อาคารสำนักวิทยบริการ A - B
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2541 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้สร้างอาคารสำนักวิทยบริการ A – B ขึ้น เพื่อการใช้ประโยชน์เป็นห้องสมุด และอาคารเรียนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สร้างแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2544 ผู้ออกแบบ CAPE ข้อมูลแบบ Digital บริษัทผู้รับจ้าง หจก. กำจรกิจก่อสร้าง ลักษณะอาคาร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 4 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 30,000 ตารางเมตร CODE Library – B ชื่อไทย อาคารสำนักวิทยบริการ A ,อาคารสำนักวิทยบริการ B วงเงินก่อสร้าง 280,000,000 บาท เลขที่สัญญาจ้าง จ.13/2541
ภาพก่อสร้างอาคารวิทยบริการ A-B เมื่อปี พ.ศ. 2541
อาคาร A และ อาคาร B เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของนิสิตและบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพราะอาคาร A เป็นที่ตั้งของสํานักวิทยบริการและศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร บริการสารสนเทศแก่นิสิต อาจารย์ บุคลากร และชุมชน ในช่วงแรกๆนิสิตบุคลากรเคยเรียก 2 อาคารนี้ว่า “ตึกแฝด” มีความเหมือนที่คล้ายกันมาก มีความสวยงาม มีสะพานเชื่อมติดต่อกัน มีรูปลักษณ์เป็นเอกลักษณ์
ภาพก่อสร้างอาคารวิทยบริการ A-B เมื่อปี พ.ศ. 2543
ส่วนอาคาร B เป็นที่ทำการสำนักคอมพิวเตอร์ มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์บริการแก่นิสิตและบุคลากรใช้ในการเรียนการสอน ทั้งศึกษาค้นคว้า ตลอดจนเป็นห้องเรียนออนไลน์ เป็นสถานที่จัดอบรมเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้อาคาร B บางส่วนเคยใช้เป็นที่ทำการคณะวิทยาการสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตลอดจนหอศิลป์จําปาศรี เป็นที่จัดแสดงงานศิลปะร่วมสมัย อีกทั้งเคยเป็นร้านยามหาวิทยาลัย และศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัย ก่อนย้ายออกไป
ภาพก่อสร้างอาคารวิทยบริการ A เมื่อปี พ.ศ. 2544
ทั้งนี้ ช่วงก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามยังไม่มีหอสมุด นิสิตและอาจารย์ต้องอาศัยใช้ห้องสมุดของวิทยาลัยครู มหาสารคาม ต่อมาจึงได้ก่อสร้างหอสมุดขึ้นเพื่อให้บริการยืม-คืน หนังสือ ระยะเวลานี้หอสมุดได้เก็บวัสดุและบริการข้อมูลเกี่ยวกับอีสานเรียกว่า “งานเอกสารอีสาน” ก่อนจัดตั้งเป็น "ศูนย์เอกสารอีสาน” ในพ.ศ. 2524 และเมื่อเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้เปลี่ยนชื่อโครงการเป็น “สํานักวิทยาการชุมชนอีสาน” จนกระทั่ง พ.ศ. 2529 สามารถยกฐานะเป็น “สํานักวิทยบริการ” และปี พ.ศ. 2534 ได้รับงบประมาณดําเนินการก่อสร้างอาคารสํานักวิทยบริการ (อาคารแปดเหลี่ยม) โดยอาคารหลังใหม่เชื่อมต่ออาคารไม้ (หอสมุดหลังเดิม) ในช่วงเวลานี้สํานักวิทยาการชุมชนอีสานเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์สารสนเทศอีสาน” ก่อนที่จะได้รับพระราชทานชื่อใหม่จาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น “ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร” ต่อมา พ.ศ. 2553 สํานักวิทยบริการได้ย้ายมาที่อาคารวิทยบริการ A เขตพื้นที่ขามเรียง จากนั้นอาคารแปดเหลี่ยมนั้นได้ถูกใช้เป็นอาคารเรียนของคณะศึกษาศาสตร์ และคณะการบัญชีและการจัดการ

