How to 10 นาที กับเทคนิคที่จะปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ของคุณ  วางมือจากโทรศัพท์ แล้วมาปรับความคิดเพียงแค่ 10 นาทีต่อวัน กับเทคนิคปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตัวของคุณออกมา  เชื่อไหมว่า จิตใต้สำนึกมีผลกับการดำเนินชีวิตมากทีเดียว เพราะจิตใต้สำนึกจะส่งผลต่อ จิตสำนึก หรือการรับรู้ว่าเรามีตัวตนอยู่ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจะส่งผลต่อการรับรู้ภายนอก ทางกายภาพของเรานั่นเอง ดังนั้นเราต้องดึงเอาจิตใต้สำนึกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะในการปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตัวออกมา เพราะหลายคนอาจไม่เคยทราบเลยว่า ตัวเองมีต่อมความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัว แต่มันถูกกดทับไว้ภายใต้จิตใต้สำนึก สาร MSU ONLINE  ได้รวบรวมเทคนิคต่อไปนี้  ที่จะช่วยดึงความคิดสร้างสรรค์ของคุณ ออกมาเพื่อใช้ประโยชน์ได้ มาดูกันค่ะ



ช่วงเวลาตอนตื่นนอน จะเป็นช่วงเวลาที่สมองทำงานได้ดีที่สุด

10 นาทีก่อนพักผ่อน มาพลิกสมองให้สร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์สามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 10 นาที ก่อนที่คุณจะเข้านอน เพียงวางมือจากโทรศัพท์มือถือ แกดเจ็ตต่าง ๆ หรือแม้แต่งานที่ทำค้างอยู่ ปิดคอมพิวเตอร์ และตัดขาดจากโลกออนไลน์ชั่วขณะ แล้วทำสมาธิ เจาะให้ทะลุถึงปัญหาที่เราต้องการจัดการ ลงรายละเอียด ดีเทลต่าง ๆ ให้ลึกมากที่สุด ให้ครอบคลุมและกว้างที่สุด เมื่อเราโฟกัสที่ปัญหาแล้ว เราจะมองเห็นรายละเอียดโดยรอบที่ตกหล่นไป ว่าเราผิดพลาดตรงจุดใด แล้วจะแก้ไขได้อย่างไร เมื่อลงรายละเอียดได้ครบแล้ว ขณะล้มตัวลงนอน ตลอดช่วงเวลานอนหลับจิตใต้สำนึกของเราจะทำงาน และหาทางออกให้กับปัญหาที่เรารวบรวมรายละเอียดไว้ก่อนนอนได้ในที่สุด

10 นาทีหลังตื่นนอน พลิกสมองให้เฟรชด้วยเกร็ดความคิดสร้างสรรค์
สิ่งแรกที่ควรทำหลังลืมตาตื่น ไม่ใช่การหยิบโทรศัพท์มากดเปิดดู แต่เป็นการปล่อยจิตให้ว่าง เพราะช่วงเวลาตอนตื่นนอนจะเป็นช่วงเวลาที่สมองทำงานได้ดีที่สุด หลายคนคิดงานได้ดีในช่วงเวลาหลังตื่นนอน แต่ลองเพิ่มกิมมิคให้ 10 นาทีนั้นเป็นการฝึกสร้าง ความคิดสร้างสรรค์

ฝึกวิธีการคิดจากเรื่องใกล้ตัวง่ายๆ


ที่มา :  https://www.krungsriconsumer.com/lifestyle/10-minutes-for-creativity

Author

ผู้เรียบเรียง : จุฑามาศ ภิญโญศรี
Email : jutamas.p@msu.ac.th
หมายเลขติดต่อภายใน : 0942915414

ภาพประกอบบทความ

  :   กราฟิก : นายธนกฤต โคตรเพชร นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Related Posts