กลับหน้าหลัก  ปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  พระธาตุนาดูนทองคำ  นักวิจัยดีเด่น  บุคลากร  ศิษย์เก่า  นักเรียน/นิสิต  ผู้มีอุปการะคุณ  ผลงานโดดเด่น   ค้นหา 
 
  ชื่อผลงาน/ทุน :
        รางวัลชนะเลิศงานเทศกาลหุ่นฟางโคราช
  ประเภท :
         นักเรียน/นิสิต
  หน่วยงาน :
        คณะศิลปกรรมศาสตร์
 
(- กลุ่มนิสิต -)
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อ - นามสกุล 1. นายณัฐพงษ์ พิมพ์กลาง 2. นายยุทธศาสตร์ บุญจวง 3. นายปริญญา ศรีเทพ 4. นายธนาธิป กสิบุตร 5. นายชญานนท์ แสงพันธ์ 6. นายคฑายุทธ แฝงพิมาย 7. นายเอกนรินทร์ พงทะวงษ์ 8. นายธีรพล สีอิ่น 9. นายนนทวัฒน์ ป้องศรี
คณะ/หน่วยงาน/แหล่งทุน คณะศิลปกรรมศาสตร์
รายละเอียดข่าว (8761)

หัวข้อข่าว : นิสิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ มมส คว้ารางวัลชนะเลิศงานเทศกาลหุ่นฟางโคราช    

นิสิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ มมส คว้ารางวัลชนะเลิศงานเทศกาลหุ่นฟางโคราช

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2562 สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จัดเทศกาลหุ่นฟางโคราช ณ ศูนย์หนองระเวียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการเมืองศิลปวัฒนธรรม Art and Culture สู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Thailand Biennale Korat 2020 ที่ระดมประชาชน ช่างฝีมือ และนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จาก 8 สถาบันทั่วประเทศ มาโชว์ฝีมือเชิงประติมากรรมประดิษฐ์หุ่นฟางเชิงศิลป์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ โคราชดินแดนบรรพชีวิน มีผลงานส่งเข้าประกวดและจัดแสดงกว่า 20 ตัว แบ่งการประกวดออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับประชาชนทั่วไป และนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จัดระหว่างวันที่ 1 - 10 กันยายน 2562 ชิงเงินรางวัลกว่า 1 แสนบาท

สำหรับการประกวดในครั้งนี้ นิสิตจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ส่งประกวดในชื่อทีม “มหาวิทยาลัยมหาสารคาม” ชื่อผลงาน “หนอน” สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ คว้าเงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมโล่รางวัล

โดยทีม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ ชั้น ปีที่ 2 และ ปีที่ 4 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้งหมด 9 คน ได้แก่ นายณัฐพงษ์ พิมพ์กลาง นายยุทธศาสตร์ บุญจวง นายปริญญา ศรีเทพ นายธนาธิป กสิบุตร นายชญานนท์ แสงพันธ์ นายคฑายุทธ แฝงพิมาย นายเอกนรินทร์ พงทะวงษ์ นายธีรพล สีอิ่น และนายนนทวัฒน์ ป้องศรี

แนวคิดในการออกแบบผลงานหุ่นฟางยักษ์ “หนอน” คือ หนอนไหมในรูปแบบการ์ตูน เพื่อให้เป็นขวัญใจของเด็กๆ และดึงดูดให้คนทั่วไปให้หันมาสนใจที่มา และชีวิตของหนอนไหมมากขึ้น เยาวชนคนรุ่นใหม่อาจจะคุ้นเคยกับผ้าไหม หรือเครื่องนุ่งห่มที่สวยงาม แต่อาจจะไม่ได้รู้จักหรือให้ความสนใจตัวหนอนไหมนี้มากนัก เพราะอาจเป็นเพราะรูปลักษณ์ที่น่าเกลียดในความรู้สึกของคนทั่วไป เมืองโคราชหลายพื้นที่ก็นิยมเลี้ยงไหมกัน โดยเฉพาะอำเภอปะทาย หนอนตัวนี้อาจจะทำให้คนรู้จักอำเภอปะทาย และเมืองโคราชมากยิ่งขึ้นด้วย

ลักษณะรูปทรง ต้องการให้รูปทรงรู้สึกเคลื่อนไหว ด้วยเส้นโค้ง และจังหวะของปล้องลำตัว เน้นความน่ารัก สร้างสีสันด้วยวัสดุในท้องถิ่น (กะลา) ผสมผสานกับวัสดุสำเร็จรูปตามยุคสมัย หาได้ตามท้องตลาด รูปใบหน้าเป็นเด็กหญิงเพื่อดึงดูดความสนใจจากเด็กๆ และผู้คน จังหวะโค้งกลางลำตัวหนอนมีชิงช้า เพื่อให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วม และเป็นส่วนหนึ่งในผลงานประติมากรรม

ทั้งนี้ ประติมากรรมหนอนไหมในรูปแบบการ์ตูนนี้จะทำให้เข้าถึงผู้คนได้ง่ายขึ้น และจะทำให้คนได้หันมาสนใจวงจรชีวิต ความสำคัญในตัวเขา และพื้นที่ที่เลี้ยงหม่อนไหมในจังหวัดนครราชสีมา

ภาพกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ FB MSU : Mahasarakham  University << Click

ภาพ : คณะศิลปกรรมศาสตร์
ข่าว : บุณฑริกา ภูผาหลวง

วันที่ประกาศข่าว : 10 ก.ย. 2019  ที่มา : คณะศิลปกรรมศาสตร์

รูปภาพประกอบข่าว
 
 
 
กองประชาสัมพันธ์และกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 หมายเลขโทรศัพท์ 043-719800