ภาพก่อสร้างอาคารวิทยบริการ B เมื่อปี พ.ศ. 2546
ปัจจุบันอาคารสำนักวิทยบริการ A ใช้เป็นที่ทำการสำนักวิทยาบริการ
ชั้น 1 ประกอบด้วย
1. ห้องประชุมชั้น 1 Meeting room 1
2. กลุ่มงานเทคนิคสารสนเทศ Technical Services Department
3. ห้องจัดกิจกรรมบุคลากร Staff Activities Room
4. ห้องอ่าน 24 ชั่งโมง 1 24 hour Reading Room1
5. ห้องอ่าน 24 ชั่วโมง 2 24 hour Reading Room2
ชั้น 2 ประกอบด้วย
1. เคาน์เตอร์บริการ ยืม-คืน Circulation
2. บริการตอบคําถามและช่วยค้นคว้า Reference Services
3. ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร Sirinthon Isan Information center
4. สมัครสมาชิก Register
5. ห้องประชุมชั้น 2 Meeting Room 2
6. สํานักงานเลขานุการ Secretariat Office
7. มุมรักสุขภาพ Health Corner
ชั้น 3 ประกอบด้วย
1. จุดสืบค้น Web OPAC
2. บริการตอบคําถามและช่วยค้นคว้าReference Service
3. หนังสือภาษาต่างประเทศ Foreign Books
4. หนังสือภาษาไทย (หมวด000-319),(330-339),(350-899) Thai Books (000-319),(330-339),(350-899)
5. หนังสืออ้างอิง Reference Book
6. มุมหนังสือพิมพปัจจุบัน Current Newspaper
7. หนังสือนวนิยาย-เรื่องสั้นFiction and short stories
8. มุมคุณธรรม Moral Corner
9. มุมความรู้ตลาดทุน SET Corner
10. วารสารใหม่ภาษาไทย – ภาษาต่างประเทศ New thai - New Foreign Journal
11. งานวารสารและหนังสือพิมพ์Journal and Newspaper Section
12. จุลสาร Pamphlet
ชั้น 4 ประกอบด้วย
1. ห้องศึกษาค้นคว้า Study Room
2. ห้องศาสตราจารย์บุญชนะ อัตถากร / มุมสารสนเทศอาเซียน / มุมเรียนรู้วัฒธรรมเกาหลี Prof. Boonchana Attakorn Room /Asean Information Corner / Sejong Corner
3. ห้องมีชัย ฤชุพันธุ์ Meechai Ruchuphan Room ห้องหนังสือการเมืองและกฎหมาย
(หมวด 320-329),(340-349) Book of Political and Laws (320-329),(340-349)
4. ห้องนิทรรศการจดหมายเหตุและสารสนเทศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม The Exhibition of University Archives and Information, Mahasarakham University
5. ห้องหนังสือประวัติศาสตร์ (หมวด 900) History Room 900
6. ห้องเอกสารวิจัย 3 Theses Room3 (หมวด วจ 510.704 - 999.99)
7. กลุ่มงานบริการชุมชนและส่งเสริมการใช้บริการ Community Service and Service Department Promotion
8. ห้องฝึกอบรม / บริการสืบค้นสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต Training Room / Internet
9.งานนวัตกรรมและสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ Innovation and Electronic information Department
10. กลุ่มงานพัฒนาระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศ Information Systems Development and Operation Depertment
ภาพก่อสร้างอาคารวิทยบริการ A เมื่อปี พ.ศ. 2548
อาคารสำนักวิทยบริการ B ปัจจุบัน ประกอบด้วย
ชั้น 1 เป็นที่ทำการสํานักคอมพิวเตอร์
ชั้น 2 เป็นห้อง Digital Learning Park สำนักวิทยบริการ
ชั้น 3 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ,ห้องประชุม สำนักคอมพิวเตอร์
ชั้น 4 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สำนักคอมพิวเตอร์
ภาพอาคารวิทยบริการ A-B เมื่อปี พ.ศ. 2549