลาไปพักร้อนล่ะ ? พอคิดได้อย่างนั้นก็เอาเลย On vacation time ให้การลาป่วยของคุณครั้งนี้เป็นการไปพักผ่อน ฟื้นฟูร่างกาย ไม่ใช่การรักษาจากการเจ็บป่วย คุณแค่เหนื่อย ไม่ได้ป่วยหรอก 5555 พอเห็นตรงกันแล้วก็เริ่ม design เพิ่มเลย ให้มันดูลาไปพักร้อนที่สุด แล้วก็ส่งประกวดไป  จริงๆ ปัญหามันก็มีมาอีกหลังจากผ่านเข้ารอบ คือเราเพิ่งรู้ว่าไม่ได้ทำตามกติกา เสาและช่อง Shaft ของเรามันไม่อยู่ที่เดิม  ซึ่งอันนี้พวกเราผิดเองที่ไม่ได้ดูที่เขาประกาศเพิ่มเติมในเพจเฟสบุ๊ค แต่ทางบริษัทก็ให้โอกาสพวกเรามาปรับแก้  ซึ่งค่อนข้างหนักเหมือนกัน ด้วยความที่เราออกแบบให้มันเอียงและโครงสร้างเดิมมันตรงเป็นระนาบเดียวกัน ตอนแรกก็ท้อนะคะ  แบบไม่อยากแก้แล้ว เอาแบบเก่าส่งไปแทนมั้ยที่มันไม่เอียงและถูกกฎ แต่สุดท้ายก็แก้ต่อ ทำมาถึงขนาดนี้แล้ว อยากทำให้ดีที่สุด โดยไม่ต้องมาเสียดายว่าไม่ได้ทำในสิ่งที่คิดและอยากทำ เลยลุยกันต่อ จนถึงเช้าที่จะต้องไป Present รอบสุดท้ายเลย ไปกันแบบเบลอๆ ผมไม่แห้ง ยังไม่ได้นอน 55555 แต่ทุกอย่างมันก็เกินที่เราคาด จาก 1,500 บาท กลายเป็นได้ 15,000 บาทแทน เป็นการเพิ่มศูนย์ที่ไม่สูญเปล่าเลย




ความรู้สึก ความภาคภูมิใจ

ก็ภาคภูมิใจในทีมของเรานะ ที่พวกเราทำงานกันอย่างที่ตั้งใจไว้ว่าจะทำกันจริงๆ แต่ก็แอบเสียดายตอน นำเสนอ  ตัวเราเองทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร  แต่ก็ขอบคุณที่เพื่อนในทีมที่ไม่ว่าอะไรมาก 5555 


ข้อคิดดีๆถึงเพื่อนพ้องน้องพี่

: ก็อย่าเพิ่งหมดหวังในตัวเอง  เราควรทำทุกอย่างให้เต็มที่  จะได้ไม่เสียดายในภายหลังค่ะ

Author

ผู้เรียบเรียง : จุฑามาศ ภิญโญศรี
Email : jutamas.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0942915414

Related Posts