มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ติดอันดับโลก 3 ปีซ้อน
รักษามาตรฐานด้านการจัดการเรียนการสอน จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ
Times Higher Education World University Rankings 2021 




    Times Higher Education World University Rankings 2021 ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกกว่า 1,500 แห่ง จาก 93 ประเทศ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2563 โดยมหาวิทยาลัยมหาสารคามอยู่ในอันดับที่  1001+ ร่วมในระดับโลก และอันดับ 3 ร่วมระดับประเทศ โดยการจัดอันดับในปีนี้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลมากกว่า 80 ล้าน citations จากงานวิจัยกว่า 13 ล้านฉบับ รวมถึงผลการสำรวจที่ได้จากนักวิชาการกว่า 22,000 คนทั่วโลก ซึ่งอันดับที่ 1 ของโลก ได้แก่ University of Oxford สหราชอาณาจักร และอันดับที่ 1 ของประเทศไทย อันดับที่ 601–800 ของโลก ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ มหาวิทยาลัยมหิดล และสำหรับมหาวิทยาลัยมหาสารคามนั้น
ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นิสิต นักเรียน และศิษย์เก่า ทุกคนล้วนมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดความสำเร็จที่ปรากฏในการจัดอันดับของปีนี้



    Times Higher Education เป็นหน่วยงานในสหราชอาณาจักร ซึ่งได้ริเริ่มดำเนินการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ เมื่อปี พ.ศ.2547 (ค.ศ. 2004) โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง Times Higher Education Supplement ของนิตยสาร Times ที่เป็นองค์กรการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ โดยการจัดอันดับจะรวบรวมข้อมูล และให้น้ำหนักคะแนนแต่ละตัวบ่งชี้ โดยวิธีการส่งแบบสอบถามไปยังนักวิชาการเพื่อสำรวจ Peer Review และเก็บข้อมูลอื่นๆ  จากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับการจัดอันดับในระดับเอเชียของ Times Higher Education



    การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับโลกของ Times Higher Education เป็นตารางการจัดอันดับที่วัดประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยที่มีงานวิจัย  ซึ่งรวมอยู่ในทุกพันธกิจสำคัญของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัย การถ่ายทอดความรู้และภาพลักษณ์มุมมองในระดับนานาชาติ โดย THE  มีการใช้เครื่องวัดประสิทธิภาพ 13 ตัวชี้วัด เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และมีความสมดุลมากที่สุด ซึ่งได้รับความเชื่อถือจากนักเรียน นิสิต นักศึกษา นักวิชาการ 
ผู้นำมหาวิทยาลัย แวดวงอุตสาหกรรมและรัฐบาล  เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงคุณลักษณะของมหาวิทยาลัย โดยใช้ประเมินผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย 5 ด้าน ได้แก่
        1. ด้านการเรียนการสอน (สภาพแวดล้อมการเรียนรู้)
        2. ด้านการวิจัย (ปริมาณ รายได้และชื่อเสียง)
        3. ด้านการอ้างอิง (ผลงานวิจัย)
        4. ด้านรายได้ทางด้านอุตสาหกรรม (การถ่ายทอดความรู้)
        5. ด้านภาพลักษณ์ในระดับนานาชาติ (เจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัย นักศึกษาและการวิจัย)



   
    
***ข้อมูล ณ วันที่ 3 กันยายน 2563

Author

ผู้เรียบเรียง : จุฑามาศ ภิญโญศรี
Email : jutamas.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0942915414

Related Posts