มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประดิษฐ์ห้องฆ่าเชื้อภาคสนามด้วยแสงอัลตร้าไวโอเลต (UVc) เพื่อใช้ฆ่าเชื้อไวรัสบนเล่มปริญญาบัตร จำนวนกว่า 9000 ฉบับ และของถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรประจำปี 2563 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ผ่านมา ภายใต้การประดิษฐ์ห้องฆ่าเชื้อภาคสนามด้วยแสงอัลตร้าไวโอเลต (UVc) โดย ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ สุวรรณทา อาจารย์สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ชื่อผลงาน 
ห้องฆ่าเชื้อภาคสนามด้วยแสงอัลตร้าไวโอเลต (UVc)

วัตถุประสงค์ในการจัดทำสิ่งประดิษฐ์
วัตถุประสงค์ในการประดิษฐ์ห้องฆ่าเชื้อภาคสนามด้วยแสงอัลตร้าไวโอเลต (UVc) ขึ้นมาเพื่อใช้ฆ่าเชื้อบนปริญญาบัตร จำนวนกว่า 9000 ฉบับ และของถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
 
การใช้งานของสิ่งประดิษฐ์
สำหรับการใช้งานของห้องฆ่าเชื้อภาคสนามด้วยแสงอัลตร้าไวโอเลต (UVc) ในการใช้ฆ่าเชื้อ Covid-19 ด้วยแสง UVC โดยฉายแสงเป็นเวลา 7 นาที มีระบบตั้งเวลาอัตโนมัติ และมีระบบป้องกันบุคคลเข้าไปในพื้นที่แบบอัตโนมัติ

จุดเด่นของสิ่งประดิษฐ์ 
1 เป็นห้องขนาด 32 ตารางเมตร สามารถฉายใบปริญญาบัตรได้คราวละ 200 ฉบับ หรือวัตถุอื่นได้หลายชิ้นต่อครั้ง
2 ออกแบบสำหรับรองรับการฆ่าเชื้อไวรัส Covid-19
3 มีระบบตั้งเวลาและระบบป้องกันบุคคล
4 ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับซื้อตู้ขนาดเล็กมาใช้งานจำนวน 200 ตู้ใช้งบประมาณประมาณ 400,000 บาท ถึงจะได้ปริมาณและเวลาเท่ากัน
5 ประหยัดเวลา
6 สามารถถอดประกอบและติดตั้งได้ง่าย ทำให้เคลื่อนย้ายได้ง่าย

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน
ในส่วนของปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานนั้น จะเป็นในส่วนของเวลา และงบประมาณที่มีจำกัด 



งบประมาณในการจัดทำสิ่งประดิษฐ์
สำหรับงบประมาณในการประดิษฐ์ห้องฆ่าเชื้อภาคสนามด้วยแสงอัลตร้าไวโอเลต (UVc)
ใช้งบประมาณ จำนวน 30,000 บาท

มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการสนับสนุนอย่างไร
ต้องขอขอบคุณมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการสนับสนุนในการประดิษฐ์ห้องฆ่าเชื้อภาคสนามด้วยแสงอัลตร้าไวโอเลต (UVc) 100% ทำให้ประดิษฐ์ห้องฆ่าเชื้อภาคสนามด้วยแสงอัลตร้าไวโอเลต (UVc)  ออกมาได้เต็มประสิทธิภาพสูงสุด



มีแผนการนำสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ลงสู่ชุมชนอย่างไร
แผนสำหรับการนำสิ่งประดิษฐ์ห้องฆ่าเชื้อภาคสนามด้วยแสงอัลตร้าไวโอเลต (UVc) ลงชุมชนนั้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในการฆ่าเชื้อกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ และเมื่อเกิดโรคระบาดเราสามารถไปติดตั้งใช้งานภาคสนามได้ เช่น โรงพยาบาลสนาม เป็นต้น

ในอนาคตจะมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์อย่างไรบ้าง
ในอนาคตเราจะมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างใหม่ให้แข็งแรงมากขึ้นกว่าเดิม และสามารถถอดประกอบ เคลื่อนย้ายได้ง่าย อีกทั้งจะมีการปรับปรุงระบบการสะท้องแสง UV และสามารถคำนวณเวลาสำหรับเชื้อแต่ละประเภทได้แบบอัตโนมัติ



ฝากอะไรถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ต่อสังคม และชุมชน
อยากจะฝากถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ทุกคน ให้คิดประดิษฐ์ในสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ทันต่อเหตุการณ์ ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน พร้อมทั้งใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์จากงานวิจัยอื่นมารองรับ และให้ใช้วัสดุที่มีทั่วไป หาซื้อได้งาย 

คติในการทำงาน
ฉันจะไม่ยอมแพ้ (I won’t give up)

Author

ผู้เรียบเรียง : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล
Email : sineenard.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0-4375-4315 (ภายใน) 1722

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล

Related Posts