|
|
ชื่อผลงาน/ทุน : รางวัลชนะเลิศการแข่งขัน Thailand Research to Market ครั้งที่ 9 ระดับประเทศ |
|
ประเภท :
นักเรียน/นิสิต |
|
หน่วยงาน : ศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม |
|
(- กลุ่มนิสิต -) |
|
|
ข้อมูลส่วนบุคคล |
ชื่อ - นามสกุล |
1.นายธนารักษ์ โพธิ์สิงห์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2.นายนครินทร์ ภิรมย์ คณะการบัญชีและการจัดการ 3.นางสาวจริญญา โพธิ์ชัย คณะการบัญชีและการจัดการ 4.นางสาวพรทิพย์ พันธ์แสง คณะการบัญชีและการจัดการ 5.นางสาวปิยาภัสร์ แสนสุข คณะการบัญชีและการจัดการ โดยมี อาจารย์อภิชัย มหธรรม อาจารย์คณะการบัญชีและการจัดการ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
|
คณะ/หน่วยงาน/แหล่งทุน |
ศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม
|
|
รายละเอียดข่าว (9825) |
หัวข้อข่าว : นิสิต มมส คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน Thailand Research to Market ครั้งที่ 9 ระดับประเทศ
นิสิต มมส คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน Thailand Research to Market ครั้งที่ 9 ระดับประเทศ
สืบเนื่องจากการแข่งขันโครงการ เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 9 ระดับภูมิภาค (Research to Market: R2M Thailand 9) ประจำปี 2564 (ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ zoom meeting) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ณ ห้องสตูดิโอ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดย นิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทีม Daisy Glazz ผลงานนวัตกรรม กระจกผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปต่อยอดเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ผ่านการประกวดแข่งขันแผนธุรกิจจากงานวิจัย สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเป็นตัวแทนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับอีก 5 ทีม เพื่อไปแข่งขันในระดับประเทศ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 ศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ส่งนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทีม Daisy Glazz ผลงานนวัตกรรม กระจกผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ภายใต้การบ่มเพาะ เข้าร่วมการแข่งขันโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 9 (Research to Market - R2M#9) รอบระดับประเทศ ผ่านรูปแบบออนไลน์ มีนิสิตเข้าร่วมกว่า 22 ทีม จาก 16 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ รวมผลงานวิจัยที่นำมาต่อยอดในโครงการกว่า 50 ผลงาน ซึ่งนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้ชื่อทีม Daisy Glazz สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักวิจัย ผู้คิดค้นนวัตกรรม และนิสิต นำผลงานวิจัยมาพัฒนาโดยอาศัยกลไกและการให้บริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ผลักดันให้เกิดการต่อยอดและพัฒนางานวิจัย ตลอดจนเปิดช่องทางในการสร้างธุรกิจเทคโนโลยีให้กับนักวิจัยและนิสิตได้เรียนรู้การเริ่มต้นทำธุรกิจ เพิ่มเติมความรู้แก่นิสิตและนักวิจัยเกี่ยวกับขั้นตอนของนวัตกรรมและการทำการตลาดของธุรกิจอย่างแท้จริง
Daisy Glazz เกิดจากการวิจัยของ นายธนารักษ์ โพธิ์สิงห์ นิสิตระดับปริญญาโทคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชลธี โพธิ์ทอง เป็นที่ปรึกษางานวิจัย ซึ่ง Daisy Glazz เป็นนวัตกรรมกระจกผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ผลิตโดยการนำกระจกชนิดหนึ่งมาผ่านเทคนิคหรือกระบวนการบางอย่าง เพื่อให้มีความสามารถในการเปลี่ยนพลังงานจาก รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) และรังสีอินฟราเรต (Infrared) เป็นพลังงานไฟฟ้า โดย Daisy Glazz จะมุ่งเน้นการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยการใช้โฟตอน (Photon) จากรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) และรังสีอินฟราเรต (Infrared) เนื่องจากการออกแบบจะไม่มีอิเล็กโทรด (Electrode) บัสบาร์ (Bus bar) และชุดกริด (Grid) มาบดบังอยู่บนพื้นที่ของกระจก จึงทำให้กระจกมีความโปร่งแสง หรืออาจกล่าวได้ว่า Daisy Glazz เป็นแผงโซล่าเซลล์ชนิดโปร่งแสง
สมาชิกทีม Daisy Glazz ประกอบไปด้วย 1.นายธนารักษ์ โพธิ์สิงห์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2.นายนครินทร์ ภิรมย์ คณะการบัญชีและการจัดการ 3.นางสาวจริญญา โพธิ์ชัย คณะการบัญชีและการจัดการ 4.นางสาวพรทิพย์ พันธ์แสง คณะการบัญชีและการจัดการ 5.นางสาวปิยาภัสร์ แสนสุข คณะการบัญชีและการจัดการ โดยมี อาจารย์อภิชัย มหธรรม อาจารย์คณะการบัญชีและการจัดการ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาด้านแผนธุรกิจ ตลอดจนแนวทางการนำงานวิจัยต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์
ที่มา : ศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วันที่ประกาศข่าว : 15 ก.พ. 2022 ที่มา : | |
รูปภาพประกอบข่าว
|