บุคลากรเก่ง มมส ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมแสดงดนตรี เทศการดนตรีแจ๊สนานาชาติ ณ เมืองโซชิ ประเทศรัสเซีย อาจารย์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หนึ่งในตัวแทนคนไทยของสถานบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่ได้รับการคัดเลือก และถูกเชิญให้เป็นตัวแทนคนไทยจากสถาบันการศึกษาเข้าร่วมแสดงดนตรีในเทศกาลดนตรีแจ๊สนานาชาติ ระหว่างเทศกาลเยาวชนนานาชาติที่เมืองโซชิ ประเทศรัสเซีย
และบุคลากรคนเก่งของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ได้รับการคัดเลือก และถูกเชิญให้เป็นตัวแทนคนไทยจากสถาบันการศึกษาเข้าร่วมแสดงดนตรีในเทศกาลดนตรีแจ๊สนานาชาติระหว่างเทศกาลเยาวชนนานาชาติที่เมืองโซชิ ประเทศรัสเซีย โดยการนำลายเส้นการเป่าแคน และการนำดนตรี หมอลำ มาแสดงสู่สายตาชาวโลก อย่างภาคภูมิใจ ของอาจารย์ อาจารย์อาทิตย์ คำหงส์ศา อาจารย์ดุริยางคศิลป์พื้นบ้าน คณะดุริยางคศิลป์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในช่วงเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา
เข้าร่วมโครงการนี้ได้อย่างไร
ด้วยความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์Jim Thompson Art Crnter และ เทศกาล Unfolding Kafka Festival เป็นการเดินทางเพื่อเข้าร่วม สัปดาห์วิจัย งานโครงการ mo(ram)lam (Cocon Dance company และ 18 Monkey) ที่จัดขึ้นที่ Theater im Ballsaal, frongasse 9 53121 เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี ที่ต้องการสนับสนุน และเผยแพร่ วัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านหมอลำ ของภาคอีสาน ในพื้นที่ศิลปะการแสดงร่วมสมัย และเทศกาลดนตรีนานาชาติระดับสากลในประเทศอื่นทั่วโลก พร้อมกับสนับสนุนให้มีนวัตกรรมการร่ามมือ (โดยเป็นการ แลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านดนตรีอีสาน กันการเต้นร่วมสมัย แล้ว ร่วมการสร้างสรรค์ ผลงานขึ้นมาใหม่ ที่เรียกว่า คอนเทมโพรารีแดนช์) ระหว่างศิลปินท้องถิ่นจนถึงศิลปินมืออาชีพ สถาบันการศึกษา ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ดนตรีหมอลำซิ่งถือว่าเป็นมรดกของชาติไทยมายาวนาน ทั้งนี้ สำหรับการเข้าร่วมโครงการนี้ มูลนิธิจิมทอมสัน และ เทศกาลคาฟคาจึงริเริ่มสนับสนุนศิลปินในภาคอิสาน เข้าร่วมโครงการกับ
กลุ่มศิลปินชาวต่างชาติ ในหลายประเทศ เพื่อเป็นการออกแบบ และทำการแสดงทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยได้มีการออกสำรวจพื้นที่ภาคอีสาน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล และสรรหานักดนตรีอีสาน ที่มีความรู้ ความสามารถ เพื่อเข้ารวมโครงการฯ โดย ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ Unfolding kafka festival2024 โดยคุณ จิตติ ชมพี ได้ออกสำรวจพื้นที่ในจังหวัด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ร้อยเอ็ด และจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสาน รวมทั้ง มีการเข้าคัดเลือกนักดนตรี นักร้อง หมอลำ ที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตนเองจึงมีโอกาศได้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้
