คณะศิลปกรรมศาสตร์ (Faculty of Fine and Applied Arts) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กับการบริหารงาน ระบบการเรียนการสอน ที่นำเอาศาสตร์และศิลป์ มาบูรณาการ ให้มีการจัดการศึกษา การทำงานวิจัย และการบริหาร การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงวัฒนธรรม มีการดำเนินการงานที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้การนำของ รองศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์
คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มีลักษณะของศาสตร์ที่ใกล้เคียง และสัมพันธ์กันคณะศิลปกรรมศาสตร์ มีความสัมพันธ์ด้านบุคลากร ที่มีความหลากหลายในสรรพวิชา และจำนวนที่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาวิกฤตบุคลากรคณะวัฒนธรรมศาสตร์ นอกจากเรามารวมกันกับคณะศิลปกรรมศาสตร์แล้ว ยังสามารถใช้ศักยภาพของพื้นที่ อาคาร สถานที่ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในเขตตัวเมือง ที่อยู่ในการดูแลของคณะวัฒนธรรมศาสตร์ ให้เป็นโอกาสสำคัญในการสร้างเป็นศูนย์กลางศิลปะ วัฒนธรรม และการออกแบบ ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม การเรียนการสอนทางศิลปะและวัฒนธรรม และเป็นศูนย์กลางการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมศิลปะ และผลิตภัณฑ์ที่วัฒนธรรม ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง การบ่มเพาะพัฒนาผู้ประกอบการวัฒนธรรมอย่างสมบูรณาการกับห่วงโซ่ธุรกิจที่ทันสมัย รองรับการออกนอกระบบ ด้วยการสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นกับการเรียนการสอน ด้านร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ และคัดสรรสินค้าระดับ Premium คุณภาพสูงสุด และร้านวางแสดงจำหน่ายผลงานทัศนศิลป์ นิสิต อาจารย์ และศิลปินเครือข่าย เป็นต้น มีจำหน่ายหน้าร้าน และระบบ Online และเพิ่มศักยภาพการเป็นศูนย์กลางศิลปะและวัฒนธรรมระดับภูมิภาค ให้กับพื้นที่ด้วย Museum of CLMTV&CN CONTEMPORARY ART หรือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็นการบูรณาการเป้าหมาย และพันธกิจด้านศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ควบคู่กันไปทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับภูมิภาค
คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มีโครงสร้างพันธกิจสนองตอบโลกของศิลปะและวัฒนธรรม 2 กลุ่ม สำคัญ คือ
1.กลุ่มศิลปวัฒนธรรมเชิงวิจิตรศิลป์ (Cultural and fine Art) ตอบสนองความต้องการด้านสุนทรียภาพให้กับสังคมมนุษย์
2.กลุ่มศิลปวัฒนธรรมและนวัตกรรมการออกแบบ (Cultural and Applied Art) ตอบโจทย์การศึกษา คุณค่าภูมิปัญญาศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย พร้อมกับการพัฒนา ให้เกิดนวัตกรรมใหม่ จากฐานวัฒนธรรม ด้วยกระบวนการออกแบบ และบริหารจัดการวัฒนธรรม ประการสำคัญ พันธกิจทั้งหมด วางอยู่บนฐานรากของการสร้าง ขยาย และประสานกับทุกเครือข่าย ที่เกี่ยวข้อง และบูรณาการสรรพวิชา พร้อมไปกับการสร้างรายได้ให้เกิดขึ้น กับการเรียนการสอน ทุกหลักสูตร ทุกระดับต่อไป
สาขาวิชาที่จัดการเรียนการสอนในคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ เปิดการเรียนการสอน 3 ระดับ คือ
ระดับปริญญาตรี จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่
1.หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์
จัดการเรียนการสอนใน 5 วิชาเอก ดังนี้
1.วิชาเอก จิตรกรรม [Painting]
2.วิชาเอก ประติมากรรม [Sculpture]
3.วิชาเอก ศิลปะภาพพิมพ์ [Printmaking]
4.วิชาเอก ศิลปะไทย [Thai Arts]
5.วิชาเอก ศิลปะสื่อประสม [Multimedia Arts]
2.หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง
จัดการเรียนการสอนใน 4 วิชาเอก ดังนี้
1.วิชาเอก นาฏยศิลป์ไทย [Thai Dance]
2.วิชาเอก นาฏยศิลป์พื้นเมือง [Folk Dance]
3.วิชาเอก นาฏยศิลปตะวันตก [Ballet]
4.วิชาเอก ศิลปะการละคร [Dramatic Arts]
3. ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
4.ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการวัฒนธรรม
ระดับปริญญาโท จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่
