พืชประดับบ้านบางชนิด นอกจากจะปลูกเพิ่มความสวยงามและสร้าบรรยากาศสดชื่นภายในบ้านแล้ว มันยังมีคุณสมบัติช่วยคลายร้อนและลดมลพิษในบ้านได้ด้วย  สาร MSU Online ได้รวบรวมพืช 7 ชนิดที่เหมาะสำหรับปลูกไว้ในบ้านมาฝากทุกท่าน  จะมีชนิดไหนบ้าง ตามเรามาชมกันเลยค่ะ



1. ลิ้นมังกร (Snake plant)
        ลิ้นมังกรเป็นพืชที่เหมาะสำหรับปลูกไว้ในห้องนอน เพราะในช่วงเวลากลางคืนมันจะปล่อยออกซิเจนออกมาในขณะที่เรานอนหลับ ซึ่งออกซิเจนที่ได้จากลิ้นมังกรจะคอยช่วยให้ขับความเย็นและความสดชื่นไหลเวียนอยู่รอบกายเราตลอดคืน ทำให้เราสามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ค่ะ



2. ว่านหางจระเข้ (Aloe vera)
        ว่านห่างจระเข้ หนึ่งในพืชที่เป็นยาดีสำหรับร่างกาย อีกทั้งยังช่วยลดอุณภูมิความร้อนภายในห้อง และยังมีประสิทธิภาพในการเพิ่มคุณภาพของอากาศที่อยู่บริเวณนอกอาคาร โดยการปรับเปลี่ยนสารพิษและสารฟอร์มาลดีไฮด์ให้กลายเป็นอากาศบริสุทธิ์ เหมาะกับสภาพการอยู่อาศัยด้วยค่ะ



3. หมากเหลือง (Areca palm tree)
        หมากเหลือง เป็นพืชที่คนส่วนใหญ่นิยมนำไปประดับไว้ในห้องนั่งเล่น ซึ่งนอกจากมันจะช่วยเพิ่มสุนทรีย์ระหว่างการพักผ่อนแล้ว มันยังช่วยลดอุณหภูมิภายในห้องและยังมีคุณสมบัติที่สามารถปรับเปลี่ยนอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ



4. เฟินงาม (Boston fern)
        เฟินงาม พืชสำหรับปลูกในบ้านช่วยเพิ่มความชื้นและปรับให้ห้องอบอวลไปด้วยอากาศบริสุทธิ์จากธรรมชาติ พร้อมประดับเพิ่มความสวยงามและสร้างพื้นที่สีเขียวภายในบ้าน



5. เปปเปอโรเมีย (Baby rubber plant หรือ Peperomia obtusifolia)
        เปปเปอโรเมีย พืชฤทธิ์เย็นที่ช่วยปรับอุณหภูมิความเย็นภายในห้องได้อย่างเป็นธรรมชาติ นอกเหนือจากการใช้เครื่องปรับอากาศ เป็นพืชที่ไม่ต้องลดน้ำมาก แต่หมั่นใส่ปุ๋ยเป็นประจำเพื่อให้มันเจริญเติบโตได้ดี



6. ไทรย้อยใบแหลม (Ficus tree หรือ weeping fig)
        เพิ่มบรรยากาศสดชื่นภายในบ้านด้วยต้นไทยย้อยใบแหลม ที่นอกจากจะเป็นตัวช่วยปรับอุณหภูมิความเย็นแล้ว ยังช่วยกำจัดมลพิษทางอากาศ ลดกลิ่นรบกวนและเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ในห้องมากขึ้นอีกด้วย



7. พลูด่าง (Golden Pothos)
        พลูด่างเป็นพืชที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่มากเท่าพืชชนิดอื่น เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาทำสวนหรือรดน้ำต้นไม้บ่อยๆ และมันยังมีข้อดีในเรื่องของการปรับให้อากาศบริสุทธิ์มากขึ้น และยังช่วยขจัดสารพิษทางอากาศ เช่น ไซลีน เบนซีน คาร์บอนมอนอกไซด์ ตลอดจนสารฟอร์มาลดีไฮด์


ที่มา : https://www.sanook.com/women/210513/

Author

ผู้เรียบเรียง : จุฑามาศ ภิญโญศรี
Email : jutamas.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0942915414

ภาพประกอบบทความ

  :   กราฟิก : นายกฤษกร เพ็ชรแสน นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Related Posts