หน่วยงานไหนเป็นเจ้าภาพที่รับผิดชอบในการจัดงานในครั้งนี้
หน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพในการจัดงานในครั้งนี้คือ บริษัท Cocoon Dance company
เมื่อเราได้ร่วมโครงการนี้ เราได้ทำอะไรบ้าง
หลังจากที่ตนเองมีโอกาสได้เป็นตัวแทนของสถาบันการศึกษา ก็ได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบใหม่ โดยการใช้ดนตรีอีสาน หมอลำ เพื่อเผยแพร่ สู่สายตา ชาวโลก ซึ่งเป็นงานร่วมสมัยที่เกิดขึ้นใหม่ และได้ความร่วมมือ จากศิลปินทั่วโลก ได้แลกเปลี่ยนความรู้ต่างๆ เพื่อพัฒนา ดนตรีอีสานต่อไป
การแสดงโชร์จะออกมาในรูปแบบใด
เป็นการแสดงโชว์ การเต้นรูปแบบใหม่ ที่มีการใช้ดนตรี อีสาน หมอลำ มาออกแบบการแสดง และการใช้ลายแคนพื้นบ้านอีสานที่เป็นภูมิปัญญา ของบรรพบุรุษชาวอีสาน มาร่วมในการออกแบบการแสดง -ลายสุดสะแนน -ลายลำทางยาว -ลายไล่วัวขึ้นภู -ลายโป้ซายแมงภูตอมดอก -ลายลำย่าว โดยการนำลายที่กล่าวมา มาใช้บรรเลงเพื่อให้เข้ากับการออกแบบการแสดงร่วมสมัย
รู้สึกอย่างไรที่ได้มีโอกาสเป็นตัวแทนในการเดินทางมาร่วมงานในครั้งนี้
ก่อนอื่นต้องขอบอกว่าตนเองมีความรู้สึกภูมิใจอย่างมาก ที่ได้มีโอกาสนำเอาดนตรีอีสาน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนอีสาน มาร่วมแสดงในยุโรป ในครั้งนี้ และถือว่าเป็นโอกาสที่ดีมาก ที่ตนเองจะได้นำเอาดนตรี หมอลำ มาถ่ายทอด มาแสดงสู่สายตาชาวโลกที่ไม่เคยเห็น และไม่รู้จักมาก่อนได้ฟัง ได้ชม อย่างภาคภูมิใจ อีกทั้งยังเป็นโอกาสดีที่จะได้แนะนำวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้เป็นที่รู้จักของชาวโลก อีกด้วย
เราได้ประสบการณ์อะไรกับการเดินทางมาร่วมงานในครั้งนี้
ประสบการณ์ที่ตนเองได้ในการมาร่วมแสดงดนตรีแจ๊สนานานี้ "ตนเองได้ประสบการณ์ที่หาซื้อไม่ได้จากห้องเรียนมากมายในการเป็นตัวแทนของคนไทย ตัวแทนของมหาวิทยาลัยที่เดินทางมายูโรปในครั้งแรก" อีกทั้งยังมีความท้าทายมากที่สุด ในการทำงานร่วมกับศิลปินชาวต่างชาติ ที่ระดับมืออาชีพ และได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ซึ่งกันและกันกับนักดนตรีมืออาชีพชาวต่างชาติ เช่น การออกแบบท่าเต้น การประพันธ์เพลง การออกแบบเสียง การจัดการแสดงประวัติศาสตร์
ความประทับใจในการเดินทางในครั้งนี้
ความประทับใจในการเดินทางมาต่างแดนในครั้งนี้ เป็นการเดินทางที่ตนเองไม่เคยคิด หรือเตรียมใจมาก่อนเลยว่าจะถูกได้รับการคัดเลือก และเชิญมาเป็นตัวแทนนักดนตรีของไทยมาร่วมแสดงในงานระดับนานาชาติแบบนี้ จึงเป็นการเดินทาง มาประเทศ เยอรมนีครั้งแรก และถือว่า เป็นโอกาสที่ดี ที่เราจะได้ "นำเอาประสบการณ์ครั้งนี้ ไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนในวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต่อไป"