อนุมูลอิสระเป็นตัวการที่ทำให้เกิดความแก่ชรา และความเสื่อมของร่างกาย อนุมูลอิสระเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายอยู่ในที่มีมลภาวะต่างๆ ได้รับยาในขนาดสูง หรือได้รับสารเคมีบางชนิด เป็นต้น อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจะไปจับกับสารจำเป็นต่างๆ ในร่างกาย เช่น ไขมัน โปรตีน ดีเอ็นเอ ฯลฯ ทำให้สารเหล่านั้นไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติในร่างการของเราจะมีสารต้านอนุมูลอิสระหรือแอนตี้ออกซฺเดนท์จนทำให้อนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นอย่างมากโรคต่างๆ ตามมามากมาย ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงมะเร็ง และโรคที่มีภาวะอักเสบต่างๆ รวมถึงการเกิดพิษจากการได้รับยาหรือสารเคมี เป็นต้น แนวทางหนึ่งที่คาดว่าจะได้ผลในการป้องกันโรคต่างๆดังกล่าว คือ การให้สารในธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเข้าไปทดแทนเพื่อปรับสมดุลของร่างกายดังที่ได้กล่าวมา
ผักแพว เป็นผักพื้นบ้านภาคอีสาน ที่ช่วยขับลมและมีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร พบว่า ในต่างประเทศมีการนำส่วนรากของผักแพวไปประกอบการทำเป็นอาหารเสริมสุขภาพ ส่วนในบ้านเรามักนำใบสดที่มีกลิ่น และรสเผ็ดร้อน มารับประทานเป็นผักเคียงกับอาหารต่างๆ เช่น ลาบ หรือแหมเนือง จากการศึกษาฤทธิ์ของผักแพวในเบื้องต้นโดยนำผักแพวสดมาตากแห้ง บด และนำไปแช่ด้วยแอลกอฮอล์ 2-3 วัน จากนั้นนำไปสกัดเอาแอลกอฮอล์และน้ำออก จนในที่สุดได้เป็นสารสกัดที่เป็นผงแห้ง พบว่า สารสกัดผักแพวนั้นมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี และเมื่อหนูขาวได้รับยาพาราเซตามอลในขนาดสูงจนเกิดภาวะตับอักเสบ (หมายถึงเกิดภาวะขาดสมดุล และเกิดอาการสร้างอนุมูลอิสระขึ้นอย่างมาก) การให้สารสกัดผักแพวแก่หนูขาวจะช่วยป้องกันการเกิดตับอักเสบดังกล่าวได้ นอกจากนี้แล้วในผักแพวยังพบว่ามีสารอาหารต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิตามิเอ วิตามินซี และยังเป็นผักมีกากใยดังนั้นจึงช่วยลดอาการท้องผูกและป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า "ผักแพว" เป็นผักพื้นบ้านธรรมดาที่ไม่ธรรมดา เมื่อได้มีการทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปว่า ผักแพวยังสามารถช่วยป้องกันอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำลายไขมัน จึงน่าจะมีประโยชน์ในการป้องกันชั้นไขมันต่างๆ ในร่างกายรวมถึงส่วนของผิวเซลล์ (ซึ่งเป็นส่วนที่เล็กที่สุดในร่างกาย) เนื่องจากที่ผิวของเซลล์นั้นจะประกอบด้วยชั้นไขมันรอบๆ ผิวทั้งภายในละภายนอก จากผลดังกล่าว ผักแพวอาจจะสามารถช่วยป้องกันโรคต่างๆ ที่เกิดจากการทำลายส่วนประกอบของไขมันในร่างกายได้ การศึกษาในลำดับต่อมาเพื่อหาสาระสำคัญที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในผักแพว พบว่าสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีจะอยู่ในกลุ่มสารที่ละลายน้ำได้ดี (เป็นสารที่มีขั้ว)
ถึงแม้การศึกษาต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้จะใช้สารสกัดผักแพวจากใบแห้ง อย่างไรก็ตามการรับประทานผักแพวสดคาดว่าน่าจะได้รับประโยชน์จากสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระนี้เช่นกัน หากรับประทานในปริมาณมากพอ และบ่อยครั้ง ประกอบกับการรับประทานอาหารที่มีความหลากหลาย และการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระรูปแบบอื่นๆหรืออาหารชนิดอื่น การออกกำลังกาย การหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะกระตุ้นการสร้างอนุมูลนอิสระ การพักผ่อนที่เพียงพอ ก็ช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ได้เช่นกัน
ที่มาของข้อมูล : อาจารย์ ดร.อธิกา จารุโชติกมล อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม