มหาวิทยาลัยมหาสารคามค้นพบว่านชนิดใหม่ของโลกโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพล แสนสุข สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะพร แสนสุข ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผู้ค้นพบว่าตูบหมูบ

ว่าน  ตูบหมูลมหาสารคาม

          เป็นว่านที่ค้นพบชนิดใหม่ของโลก  อีกทั้งยังตั้งชื่อเพื่อให้เป็นเกียรติแก่จังหวัดมหาสารคาม เพราะเนื่องจากค้นพบที่จังหวัดมหาสารคาม  เลยให้ชื่อว่าว่านตูบหมูบมหาสารคาม 


ที่มาของคำว่าตูบหมูบ

          ที่มาของตูบหมูบ คือ พืชชนิดนี้โดยส่วนใหญ่ที่มีในภาคอีสานจำนวนมาก คนภาคอีสานเลยเรียกว่าว่านตูบหมูบ อีกทั้งต้นตูบหมูบยังมีหลายชนิด ซึ่งในภาคอีสานก็จะมีประมาณ 15 ชนิด และพบมากในเขตพื้นที่อำเภอนาเชือกจังหวัดมหาสารคาม เลยเป็นที่มาของว่านตูบหมูบจังหวัดมหาสารคาม



ค้นพบว่านชนิดนี้ที่ไหน

          ตอนแรกตนเอง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะพร แสนสุข ได้ทำวิจับ  ผลงานพืชตระกูลขิงซึ่งมีการดำเนินการศึกษาค้นคว้ามากว่า 10 ปี  และได้มีการออกสำรวจ อีกทั้งยังได้ทุนวิจัย ซึ่งเป็นทุนวิจัยภายนอกมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกตัวนี้ขึ้นมา เพราะได้มีการสำรวจว่านชนิดนี้โดยถี่ถ้วน และใช้เวลามากในการัดสินใจ และการตรวจสอบลักษณะต่างๆ ของพืชว่าเป็นพืชชนิดของโลก จริงหรือไม่ โดยมีการนำว่านตูบหมูบมาเทียบเคียงกับว่านหลายชนิด  พบว่าว่านชนิดนี้เป็นว่านชนิดใหม่ของโลก โดยมีการได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ลงในวารสารระดับนานาชาติ 




ว่านชนิดนี้มักจะพบในเขตพื้นที่แบบไหนมากที่สุด

          ว่านตูบหมูบจะสามารถพบในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำชื้นจัด   และส่วนว่านตูบหมูบจะออกเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น


คุณสมบัติของว่านตูบหมูบ

          ว่านตูบหมูบที่ค้นพบนั้น  ชาวบ้านมีการนำว่านตูบหมูบมาเป็นผัก และอาหารพื้นบ้านอยู่ก่อนแล้ว  โดยชาวบ้านจะนิยมนำใบอ่อนของว่านตูบหมูบมาทานสด กินกับน้ำพริกต่างๆ และบางคนก็นำเอาใบของว่านตูบหมูบมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ลงไปผสมกับอาหารเพื่อเป็นการดับกลิ่นคาวต่างๆ ในการประกอบอาหารพื้นบ้าน และในปัจจุบันเราได้เริ่มนำว่านตูบหมูบมาวิเคราะห์สารทางธรรมชาติ โดยอาจารย์ปิยะภร แสนสุขได้เริ่มนำมาวิเคราะห์สารสำคัญทางธรรมชาติ