1.หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสร้างสรรค์ศิลปกรรมศาสตร์
2.หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศิลปะการแสดง
3.หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาทัศนศิลป์
4.หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศาสตร์
ระดับปริญญาเอก จำนวน 2 หลักสูตร
1.หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
สาขาวิชาการวิจัยและสร้างสรรค์ศิลปกรรมศาสตร์
2.หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์
จุดเด่นของคณะ
ในความเป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มีการวางนโยบาย ที่จะเป็นศูนย์กลาง ในการเชื่อมต่อระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะวัฒนธรรม รวมถึงแหล่งทุน เรื่องของการวิจัย การเรียนการสอน และวิสาหกิจชุมชน
เราวางแผนที่จะสร้างให้นิสิตมีสมรรถนะหลัก 4 ด้าน ใหญ่ คือ
1.มีความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ที่เรียน
2.มีความเชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการ
3.มีความรู้ความสามารถด้านการสื่อสาร
4.มีความรู้ด้านการบริหารจัดการให้มีความสามารถสร้างความรู้ให้เกิดเป็นรายได้ขึ้นมาได้
สิ่งเหล่านี้จะทำให้คณะฯมีเครือข่ายเกิดตามมาในภายหลัง และเครือข่ายจะทำให้คณะฯมีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น และจังหวัดมหาสารคาม อาจจะอยู่ต่างจังหวัด และในความเป็นศูนย์กลางชุดใหม่นั้น เชื่อว่าเคณะฯมีความเป็นศูนย์กลางของมิติในความเป็นศูนย์กลางกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐจีน และมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีความชัดเจนมากที่สุดที่จะนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนกับนิสิตระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ซึ่งในขณะนี้คณะศิลปกรรมและวัฒนธรรมศาสตร์มีนิสิตระดับปริญญาโท ปริญญาเอกมาจาก สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐจีน จำนวนมาก และโอกาสต่อไป มีแนวโน้มที่พัฒนาเป็นสถาบัน ความร่วมมือระดับนานาชาติด้านศิลปะและวัฒนธรรม
ในอนาคตนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ สาขาวัฒนธรรม นิสิตเหล่านั้นต้องสามารถจัดการวัฒนธรรมที่รู้ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวันนั้น จะต้องสร้าง และเปลี่ยนให้เกิดเป็นรายได้ ในอนาคตต่อไป อย่างยั่งยืนให้มากที่สุด อีกทั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ จะมีการสร้างศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ และแสดงสินค้า สำหรับนิสิต เพื่อเป็นการรองรับความรู้ ความสามารถ ในสิ่งที่เรียนมา เพื่อเป็นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ อย่างมีคุณภาพ ซึ่งเราจะสร้างให้นิสิตนำองค์ความรู้ ที่ได้ศึกษามานั้น มาสร้างให้ตนเองมีรายได้ระหว่างเรียน มีทักษะในวิธีการคิด ซึ่งการสร้างนิสิตที่มีคุณภาพ ออกสู่สังคมอย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่เพียงแต่ออกไปเพื่อไปประกอบอาชีพ ในสถานที่ราชการเท่านั้น แต่นิสิตของเราจะต้องออกแบบแนวคิดสร้างสรรค์ ของวัฒนธรรม ที่มีอยู่ในชุมชุน เปลี่ยนให้เป็นรายได้ หรือสร้างอาชีพขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นเจ้าของกิจการที่ดีต่อไป
คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มีความพร้อมในเรื่องของการเรียนการสอน อุปกรณ์ที่ครบ และทันสมัย บุคลากร มีความรู้ ความสามารถ ระดับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เฉพาะสาขาวิชา และศิลปินชั้นเยี่ยมของประเทศ ที่พร้อมจะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ แก่นิสิตของคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ ไห้มีความรู้ ความสามารถ มีแนวคิดที่สร้างสรรค์ สามารถนำความรู้ ความสารมารถ ไปประกอบชาชีพ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งในส่วนของการประกอบอาชีพในภาครัฐ และภาคเอกชน อย่างเต็มศักยภาพสูงสุดต่อไป
คณะฯ มุ่งเน้นหลักสูตรการเรียนการสอนใดเป็นพิเศษ
