ต้นอ่อนทานตะวัน เป็นผักที่สามารถปลูกรับประทานเองได้ง่ายๆ โดยปลูกต้นอ่อนของดอกทานตะวันใช้เวลาเพียง 7-11 วัน ในช่วงระหว่างที่เป็นต้นอ่อนจะอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย อีกทั้งยังอุดมไปด้วยไขมันที่ดีต่อร่างกาย ต้นอ่อนทานตะวันจึงถือเป็นผักเพื่อสุขภาพ สาร MSU ONLINE จะมาแนะนำประโยชน์ของต้นทานตะวันอ่อน ตามเรามาดูค่ะ



1.ให้โปรตีนสูง
        ต้นอ่อนทานตะวัน อุดมไปด้วยโปรตีนสูงซึ่งเป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย จึงช่วยให้เอ็นไซม์ที่มีหน้าที่ผลิตเซลล์ในร่างกายทำหน้าที่ซ่อมแซมเนื้อเยื่อได้ดี

2.คุณค่าทางโภชนาการสูง
        ต้นอ่อนทานตะวัน ประกอบด้วยสารอาหารกว่า 100 เท่าจึงมีสารอาหารสูงกว่าผักที่โตเต็มที่เเล้ว ร่างกายของเราจะสามารถดูดซึมไฟโตนิวเทรียนท์ วิตามิน และแร่ธาตุเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว

3.ชะลอความชรา
        ระดับสารต้านอนุมูลอิสระในต้นอ่อนทานตะวันสูงมากซึ่งจะช่วยในการฟื้นฟูของเซลล์ในร่างกาย บำรุงหัวใจ และชะลอความชรา อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินอี และซีลีเนียม ซึ่งจะช่วยบำรุงหลอดเลือดและลดความดันโลหิตสูงได้

4.บำรุงหัวใจและหลอดเลือด
        ต้นอ่อนทานตะวัน ประกอบไปด้วยแมกนีเซียมจึงช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง อีกทั้งยังมีแมกนีเซียมที่จะช่วยให้อารมณ์ดีและช่วยลดอารมณ์แปรปรวนได้

5.ช่วยบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์
        สังกะสีในต้นอ่อนทานตะวันจะช่วยในการรักษาระบบสืบพันธุ์ให้แข็งแรง สังกะสียังมีบทบาทสำคัญในการทำงานร่วมกับเอนไซม์ต่างๆมากกว่า 300 ชนิดจึงช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6.เป็นแหล่งไขมันชนิดที่ดีแก่ร่างกาย
        ต้นอ่อนทานตะวันอุดมไปด้วยกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย กรดไขมันโอเมก้า 3, 6, 9 ต้นอ่อนทานตะวันมีสารอาหารมากถึง 900% มากกว่าเมล็ดซะอีก

7.ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
        ต้นอ่อนทานตะวันช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เพราะอุดมไปด้วยไขมันที่ดีต่อสุขภาพ กรดไขมันจำเป็นต่อร่างกาย ไฟเบอร์ และไฟโตสเตอรอล ซึ่งเป็นสารพฤษเคมีที่คล้ายคอเลสเตอรอล ช่วยลดไขมันในเลือดและช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ได้

ที่มาจาก http://twinarcsfarm.com/
https://health.mthai.com/howto/health-care/29706.html


Author

ผู้เรียบเรียง : จุฑามาศ ภิญโญศรี
Email : jutamas.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0942915414

ภาพประกอบบทความ

  :   กราฟิก : นายกฤษกร เพ็ชรแสน นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Related Posts