เราสามารถนำว่านชนิดนี้มาปลูก หรือขยายพันธ์ได้หรือไม่

          เราได้มีการศึกษาหาสาระสำคัญทางธรรมชาติแล้วนั้น  เรายังมีการนำว่านตูบหมูบมาทำการเพาะเพื่อขยายพันธ์ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชด้วย เพื่อเปรียบเทียบปริมาณสาระสำคัญ  ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการทำวิจัยตัวนี้อยู่พืชสกุลตูบหมูบส่วนใหญ่จะมีการเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือน มีนาคม- เมษายน จะมีการเริ่มแทงหน่อขึ้นมาจากดิน และจะมีการเจริญเติมโตออกดอกเต็มที่ประมาณเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม หลังจากนั้นประมาณ พฤศจิกายน-ธันวาคม เขาจะมีการเริ่มพักการเจริญเติบโต หรือภาษาบ้านเราเขาจะเรียกว่ามีการลงหัว ว่านชนิดนี้จะทิ้งใบ โดยใบจะเริ่มโรยเหมือนกำลังจะตาย แต่ว่าเง้า หรือหัวที่เป็นการวมสะสมสารต่างๆ จะอยู่ในดินที่สามารถนำไปสกัดเป็นตัวยาต่อไป เสร็จแล้วพอเข้าฤดูฝนมาอีกว่านชนิดนี้ก็จะเริ่มแทงหน่อขึ้นมาอีกครั้ง  จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เราคิดหาวิธีการที่จะทำอย่างไรที่จะขยายพันธ์ว่านชนิดนี้ให้อยู่ได้ตลอดฤดูกาล เลยเป็นที่มาในการนำว่านชนิดนี้มาเพาะเนื้อเยื่อเพื่อที่จะขยายพันธ์ในหลอดทดลอง ข้อดีในการเพาะเนื้อเยื่อในหลอดทดลอง นอกจากจะได้จำนวนต้นขิง หรือว่านตูบหมูบที่มากกว่าธรรมชาติ โดยปกติตาขิงจะอยู่ที่ 1 เหง้า จะมีตาอยู่ 2-3 ตา ซึ่งเขาก็จะเกิดมาเป็นต้นใหม่ในปีถัดไป แต่ถ้าเราสามารถนำตาเง้าที่อยู่ในสภาพธรรมชาติมาฟอกฆ่าเชื้อ และเพิ่มจำนวนในสูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เราจะสามารถเพิ่มจำนวนขิง หรือว่านตูบหมูบได้ในปริมาณมากโดยการใส่ฮอโมนพืช หรือสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเข้าไป และข้อดีอีกอย่างคือ เขาจะไม่มีช่วงที่พักการเจริญเติบโตไ ม่ว่าจะเป็นฤดูไหนก็ตาม เพราะเนื่องจากว่าเขาได้อาหารที่อุดมสมบรูณ์ โดยการเปลี่ยนหลอดแก้วที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ และอาหารทุก 4-6 สัปดาห์ จนกว่าเราจะนำว่านปลูกลงดินเพื่อเป็นการขยายพันธ์ต่อไป




ว่านชนิดนี้มีอายุยาวนานขนาดไหน

          ว่านตูบหมูบจะมีช่วงเวลาที่สั้น เพราะเขามักจะเกิดในที่ชื้น ชื้นถึงชื้นมากที่สุด และจะพบมากในช่วงฤดูฝนเท่านั้น และหลังจากนั้นในช่วงฤดูแล้งก็จะมีการพักตัวของว่านไป ในลำต้นทั้งหมดเหล่านี้จะมีการพักตัว ก็จะเหลือแต่หัว หรือเรียกภาษาชาวบ้านอีกอย่างหนึ่งว่าเง้าที่จะพักตัวอยู่ในดิน พอเริ่มฤดูฝน โดนน้ำ โดนฝนจึงจะมีการงอกขึ้นมาใหม่อีกครั้ง


สรรพคุณของว่านชนิดนี้มีอะไรบ้าง

          เราเริ่มนำมาวิเคราะห์หาสาระสำคัญทางธรรมชาติ โดยอาจารย์ปิยะภรณ์ แสนสุขจะเป็นผู้นำมาวิเคราะห์ และได้นำมาเพาะขยายพันธ์ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชด้วย  เพื่อเปรียบเทียบปริมาณสารสำคัญ และขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนระหว่างการทำวิจัยในเรื่องนี้ต่อไป


เรานำว่านตูบหมูบไปจดสิทธิบัตรการค้นพบว่านชนิดใหม่ของโลกหรือยัง

          ในเรื่องของการจดสิทธิบัตรพืชชนิดใหม่ของโลก จะไม่มีการจดสิทธิบัตรเหมือนกับตัวอื่นทัวไป แต่จะเป็นการได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารระดับนานาชาติให้เป็นที่ยอบรับโดยทั่วไปก็ถือว่าเป็นการจดสิทธิบัตรเรียบร้อย  ซึ่งผลงานในครั้งนี้เราก็ได้รับการตีพิมพ์ระดับนานาชาติที่ใต้หวัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการจดสิทธิบัตรพืชชนิดใหม่ของโลกเป็นที่เรียบร้อย และสมบูรณ์แบบ






ในอนาคตต้องการที่จะพัฒนา วิจัยเกี่ยวว่านตูบหมูบอย่างไร

          ในอนาคตต้องการที่จะต่อยอดพืชชนิดนี้ให้เป็นพืชเด่นของจังหว้ดมหาสารคามในอนาคตต่อไป แต่ถ้าเกิดในงานวิจัยที่กำลังทำอยู่คือการสกัดสาร อยากรู้ว่าว่านตูบหมูบจะมีสารสำคัญประเภทไหนอีกบ้าง เราก็จะสามารถต่อยอดออกมาเป็นสมุนไพร หรือที่เรียกว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทางยา หรือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเพาะขยายในจังหวัดมหาสารคามในเชิงด้านการอนุรักษ์ และขยายพันธ์ เพราะขณะนี้พืชชนิดนี้สามารถพบที่จังหวัดมหาสารคามได้ในที่เดียวของโลก จัดได้ว่าเป็นพืชที่มีอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม




 

Author

ผู้เรียบเรียง : สุกัญญา สิตวัน
Email : sukanya.s@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 2447

ภาพประกอบบทความ

  :   สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล

Related Posts