แต่ละสาขาวิชา มีเป้าหมายที่ชัดเจนแตกต่างกันไป แต่ละสาขาวิชา มีความหมายที่สัมพันธ์กับสังคม ที่เกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นทุกสาขาวิชา มีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง แต่ละสาขามีเป้าประสงค์ ในการผลิตนิสิตขึ้นมานั้น ตัวนิสิตเองจะต้องมีความสามารถ ในการเติมเต็มสังคม ด้านไหนนั้น เรามีความชัดเจนอย่างยิ่ง ในการที่จะผลิตนิสิต ออกสู่สังคมอย่างมีคุณภาพ การที่เราจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้นั้น จะมีตัวขับเคลื่อนในการเปิดโลกทัศน์ ของนิสิตให้มองเห็น ในเรื่องของการดำรงอยู่ในสังคมได้ เราจะต้องมีการเชื่อมโยง ทั้งในส่วนของท้องถิ่น ส่วนของภูมิภาค และในส่วนของประเทศ เพราะในความเป็นท้องถิ่น จะไม่อยู่แบบโดดเดี่ยว ดังนั้นจะต้องมีการเชื่อมโยง กับวัฒนธรรมของท้องถิ่น ภูมิภาค อย่างยั่งยืนต่อไป
อาชีพที่รองรับนิสิตเมื่อสำเร็จการศึกษา
ก่อนนี้ส่วนมากมีแนวความคิดว่า เมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้ว จะต้องสอบเข้ารับราชการ หรือไปทำงาน ที่บริษัทเอกชน ได้เท่านั้น แต่ ณ ปัจจุบันคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ อาจารย์ผู้สอนมุ่งเน้นที่จะเปิดโลกทัศน์ ให้นิสิตมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และในส่วนของวิชาการ เรามีความพร้อม ด้านการเรียนการสอน บุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาประสิทธิ์ประสาท วิชาความรู้ ให้นิสิตอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยมหาสารคามไม่ได้ด้อยไปกว่ามหาวิทยาลัยอื่นแต่อย่างใด เพราะศาสตร์ด้านศิลปะ จะเป็นศาสตร์ที่มีความพิเศษในตัวเอง งานศิลปะนั้น เป็นงานที่ประมาณค่าไม่ได้ คณะฯมีการกำหนดยุทธศาสตร์ ให้กับทุกสาขาอย่างชัดเจน ในการมุ้งเน้นให้นิสิตชั้นปีที่ 2-3 จะต้องเริ่มมีรายได้ระหว่างเรียน จนกว่าจะสำเร็จการศึกษา ทั้งนี้ถ้านิสิตไม่สอบเข้ารับราชการ นิสิตเหล่านั้นก็จะสามารถสร้างงานศิลปะ และเป็นผู้ประกอบการด้านการสร้างงานศิลปะ อย่างมีคุณภาพด้วยการการันตี จากสถาบันการศึกษา และจากสถาบันที่นิสิตมีการสั่งสมประสบการณ์ โดยการส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ในเวทีระดับสากล และได้รับรางวัลที่เป็นเครื่องหมายการันตีความสามารถของนิสิตได้เป็นอย่างดี
คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อที่คณะ
ผู้ที่จะเข้าเรียนคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ จะต้องตรงตามเกณฑ์ที่กระทรวงการศึกษากำหนด และเด็กจะต้องมีจุดเด่น เป็นของตัวเองอย่างชัดเจนอยู่เป็นทุน เพียงขอให้มีความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงฝันดังที่ตนเองตั้งใจเอาไว้
คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์มีโควตาอะไรบ้าง
คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มีโควตาอย่างต่อเนื่อง อาทิ โควตาพระพิฆเนศ โควตาช้างเผือก และอีกมามาย ส่วนโควตานาฏศิลป์ค่อนข้างที่จะเต็ม เพราะเนื่องจากว่านาฏศิลป์ของคณะคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แห่งเดียวในประเทศไทย ที่มีผู้เข้ามาเรียนจำนวนมากที่สุด และปีที่ผ่านมา คณะศิลปกรรมศาสตร์ และวัฒนธรรมศาสตร์ ไม่สามารถที่จะรับนิสิตเพิ่มได้ในจำนวนมาก เนื่องจากที่ผ่านมาเรามีข้อจำกัดในเรื่องของสถานที่ แต่ในปัจจุบันเรามีสถานที่เพียงพอ สำหรับการรองรับนิสิต ที่จะเข้าศึกษาในคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ ในอนาคตคณะฯสามารถจะรับนิสิต เพิ่มมากขึ้น ในเรื่องของการกำหนดจำนวน ที่เปิดรับนิสิตเข้าศึกษาต่อ ทั้งนี้คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มีการจัดทำโครงการ ความร่วมมือกับเครือข่ายของมหาวิทยาลัย กับโรงเรียนต่างๆ อบต. อบจ.ในจังหวัดมหาสารคาม ในการรับเด็กเพื่อเข้ามาศึกษา ในคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาสารคาม โดยจะจัดให้มีโครงการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเศึกษาฯ ซึ่งจะใช้ช่วงเวลาปิดภาคเรียน นักเรียนผู้ที่เข้าร่วมโครงการเข้ามาฝึกการเรียนรู้ ของคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ ล่วงหน้าก่อนมีการเปิดเรียน แต่ขอให้ทุกคนมั่นใจได้ว่า เมื่อสำเร็จการศึกษา จากคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณภาพ และมีตัวตนในสังคมอย่างสมบูรณ์แบบ และเต็มศักยภาพอย่างสูงสุด