1. เริ่มวาดที่จุดกึ่งกลางของกระดาษ
ใช้กระดาษเปล่า ให้เอาแบบไม่มีเส้น และวางตามแนวนอน เริ่มต้นเขียนจากกลางหน้ากระดาษจะช่วยให้สมองมีอิสระในความคิดและ พร้อมที่แตกหน่อความคิดออกไปยังทุกทิศทางเรียงตามลำดับที่เราต้องการได้ง่าย
2. วาดกิ่งออกมาจากภาพตรงกลาง เพื่อเชื่อมโยง
เชื่อมโยงประเด็นสำคัญหรือ ‘กิ่งแก้ว’ เข้ากับ ‘ไอเดียหลักตรงกลาง’ (Central Idea) ที่เป็นภาพตรงกลางและแตกความคิดย่อยหรือ ‘กิ่งก้อย’ ออกจากิ่งแก้วอีกที เพื่อเชื่อมโยงประเด็นหลักกับประเด็นรองเข้าด้วยกัน ตามที่สมองเราจะคิดได้ การเชื่อมเส้นต่อกัน เพื่อที่ว่าสมองของมนุษย์ทำงานแบบเชื่อมโยงเข้าหากันเช่นกัน
3. วาดเส้นกิ่งให้โค้งดีกว่าวาดแบบเส้นตรง
วาดกิ่งให้เป็นเส้นโค้งแทนเส้นตรงเพราะจะดึงดูดสายตายและต้องตาต้องใจมากกว่า
4. ใช้รูปภาพหรือวาดรูปประกอบ
ใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์เยอะๆ จะทำให้สมองบันทึกข้อมูลได้มากขึ้น การใช้รูปภาพบางครั้งแทนความหมายมากกว่าบันทึกเป็นคำๆ และยังช่วยให้เราได้ใช้จินตนาการไปในตัวอีกด้วย
5. ใช้เพียงแค่คีย์เวิร์ดเท่านั้น เป็นคำสั้นๆ เพื่อแตกข้อมูลอธิบายเพิ่ม
ใช้คำที่มีความหมายในตัวเองและสะท้อนใจความสำคัญของเรื่องได้ เป็น คำที่สั้นๆ หรือที่เป็นคีย์เวิร์ดเข้าใจง่าย เช่น เวลา วันหยุด สถานที่
6. ใช้ปากกาหลากหลายสี เพื่อสร้างความจดจำ สีสันและจินตนาการ
เตรียมปากกาสีสวยๆ ไว้ซัก 1 Set เป็นปากกาหลากหลายสี ถ้าจะให้ดีควรใช้ สีสันตั้งแต่ 3 สีขึ้นไปเพื่อเสริมพลังความคิดสร้างสรรค์และสนุกเวลาเขียน มาเติมแต่ง Mind Mapping ของเราให้ออกไปในรูปแบบที่ต้องการ ซึ่งสีจะทำให้สมองของเราได้ตื่นตัว สีสันจะทำให้ดูมีชีวิตชีวาน่าอ่านมากยิ่งขึ้น แถมการนั่งวาดภาพระบายสียังทำให้เราได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ไปในตัวอีกด้วย
ขอบคุณที่มา ขั้นตอนการเขียนมายแมพสวยๆ จาก thaihealth.or.th