คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ส่งทีมนิสิตเข้าร่วมการแข่งขันพัฒนาต้นแบบยานยนต์ไฟฟ้า 3-4 ล้อ ครั้งที่ 1 สำหรับผู้สูงอายุในการใช้งานในชีวิตประจำวัน (EV CUP 2018) ระดับอุดมศึกษา การจัดการแข่งขันในครั้งนี้ สำหรับผู้สูงอายุในการใช้งานในชีวิตประจำวัน ในพื้นที่ถิ่นที่พักอาศัย เช่น ถนนภายในหมู่บ้าน ชุมชน พื้นที่ใกล้เคียง ภายใต้กรอบข้อกำหนดทางวิศวกรรม ชิงรางวัล พร้อมทุนการสนับสนุน และโอกาสดูงาน หรือฝึกงานในภาคอุตสาหกรรมภายในและต่างประเทศ โดยเริ่มต้นการแข่งขัน ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2561 ถึง 2 มิถุนายน 2562 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีผู้สมัคร 300 คน จาก 33 ทีม 19 สถาบันทั่วประเทศ

ผลการแข่งขันทีม The CIPS จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คว้าถ้วยรางวัลชนะเลิศ พร้อมเงินรางวัล 35,000 บาท และโอกาสดูงานบริษัทยานยนต์ไฟฟ้า ณ ฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น โดยมีสมาชิก ดังนี้ 1. นายเสฏฐวุฒิ ตุลาโชติ 2. นายณัฐพงษ์ ศรีนุยเพ็ง 3. นายสุริยา โพธิ์สาพิมพ์ 4. นายพงษ์นริน ไชยเพชร 5. นางสาวฐิติรัตน์ ไชยเดช 6. นายภาสกร ทางดี 7. นายศิวกร กลมเกลียว 8. นายปรัชญา ระนา 9. นางสาวชลลัดฎา ฟองฤทธิ์













และทีม The King Man MSU มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รับถ้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท มีสมาชิก ดังนี้ 1. นายอภิวัฒน์ เขียวอยู่  2. นายยุทธนา แนบชิด  3. นายยุทธยา ทนทาน 4. นายสิทธิพล ศรีวิเศษ  5. นายภาณุวัฒน์ ไพรศรี 6. นายอลงกรณ์ พิมพ์ศักดิ์ 7. นายกิตตินันท์ บุญมา  8. นายภาคภูมิ พันธุขันธ์

        โดยทั้ง 2 ทีม มีอาจารย์ที่ปรึกษา คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธี โพธิ์ทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นุชิดา สุวแพทย์ และอาจารย์คเณศ ถุงออด อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


         การจัดงานครั้งนี้ จัดโดยกลุ่มพันธมิตรยานยนต์ไฟฟ้าไทย (Consortium for Thailand Electric Vehicle: CTEV) คือกลุ่มองค์กรยานยนต์ไฟฟ้าไทย โดยร่วมมือระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์ส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนในประเทศไทย(CRDC-FC) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ(สวทน.) สำนักประสานงานชุดโครงการอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ภาคการศึกษา และภาคเอกชน อาทิ สมาคมอสังหาการค้าอสังหาริมทรัพย์และพันธมิตร และเครือข่าย เป็นต้น ซึ่งเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคคลากร และเทคโนโลยีในด้านยานยนต์ไฟฟ้า

 เสฏฐวุฒิ ตุลาโชติ  กล่าวว่า รับทราบข่าวของการแข่งขันจากท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลธี โพธิ์ทอง  และจึงได้ส่งไอเดียต้นแบบยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน และได้ผ่านการคัดเลือกเข้าไปแข่งขัน เมื่อได้ผ่าการคัดเลือกเข้าไปแล้วในการแข่งขันจะแบ่งออกเป็นทั้งหมดสามรอบ รอบแรกจะเป็นการแข่งขันแนวคิดในการออกแบบด้านโครงสร้าง และได้รับการคัดเลือกเป็นหนึ่งใน 10 ทีม ได้รับเงินรางวัลสนับสนุนจำนวน 3000 บาท สำหรับการแข่งขันรอบสองจะเป็นการแข่งขันแนวคิดด้านการตลาด และนำเสนอตัวรถในรูปแบบโมเดลสามมิติ และได้ผ่านการคัดเลือกเป็นหนึ่งใน 10 ทีม ได้รับเงินรางวัลสนับสนุน 27,000 บาท และในรอบที่สามจะต้องสร้างรถขึ้นมาเพื่อนำมาแข่งขันและทดสอบประสิทธิภาพของรถ เช่น การลุยน้ำ การขึ้นเนิน การวิ่งทางไกล และอื่นๆสำหรับการเตรียมตัวของทีมได้มีการแบ่งงานและหน้าที่ออกเป็นส่วนๆเพื่อให้สามารถสร้างรถขึ้นได้ทันเวลา และได้มีการสำรวจรูปแบบของรถที่ผู้สูงอายุต้องการเพื่อให้สามารถออกแบบและสร้างออกมาได้ตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุมากที่สุด





เรามีความภาคภูมิใจ  เพราะเราทุ่มเทอย่างเต็มที่และมีความหวังเสมอ  ซึ่งบอกตรงๆ นะครับ ตอนประกาศที่คัดทีมที่เข้ารอบ พวกเรานั่งลุ้นแล้หวังว่าเราจะเป็นหนึ่งในนั้นทุกรอบ ต้องมีชื่อทีมเรา ประกาศTHE CIPS สิ แล้วสุดท้ายพอเขาประกาศชื่อทีมเรา  โล่งมากครับ  ดีใจทุกครั้งที่ผ่านเข้ารอบมา  จนมาถึงประกาศรอบชิงชนะเลิศ ตอนประกาศชื่อTHE CIPSดีใจมากๆครับ ความเหนื่อยตอนนั้นหายไปเลย ภูมิใจในตัวเองที่สุดเลยครับ

และอยากฝากข้อคิด  ไม่ว่าเราจะทำอะไรหรือสิ่งใด หากพยายามที่จะทำมันให้สำเร็จ ผลลัพธ์ที่ออกมา

ย่อมดีเสมอครับ

Author

ผู้เรียบเรียง : จุฑามาศ ภิญโญศรี
Email : jutamas.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0942915414

Related Posts